จากการที่องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่าอ้อย อำเภอร่องคำ เป็นตัวแทนราษฎรยื่นฎีกา ขอพระราชทานความช่วยเหลือจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแลงอย่างรุนแรงนั้น และเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2553 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้ารับขุดลอกหนองเลิงเปือยและซ่อมแซมฝาย บริเวณดำบลสามัคคีเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2556 พลเอกประยุทธ์ จันทรโอชา ผู้บัญชาการทหารบกที่เป็นหน่วยหลักในการดำเนินโครงการจะได้เป็นประธานเปิดการทำงานวันแรกร่วมกับนายสุวิทย์ สุบงกฎ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
นายสุวิทย์ สุบงกฎ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้เผยว่า หนองเลิงเปือย มีพื้นที่ 887 ไร่ ความลึกเฉลี่ย 3 เมตร กักเก็บน้ำได้ 3.5 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่รับประโยชน์ถึง 53 หมู่บ้าน 4 ตำบล 2อำเภอ กล่าวคือ 15 หมู่บ้านของตำบลสามัคคี 12 หมู่บ้านของตำบลเหล่าอ้อย 13 หมู่บ้านของตำบลร่องคำ ตำบลทั้งหมดของอำเภอร่องคำ และอีก 13 หมู่บ้านของตำบลโพนงาม ในเขตอำเภอกมลาไสย พื้นที่การเกษตรรอบหนองเลิงเปือย ประมาณ 42,958 ไร่ เป็นพื้นที่นา 39,406 ไร่ ที่เหลือประมาณ 929 ไร่ เพาะปลูกผัก ผลไม้ ทำประมงและปศุสัตว์ หนองเลิงเปือยมีพื้นที่รับน้ำฝน 203.98 ตารางกิโลเมตร มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,275 มิลลิเมตรต่อปี มีปริมาณน้ำไหลเข้าหนองเลิงเปือย 57.50 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี แต่เมื่อฝายเก็บกักน้ำชำรุด และหนองเลิงเปือยเกิดการตื้นเขิน ถึงฤดูฝนก็จะเกิดน้ำท่วมซ้ำซาก สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่การเกษตรในตำบลโพนงาม อำเภอกมลาไสย และตำบลเหล่าอ้อย อำเภอเหล่าอ้อยเป็นประจำทุกปี แต่เมื่อถึงหน้าแลง ก็ไม่มีน้ำเพียงต่อสำหรับการอุปโภคบริโภคและการเกษตร ทั้งการที่แหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่ใกล้เคียงขาดการพัฒนา และพื้นที่การเกษตรบางส่วน อยู่ห่างไกลจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ยิ่งซ้ำเติมให้ปัญหาการขาดแคลนน้ำรุนแรงขึ้น
ในการขุดลอกแก้มลิงหนองเลิงเปือย โครงการชลประทานกาฬสินธุ์ ได้เสนอรูปแบบขุดลอกหนองเลิงเปือย ให้เพิ่มปริมาณเก็บกักน้ำได้เพิ่มขึ้น ด้วยการขุดลอกเป็น 2 ระดับ คือ ขุดรอบขอบหนองลึก 2 เมตร ทำชานพัก 4 เมตร เพื่อให้ปลามีที่วางไข่ และขุดลึกต่อไปในระดับดินเดิมก้นหนองเลิงเปือย 6 เมตร ซึ่งจะสามารถเพิ่มปริมาณเก็บกักน้ำจาก 3.5 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็น 6.5 ล้านลูกบาศก์เมตร ดินที่ขุดขึ้นมาจากหนองเลิงเปือย ประมาณ 3 ล้านคิว ในเบื้องต้น 1 ล้านคิว จะนำไปทำคันกันน้ำลักษณะถนนรอบหนองเลิงเปือย กว้าง 4 เมตร สูง 4.5 เมตร ให้รถสามารถวิ่งสวนได้ พร้อมทั้งใส่ท่อลอด และทำบานเปิดปิดน้ำเข้าออก ที่เหลือประมาณ 2 ล้านคิว จะทำการตรวจหาค่าความเค็ม ค่าความเป็นกดด่าง ปริมาณอินทรียวัตถุ ค่าความเป็นปุ๋ยของดิน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรต่อไป
