นายธนัญชัย ภักดีรัตน์ ผู้จัดการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดสุรินทร์ เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูฝนของทุกปี มักมีลมแรงหรือมีพายุทั่วทุกภาคของประเทศและทำให้เกิดอุบัติภัยทางไฟฟ้า อาทิ กระแสไฟฟ้าขัดข้องจากสาเหตุเสาอากาศ ป้ายโฆษณา ต้นไม้หรือกิ่งไม้ล้มทับสายไฟฟ้าแรงสูงและบ้านเรือนที่พักอาศัย เป็นเหตุให้กระแสไฟฟ้าดับเป็นวงกว้าง หรือเกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนเป็นประจำ
จึงขอให้ทุกพื้นที่และประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดพายุฝน ควรติดตามสภาวะอากาศอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าขัดข้องและหมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่สภาพปกติ และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าและประชาชนทั่วไป ดังนี้
1. อาคารสูง ควรติดตั้งสายล่อฟ้าป้องกันฟ้าผ่า ซึ่งอาจทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าได้รับความเสียหาย
2. เมื่อเกิดฟ้าคะนอง ไม่ควรใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด และไม่สวมใส่เครื่องประดับโลหะ
3. ควรจัดเตรียมอุปกรณ์ไว้ใช้ยามฉุกเฉิน
4. อย่าติดตั้งเสาอากาศวิทยุหรือเสาอากาศโทรทัศน์ใกล้สายไฟฟ้า
5. ตรวจสอบความมั่นคงของเสาอากาศวิทยุ เสาอากาศโทรทัศน์ และป้ายโฆษณา อาจเพิ่มการยึดโยงมากขึ้นเพื่อป้องกันการโค่นล้ม
6. ตรวจสอบต้นไม้ที่อยู่ใกล้แนวสายไฟฟ้า หากมีกิ่งไม้อยู่ใกล้เกินไปหรือคาดว่าเมื่อมีลมพัดแรง อาจทำให้กิ่งไม้เอนไปแตะสายไฟฟ้า หรือต้นไม้หักโค่นล้มทับสายไฟฟ้า ให้แจ้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่ทราบเพื่อดำเนินการแก้ไข
7. ให้ความร่วมมือในการตัดต้นไม้หรือตัดกิ่งไม้ที่กีดขวางแนวเสาไฟฟ้า สายไฟฟ้าและจุดปักเสาไฟฟ้า ไม่ควรตัดต้นไม้เอง เพราะอาจถูกกระแสไฟฟ้าดูดได้
8. หากพบระบบจำหน่ายหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุด แจ้งให้การไฟฟ้าส่วนภูมิคทราบทันที เพื่อดำเนินการแก้ไขซ่อมแซมให้อยู่สภาพพร้อมใช้งานตามปกติ
จึงขอให้ทุกพื้นที่และประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดพายุฝน ควรติดตามสภาวะอากาศอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าขัดข้องและหมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่สภาพปกติ และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมีข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าและประชาชนทั่วไป ดังนี้
1. อาคารสูง ควรติดตั้งสายล่อฟ้าป้องกันฟ้าผ่า ซึ่งอาจทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าได้รับความเสียหาย
2. เมื่อเกิดฟ้าคะนอง ไม่ควรใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด และไม่สวมใส่เครื่องประดับโลหะ
3. ควรจัดเตรียมอุปกรณ์ไว้ใช้ยามฉุกเฉิน
4. อย่าติดตั้งเสาอากาศวิทยุหรือเสาอากาศโทรทัศน์ใกล้สายไฟฟ้า
5. ตรวจสอบความมั่นคงของเสาอากาศวิทยุ เสาอากาศโทรทัศน์ และป้ายโฆษณา อาจเพิ่มการยึดโยงมากขึ้นเพื่อป้องกันการโค่นล้ม
6. ตรวจสอบต้นไม้ที่อยู่ใกล้แนวสายไฟฟ้า หากมีกิ่งไม้อยู่ใกล้เกินไปหรือคาดว่าเมื่อมีลมพัดแรง อาจทำให้กิ่งไม้เอนไปแตะสายไฟฟ้า หรือต้นไม้หักโค่นล้มทับสายไฟฟ้า ให้แจ้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในพื้นที่ทราบเพื่อดำเนินการแก้ไข
7. ให้ความร่วมมือในการตัดต้นไม้หรือตัดกิ่งไม้ที่กีดขวางแนวเสาไฟฟ้า สายไฟฟ้าและจุดปักเสาไฟฟ้า ไม่ควรตัดต้นไม้เอง เพราะอาจถูกกระแสไฟฟ้าดูดได้
8. หากพบระบบจำหน่ายหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุด แจ้งให้การไฟฟ้าส่วนภูมิคทราบทันที เพื่อดำเนินการแก้ไขซ่อมแซมให้อยู่สภาพพร้อมใช้งานตามปกติ
กัญญรัตน์ เกียรติสุภา / ส.ปชส.สุรินทร์ / ข่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น