วันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม 2557 "บุหรี่: ภาษียิ่งเพิ่ม คนตายยิ่งลด”
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ อนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ องค์การอนามัยโลก (WHO FCTC) ระบุว่าในการควบคลุมการบริโภคยาสูบ มาตรการที่ต้องดำเนินการอย่างหนึ่งคือ นโยบายด้านการขึ้นภาษียาสูบ การเพิ่มราคาบุหรี่ซึ่งเป็นวิธีที่จะลดการบริโภคยาสูบได้ดีที่สุด การบริโภคยาสูบเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆที่สามารถป้องกันได้ การบริโภคยาสูบของประชากรโลกทำให้ผู้คนล้มตายประมาณ 6 ล้านคนในแต่ละปี และมากกว่า 600,000 คน ตายเพราะการได้รับควันบุหรี่มือสอง หากเราละเลยในเรื่องนี้
ในอนาคตไม่ถึง 20 ปีข้างหน้า ค.ศ. 2030 คาดการณ์จะมีคนตายจากการสูบบุหรี่ถึง 8 ล้านคนต่อปี ในจำนวนนี้ ร้อยละ 80 จะเป็นประชากรที่อยู่ในประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงรายได้ปานกลาง สื่บเนื่องจากองค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้ 31 พฤษภาของทุกปี เป็นวันงดสูบบุหรี่โลก โดยในปี พ.ศ.2557 นี้ ได้กำหนดประเด็นการรณรงค์ไว้ว่า Raise Taxes on Tobacco ซึ่งกระทรวงสาธารณะสุขได้ใช้ภาษาไทยว่า "บุหรี่: ภาษียิ่งเพิ่ม คนตายยิ่งลด”โดยการรณรงค์การอนามัยโลก เน้นเชิญชวนให้นานาประเทศทั่วโลก เรียกร้องให้รัฐบาลของตนเองขึ้นภาษียาสูบให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าในประเทศที่มีรายได้สูงหรือประเทศที่พัฒนาแล้ว หากเพิ่มภาษียาสูบขึ้น 10% จะลดการบริโภคยาสูบได้ถึง 4% ในขณะที่หากเพิ่มภาษียาสูบสูงขึ้นในประเทศที่มีรายได้ต่ำหรือปานกลาง จะทำให้สถิติการบริโภคยาสูบลดลงได้มากที่สุด 8% ดังนั้นมาตรการการเพิ่มภาษียาสูบที่สูงขึ้น จึงเป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการควบคุมการบริโภคยาสูบในกลุ่มคน ที่มีรายได้ต่ำ อีกทั้งยังเป็นการป้องกันเด็กและเยาวชนที่คิดจะเริ่มต้นหรือเข้าถึงการสูบ บุหรี่อีกด้วย นอกจากนี้การเพิ่มภาษียาสูบสรรพสามิต ยังถือเป็นมาตรการในการควบคุมการบริโภคยาสูบที่มีประสิทธิภาพสูงสุด จะเห็นได้จากรายงานขององค์การอนามัยโลกในปี ค.ศ.2010 ได้ชี้ให้เห็นว่า ถ้าหากมีการเพิ่มภาษียาสูบสรรพสามิตขึ้น 50% ใน 22 ประเทศที่มีรายต่ำ จะทำให้รัฐบาลเหล่านี้มีรายได้เพิ่มขึ้น 1,400 ล้าน เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 42,000 ล้านบาท ซึ่งหากนำภาษีที่ได้เพิ่มขึ้นนี้มาจัดสรรเป็นงบประมาณค่าใช้จ่ายดูแลและ รักษาสุขภาพให้แก่ประชาชนในประเทศที่มีรายได้ต่ำเหล่านี้ จะเป็นงบประมาณด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้นถึง 50 % เลยทีเดียว
ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ อนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ องค์การอนามัยโลก (WHO FCTC) ระบุว่าในการควบคลุมการบริโภคยาสูบ มาตรการที่ต้องดำเนินการอย่างหนึ่งคือ นโยบายด้านการขึ้นภาษียาสูบ การเพิ่มราคาบุหรี่ซึ่งเป็นวิธีที่จะลดการบริโภคยาสูบได้ดีที่สุด การบริโภคยาสูบเป็นสาเหตุการตายอันดับต้นๆที่สามารถป้องกันได้ การบริโภคยาสูบของประชากรโลกทำให้ผู้คนล้มตายประมาณ 6 ล้านคนในแต่ละปี และมากกว่า 600,000 คน ตายเพราะการได้รับควันบุหรี่มือสอง หากเราละเลยในเรื่องนี้
ในอนาคตไม่ถึง 20 ปีข้างหน้า ค.ศ. 2030 คาดการณ์จะมีคนตายจากการสูบบุหรี่ถึง 8 ล้านคนต่อปี ในจำนวนนี้ ร้อยละ 80 จะเป็นประชากรที่อยู่ในประเทศที่มีรายได้ต่ำถึงรายได้ปานกลาง สื่บเนื่องจากองค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้ 31 พฤษภาของทุกปี เป็นวันงดสูบบุหรี่โลก โดยในปี พ.ศ.2557 นี้ ได้กำหนดประเด็นการรณรงค์ไว้ว่า Raise Taxes on Tobacco ซึ่งกระทรวงสาธารณะสุขได้ใช้ภาษาไทยว่า "บุหรี่: ภาษียิ่งเพิ่ม คนตายยิ่งลด”โดยการรณรงค์การอนามัยโลก เน้นเชิญชวนให้นานาประเทศทั่วโลก เรียกร้องให้รัฐบาลของตนเองขึ้นภาษียาสูบให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น
ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าในประเทศที่มีรายได้สูงหรือประเทศที่พัฒนาแล้ว หากเพิ่มภาษียาสูบขึ้น 10% จะลดการบริโภคยาสูบได้ถึง 4% ในขณะที่หากเพิ่มภาษียาสูบสูงขึ้นในประเทศที่มีรายได้ต่ำหรือปานกลาง จะทำให้สถิติการบริโภคยาสูบลดลงได้มากที่สุด 8% ดังนั้นมาตรการการเพิ่มภาษียาสูบที่สูงขึ้น จึงเป็นมาตรการที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการควบคุมการบริโภคยาสูบในกลุ่มคน ที่มีรายได้ต่ำ อีกทั้งยังเป็นการป้องกันเด็กและเยาวชนที่คิดจะเริ่มต้นหรือเข้าถึงการสูบ บุหรี่อีกด้วย นอกจากนี้การเพิ่มภาษียาสูบสรรพสามิต ยังถือเป็นมาตรการในการควบคุมการบริโภคยาสูบที่มีประสิทธิภาพสูงสุด จะเห็นได้จากรายงานขององค์การอนามัยโลกในปี ค.ศ.2010 ได้ชี้ให้เห็นว่า ถ้าหากมีการเพิ่มภาษียาสูบสรรพสามิตขึ้น 50% ใน 22 ประเทศที่มีรายต่ำ จะทำให้รัฐบาลเหล่านี้มีรายได้เพิ่มขึ้น 1,400 ล้าน เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 42,000 ล้านบาท ซึ่งหากนำภาษีที่ได้เพิ่มขึ้นนี้มาจัดสรรเป็นงบประมาณค่าใช้จ่ายดูแลและ รักษาสุขภาพให้แก่ประชาชนในประเทศที่มีรายได้ต่ำเหล่านี้ จะเป็นงบประมาณด้านสุขภาพที่เพิ่มขึ้นถึง 50 % เลยทีเดียว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น