นายพิภพ ดำทองสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า ช่วงนี้หลังเก็บเกี่ยว มีชาวนาบางส่วนเผาตอซังข้าว ซึ่งการเผาตอซังข้าว ไม่เพียงแต่สูญเสียทางระบบนิเวศวิทยาเท่านั้น แต่ยังนำมาซึ่งความเสื่อมสภาพของดิน ทำลายแมลงและจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในดิน ที่เป็นหัวใจหลักในการผลิตพืชอาหารทางการเกษตร โดยเฉพาะข้าว ส่งผลทำให้เกษตรกรต้องใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้น มีผลต่อต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นด้วย ทำให้มีชาวนาจำนวนไม่น้อยต้องปรับตัวเอง ลด ละ เลิก เผาตอซังหันมาสู่การปลูกข้าวในแบบวิถีธรรมชาติที่อาจจะต้องใช้ความอดทนใน ช่วงแรก แต่หลังจากนั้นเมื่อดินดี ผลผลิตก็จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การไถกลบตอซังจึงเป็นอีกวิธีที่ชาวนาเลือกใช้ ตามนโยบายของรัฐบาล เป็นการนำเศษซากพืชหมุนเวียนกลับลงสู่ดิน ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน ทำให้ดินฟื้นคืนความอุดมสมบูรณ์ มีความเหมาะสมต่อการเพาะปลูก และยังช่วยลดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีได้อีกด้วย ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยหลายชิ้นที่สรุปไว้ว่า การไถกลบตอซังเป็นวิธีการจัดการดินที่เหมาะสม สามารถช่วยบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อน และยังช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินได้อีกด้วย ซึ่งเกษตรกรจังหวัดสุรินทร์ที่หันมาใช้วิธีการไถกลบตอซัง โดยใช้ผลิตภัณฑ์เชื้อจุลินทรีย์ช่วยย่อยสลายเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ส่งผลให้เพิ่มผลผลิตข้าวในนาอย่างไม่น่าเชื่อ อีกทั้งยังช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมี เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ และคุ้มค่ามากที่สุด
อย่างไรก็ตาม แม้การใช้ผลิตภัณฑ์เชื้อจุลินทรีย์ย่อยสลายตอซัง จะทำให้มีต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 300-350 บาทต่อไร่ โดยจำแนกค่าใช้จ่ายต่างๆ ดังนี้ ค่าสูบน้ำ, ค่าแรงการสาดพ่น, ค่าเช่ารถไถ, ค่าผลิตภัณฑ์ เป็นต้น แต่ก็คุ้มค่ากับการลงทุน เนื่องจากได้ปริมาณข้าวเปลือกเพิ่มขึ้นถึงหนึ่งเท่าตัว แถมช่วยประหยัดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีได้ค่อนข้างมาก จากเดิมที่เคยใช้ปุ๋ยเคมีเฉลี่ย 80 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะนี้ใช้ปุ๋ยเพียง 25-30 กิโลกรัมต่อไร่ และต้นข้าวก็มีใบเขียว แข็งแรง ทนทานต่อโรคและแมลง อีกทั้งยังช่วยประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายเรื่องสารเคมีได้อีกทางหนึ่งด้วย
อย่างไรก็ตาม แม้การใช้ผลิตภัณฑ์เชื้อจุลินทรีย์ย่อยสลายตอซัง จะทำให้มีต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 300-350 บาทต่อไร่ โดยจำแนกค่าใช้จ่ายต่างๆ ดังนี้ ค่าสูบน้ำ, ค่าแรงการสาดพ่น, ค่าเช่ารถไถ, ค่าผลิตภัณฑ์ เป็นต้น แต่ก็คุ้มค่ากับการลงทุน เนื่องจากได้ปริมาณข้าวเปลือกเพิ่มขึ้นถึงหนึ่งเท่าตัว แถมช่วยประหยัดต้นทุนค่าปุ๋ยเคมีได้ค่อนข้างมาก จากเดิมที่เคยใช้ปุ๋ยเคมีเฉลี่ย 80 กิโลกรัมต่อไร่ ขณะนี้ใช้ปุ๋ยเพียง 25-30 กิโลกรัมต่อไร่ และต้นข้าวก็มีใบเขียว แข็งแรง ทนทานต่อโรคและแมลง อีกทั้งยังช่วยประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายเรื่องสารเคมีได้อีกทางหนึ่งด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น