ที่ อบต.ตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ นายอนันต์ แขขุนทด อป.มช.อำเภอพนมดงรัก กล่าวว่าน้ำประปาพนมดิน จัดตั้งกลุ่มเมื่อเดือนตุลาคม 2555 เนื่องจากชาวบ้านบ้านพนมดิน ไม่กล้ากินน้ำฝน เพราะมีนกพิราบจำนวนมาก ไปขี้บนหลังคาบ้าน ชาวบ้านจึงเกรงว่าจะติดเชื้อโรค ทำให้ขาดน้ำสะอาดดื่ม อบต.ตาเมียง จึงได้มีการประชุม โดยมอบให้คณะกรรมการมีการขยายประปาหมู่บ้าน เป็นการทำน้ำประปาดื่มได้จำหน่ายแก่ประชาชนในพื้นที่
นายอนันต์ แขขุนทด อป.มช.อำเภอพนมดงรัก กล่าวว่า ครั้งแรกใช้งบจากผลกำไรของการจำหน่ายน้ำประปาหมู่บ้านของ อบต.ตาเมียง จำนวน 300,000 บาท(สามแสนบาท) เป็นทุนดำเนินการและทำเรื่องจดทะเบียนพาณิชย์ โดยมี นายทองอาด ทองใหม่ เป็นประธานกิจการประปาพนมดิน ผลิตน้ำดิ่มหยาดฝน ซึ่งเจ้าคณะอำเภอเป็นผู้ตั้งชื่อให้ มีการนำน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยเสม็ด ซึ่งเป็นลำห้วยขนาดใหญ่มีน้ำตลอดปี มีการสูบน้ำจากโรงสูบน้ำ และแยกน้ำตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีการนำน้ำดื่มไปตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเข้ามาตรวจ และนำน้ำไปตรวจที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ จังหวัดนครราชสีมาและที่จังหวัดนครปฐม พบว่าคุณภาพน้ำที่นี่มีคุณภาพผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำดื่มในภาชนะบรรจุปิดสนิท
สำหรับการผลิต สามารถผลิตได้ วันละ 200 ถัง ความจุถังละ 20 ลิตร ราคาถังละ 6 บาท หากมารับ ณ จุดผลิต แต่ถ้าไปส่งถึงที่ จะคิดราคาเพิ่มเป็นถังละ 8 บาท ซึ่งผลการดำเนินการมีผลกำไรในระดับดี พร้อมทั้งได้มีการขยายนาทราย โดยลงทุนเพิ่มอีก 600,000 บาท (หกแสนบาท) และจะขยายทำเป็นน้ำขวดดื่มได้ เพื่อสนองความต้องการของชุมชนให้มากขึ้นต่อไป นับว่าเป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำดื่มในช่วงภัยแล้งในพื้นที่ใกล้เคียงได้เป็นอย่างดี
นายอนันต์ แขขุนทด อป.มช.อำเภอพนมดงรัก กล่าวว่า ครั้งแรกใช้งบจากผลกำไรของการจำหน่ายน้ำประปาหมู่บ้านของ อบต.ตาเมียง จำนวน 300,000 บาท(สามแสนบาท) เป็นทุนดำเนินการและทำเรื่องจดทะเบียนพาณิชย์ โดยมี นายทองอาด ทองใหม่ เป็นประธานกิจการประปาพนมดิน ผลิตน้ำดิ่มหยาดฝน ซึ่งเจ้าคณะอำเภอเป็นผู้ตั้งชื่อให้ มีการนำน้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยเสม็ด ซึ่งเป็นลำห้วยขนาดใหญ่มีน้ำตลอดปี มีการสูบน้ำจากโรงสูบน้ำ และแยกน้ำตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มีการนำน้ำดื่มไปตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเข้ามาตรวจ และนำน้ำไปตรวจที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ จังหวัดนครราชสีมาและที่จังหวัดนครปฐม พบว่าคุณภาพน้ำที่นี่มีคุณภาพผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำดื่มในภาชนะบรรจุปิดสนิท
สำหรับการผลิต สามารถผลิตได้ วันละ 200 ถัง ความจุถังละ 20 ลิตร ราคาถังละ 6 บาท หากมารับ ณ จุดผลิต แต่ถ้าไปส่งถึงที่ จะคิดราคาเพิ่มเป็นถังละ 8 บาท ซึ่งผลการดำเนินการมีผลกำไรในระดับดี พร้อมทั้งได้มีการขยายนาทราย โดยลงทุนเพิ่มอีก 600,000 บาท (หกแสนบาท) และจะขยายทำเป็นน้ำขวดดื่มได้ เพื่อสนองความต้องการของชุมชนให้มากขึ้นต่อไป นับว่าเป็นการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำดื่มในช่วงภัยแล้งในพื้นที่ใกล้เคียงได้เป็นอย่างดี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น