จังหวัดมหาสารคามสืบสาน ตำนานบุญเบิกฟ้า ในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 โดยเชื่อว่าฟ้าจะไขหรือเปิดประตูให้ฝนตกลงมายังโลกมนุษย์ จึงได้ร่วมกันประกอบพิธีบูชาพระแม่โพสพ หว่านปุ๋ยลงแปลงนา บำรุงดินเตรียมการเพาะปลูกในฤดูกาลใหม่ โดยจัดเป็นงานบุญประจำปีของจังหวัด ใช้ชื่อว่า "งานบุญเบิกฟ้าและกาชาดจังหวัดมหาสารคาม” ติดตามได้จากรายงาน
เมื่อถึงวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ฟ้าจะไข หรือ เปิดประตูให้ฝนตกลงสู่โลกมนุษย์ ดังนั้น ชาวอีสานจึงถือเอาฤกษ์สำคัญนี้ นำปุ๋ยคอก ที่ได้จากมูลโค กระบือ ตลอดจนพืชบำรุงดิน ไปใส่ไว้ในเรือกสวนไร่นาของตนเอง เพื่อเป็นการฟื้นฟู บำรุงดิน โดยเรียกว่า "บุญเบิกฟ้า” และจังหวัดมหาสารคาม เป็นจังหวัดเดียวในภาคอีสาน ที่ได้นำเอาบุญเบิกฟ้า นี้ มาจัดเป็นงานประเพณีประจำปีของจังหวัด เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมกันตระหนักถึงความสำคัญ รู้จักบุญคุณข้าวและดิน โดยผนวกเข้ากับงานกาชาด ใช้ชื่องานว่า "บุญเบิกฟ้าและกาชาดจังหวัดมหาสารคาม” ซึ่งเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา
นายนพวัชร สิงห์ศักดา ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า ในปี พ.ศ. 2557 งานบุญเบิกฟ้าและกาชาดจังหวัดมหาสารคาม กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 มกราคม – 3 กุมภาพันธ์ 2557 ณ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองมหาสารคาม โดยในวันแรกของงาน คือวันที่ 25 มกราคม ช่วงเช้าจะมีพิธีบวงสรวงศาลหลักเมือง สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองจังหวัดมหาสารคาม และเริ่มพิธีเปิดงานในช่วงบ่าย ตั้งแต่เวลา 15.00 น. ซึ่งจะมีขบวนแห่ตามคำขวัญที่ว่า "พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักสิลานคร” พร้อมการแสดง แสง สี เสียงตำนานบุญเบิกฟ้า ส่วนในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ซึ่งตรงกับวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 จะเป็นวันเบิกฟ้า โดยกำหนดประกอบพิธีบริเวณแปลงนาศูนย์เกษตรอินทรีย์ บ้านลาด หมู่ 2 ตำบลลาดพัฒนา อำเภอเมืองมหาสารคาม ซึ่งจะมีการบูชาพระแม่โพสพ เพื่อเป็นการรำลึกถึงบุญคุณข้าวและดิน พร้อมหว่านปุ๋ยลงในแปลงนา บำรุงดินเตรียมการเพาะปลูกในฤดูกาลใหม่
จึงนับเป็นงานบุญประเพณีสำคัญ ที่ชาวมหาสารคาม จะได้ร่วมกันสืบสานพร้อมเผยแพร่ให้ประชาชนได้รู้จักอย่างกว้างขวาง
งานบุญเบิกฟ้า และกาชาดจังหวัดมหาสารคาม นอกจากจะทำให้เราได้รู้จักบุญคุณข้าวและดิน แล้ว ยังเป็นการเชื่อมโยงการผลิตข้าวอินทรีย์ ให้เกษตรกรหันกลับมาทำนาด้วยวิถีดั่งเดิม ลดการใช้สารเคมี อันจะส่งผลดีต่อดิน ให้เกษตรกรสามารถทำกินได้อย่างปลอดภัย อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร และผลิตภัณฑ์ OTOP ของจังหวัดมหาสารคาม และยังได้ร่วมลุ้นโชค ลุ้นของรางวัล ในร้านมัจฉากาชาด และรางวัลสลากกาชาดสมนาคุณ ที่เป็นเสมือนการได้ทำบุญ ช่วยเหลือผู้ยากไร้ และด้อยโอกาส อีกด้วย