นายสุวิทย์ สุบงกฎ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้เผยว่า หนองเลิงเปือย มีพื้นที่ 887 ไร่ ความลึกเฉลี่ย 3 เมตร กักเก็บน้ำได้ 3.5 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่รับประโยชน์ถึง 53 หมู่บ้าน 4 ตำบล 2อำเภอ กล่าวคือ 15 หมู่บ้านของตำบลสามัคคี 12 หมู่บ้านของตำบลเหล่าอ้อย 13 หมู่บ้านของตำบลร่องคำ ตำบลทั้งหมดของอำเภอร่องคำ และอีก 13 หมู่บ้านของตำบลโพนงาม ในเขตอำเภอกมลาไสย พื้นที่การเกษตรรอบหนองเลิงเปือย ประมาณ 42,958 ไร่ เป็นพื้นที่นา 39,406 ไร่ ที่เหลือประมาณ 929 ไร่ เพาะปลูกผัก ผลไม้ ทำประมงและปศุสัตว์ หนองเลิงเปือยมีพื้นที่รับน้ำฝน 203.98 ตารางกิโลเมตร มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,275 มิลลิเมตรต่อปี มีปริมาณน้ำไหลเข้าหนองเลิงเปือย 57.50 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี แต่เมื่อฝายเก็บกักน้ำชำรุด และหนองเลิงเปือยเกิดการตื้นเขิน ถึงฤดูฝนก็จะเกิดน้ำท่วมซ้ำซาก สร้างความเสียหายให้กับพื้นที่การเกษตรในตำบลโพนงาม อำเภอกมลาไสย และตำบลเหล่าอ้อย อำเภอเหล่าอ้อยเป็นประจำทุกปี แต่เมื่อถึงหน้าแลง ก็ไม่มีน้ำเพียงต่อสำหรับการอุปโภคบริโภคและการเกษตร ทั้งการที่แหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่ใกล้เคียงขาดการพัฒนา และพื้นที่การเกษตรบางส่วน อยู่ห่างไกลจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ยิ่งซ้ำเติมให้ปัญหาการขาดแคลนน้ำรุนแรงขึ้น
ในการขุดลอกแก้มลิงหนองเลิงเปือย โครงการชลประทานกาฬสินธุ์ ได้เสนอรูปแบบขุดลอกหนองเลิงเปือย ให้เพิ่มปริมาณเก็บกักน้ำได้เพิ่มขึ้น ด้วยการขุดลอกเป็น 2 ระดับ คือ ขุดรอบขอบหนองลึก 2 เมตร ทำชานพัก 4 เมตร เพื่อให้ปลามีที่วางไข่ และขุดลึกต่อไปในระดับดินเดิมก้นหนองเลิงเปือย 6 เมตร ซึ่งจะสามารถเพิ่มปริมาณเก็บกักน้ำจาก 3.5 ล้านลูกบาศก์เมตร เป็น 6.5 ล้านลูกบาศก์เมตร ดินที่ขุดขึ้นมาจากหนองเลิงเปือย ประมาณ 3 ล้านคิว ในเบื้องต้น 1 ล้านคิว จะนำไปทำคันกันน้ำลักษณะถนนรอบหนองเลิงเปือย กว้าง 4 เมตร สูง 4.5 เมตร ให้รถสามารถวิ่งสวนได้ พร้อมทั้งใส่ท่อลอด และทำบานเปิดปิดน้ำเข้าออก ที่เหลือประมาณ 2 ล้านคิว จะทำการตรวจหาค่าความเค็ม ค่าความเป็นกดด่าง ปริมาณอินทรียวัตถุ ค่าความเป็นปุ๋ยของดิน เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ทางการเกษตรต่อไป
สุรพล คุณภักดี / ข่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น