วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2557

ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานีเป็นประธานการซ้อมแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจากสถานการณ์ อุทกภัย ระดับกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗

วันที่ 27 มีนาคม 2557 ณ โรงเรียนไร่ใต้ประชาคม ตำบลไร่ใต้ อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี นายวันชัย สุทธิวรชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นประธานการซ้อมแผนการป้องกันและบรรเทาสาธาร ภัยจากสถานการณ์อุทกภัย โดยได้สมมุติสถานการณ์สาธารณภัยขนาดใหญ่ ที่มีผลกระทบรุนแรงกว้างขวาง รวมทั้งพิจารณาประเภทภัย ในการฝึกซ้อมที่มีความร้ายแรงเกินขีดความสามารถระดับจังหวัด จำเป็นต้องทำงานร่วมกันในกลุ่มจังหวัด โดยใช้แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2553-2557 เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินการ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสารณภัยเขต 13 อุบลราชธานี ซึ่งเป็นหน่วยงานรับผิดชอบในการประสานการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในเขตพื้นที่ 4 จังหวัดได้แก่ จังหวัดศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และจังหวัดอุบลราชธานี จึงได้จัดให้มีการฝึกซ้อมแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจากสถานการณ์อุทกภัย ระดับกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 ณ องค์การบริหารส่วนตำบลไร่ใต้ อำเภอพิบูลมังสาหาร ซึ่งเป็นพื้นที่ได้เกิดสถานการณ์อุทกภัยมีความรุนแรง และมีพื้นที่ความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง เมื่อปี พ.ศ. 2556 มาแล้ว การฝึกซ้อมแผนในครั้งนี้ เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกซ้อมแผนฯ มีความรู้ ความเข้าใจ และเกิดทักษะในการป้องกัน ตลอดจนเป็นการสร้างจิตสำนึกความตระหนักด้านความปลอดภัย และส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยให้แก่หน่วยงานองค์กร และประชาชนโดยทั่วไปผู้เข้าร่วมฝึกซ้อมแผน ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ ของศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 13 อุบลราชธานี และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด ในกลุ่มจังหวัดได้แก่จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร และอำนาจเจริญ หน่วยงานในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี รวมทั้งหน่วยงานอำเภอพิบูลมังสาหาร พื้นที่ตำบลไร่ใต้ ตำบลโพธิไทร ตำบลนาโพธิ์ และหน่วยงานของอำเภอสว่างวีระวงศ์ การฝึกซ้อมครั้งนี้ มีประชาชนในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยได้เข้าร่วมการฝึกซ้อมแผนฯ จำนวนรวม 300 คนระยะเวลาในการฝึกซ้อมแผน ใช้เวลา 2 วัน โดยเป็นการฝึกซ้อมบนโต๊ะ (Table-top Exercise: TTX) ในวันที่ 24 มีนาคม ๒๕๕๗ และการฝึกซ้อมเต็มรูปแบบ (Full – Scale Exercise: FSX) ในวันที่ 26 มีนาคม 2557 ผลที่ได้จากการฝึกซ้อมแผนในครั้งนี้คาดว่าผู้เข้าร่วมฝึกซ้อมแผนฯ มีความรู้ ความเข้าใจ เกิดทักษะ สามารถแก้ไขปัญหาในเบื้องต้นเกี่ยวกับ การป้องกันและการอพยพ ตลอดจนการติดต่อประสานงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นการสร้างจิตสำนึกความตระหนักด้านความปลอดภัย และส่งเสริมให้เกิดวัฒนธรรมความปลอดภัยให้แก่หน่วยงานองค์กร และประชาชนในพื้นที่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น