เมื่อถึงวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ฟ้าจะไข หรือ เปิดประตูให้ฝนตกลงสู่โลกมนุษย์ ดังนั้น ชาวอีสานจึงถือเอาฤกษ์สำคัญนี้ นำปุ๋ยคอก ที่ได้จากมูลโค กระบือ ตลอดจนพืชบำรุงดิน ไปใส่ไว้ในเรือกสวนไร่นาของตนเอง เพื่อเป็นการฟื้นฟู บำรุงดิน โดยเรียกว่า "บุญเบิกฟ้า” และจังหวัดมหาสารคาม เป็นจังหวัดเดียวในภาคอีสาน ที่ได้นำเอาบุญเบิกฟ้า นี้ มาจัดเป็นงานประเพณีประจำปีของจังหวัด เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมกันตระหนักถึงความสำคัญ รู้จักบุญคุณข้าวและดิน โดยผนวกเข้ากับงานกาชาด ใช้ชื่องานว่า "บุญเบิกฟ้าและกาชาดจังหวัดมหาสารคาม” ซึ่งเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา
นายนพวัชร สิงห์ศักดา ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า ในปี พ.ศ. 2557 งานบุญเบิกฟ้าและกาชาดจังหวัดมหาสารคาม กำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 มกราคม – 3 กุมภาพันธ์ 2557 ณ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองมหาสารคาม โดยในวันแรกของงาน คือวันที่ 25 มกราคม ช่วงเช้าจะมีพิธีบวงสรวงศาลหลักเมือง สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองจังหวัดมหาสารคาม และเริ่มพิธีเปิดงานในช่วงบ่าย ตั้งแต่เวลา 15.00 น. ซึ่งจะมีขบวนแห่ตามคำขวัญที่ว่า "พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักสิลานคร” พร้อมการแสดง แสง สี เสียงตำนานบุญเบิกฟ้า ส่วนในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ซึ่งตรงกับวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 จะเป็นวันเบิกฟ้า โดยกำหนดประกอบพิธีบริเวณแปลงนาศูนย์เกษตรอินทรีย์ บ้านลาด หมู่ 2 ตำบลลาดพัฒนา อำเภอเมืองมหาสารคาม ซึ่งจะมีการบูชาพระแม่โพสพ เพื่อเป็นการรำลึกถึงบุญคุณข้าวและดิน พร้อมหว่านปุ๋ยลงในแปลงนา บำรุงดินเตรียมการเพาะปลูกในฤดูกาลใหม่
จึงนับเป็นงานบุญประเพณีสำคัญ ที่ชาวมหาสารคาม จะได้ร่วมกันสืบสานพร้อมเผยแพร่ให้ประชาชนได้รู้จักอย่างกว้างขวาง
งานบุญเบิกฟ้า และกาชาดจังหวัดมหาสารคาม นอกจากจะทำให้เราได้รู้จักบุญคุณข้าวและดิน แล้ว ยังเป็นการเชื่อมโยงการผลิตข้าวอินทรีย์ ให้เกษตรกรหันกลับมาทำนาด้วยวิถีดั่งเดิม ลดการใช้สารเคมี อันจะส่งผลดีต่อดิน ให้เกษตรกรสามารถทำกินได้อย่างปลอดภัย อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว สร้างรายได้จากการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร และผลิตภัณฑ์ OTOP ของจังหวัดมหาสารคาม และยังได้ร่วมลุ้นโชค ลุ้นของรางวัล ในร้านมัจฉากาชาด และรางวัลสลากกาชาดสมนาคุณ ที่เป็นเสมือนการได้ทำบุญ ช่วยเหลือผู้ยากไร้ และด้อยโอกาส อีกด้วย
ทัศนัย ศรีมุลตรี ... ถ่ายภาพ
ชนกพร โพธิสาร ..ส.ปชส.มหาสารคาม /รายงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น