นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นเปิดเผยว่าสภาพแห้งแล้งของลมฟ้าอากาศ อันเกิดจากการที่มีปริมาณฝนน้อยหรือฝนไม่ตกเป็นระยะเวลานานและครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้างขอนแก่นประสบภัย 16 อำเภอ ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำดื่ม น้ำใช้ พืชพันธุ์ไม้ต่างๆ ขาดน้ำไม่สามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติ เกิดความเสียหายและส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง รุนแรงต่อประชาชน เพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่เกิดจากภัยแล้ง เพื่อให้การดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถฟื้นฟูพื้นที่ประสบภัยให้กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว เพื่อกำหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและองค์กรเครือข่ายทุกภาคส่วนในการป้องกันและบรรเทาสถานการณ์ภัยแล้งให้ชัดเจน บูรณาการ และมีประสิทธิภาพ
ส่วนสถานการณ์ภัยแล้งในภาพรวมของ จ.ขอนแก่นในขณะนี้ว่า หลายพื้นที่เริ่มประสานขอรับการช่วยเหลือทั้งน้ำสำหรับการอุปโภคและบริโภค การบริหารจัดการน้ำในภาพรวมทั้งในเขตและนอกเขตชลประทานจะต้องเป็นไปตามแนวทางที่คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำระดับจังหวัดกำหนด เพื่อยืดระยะเวลาและการจัดสรรน้ำให้กระจายครอบคลุมอย่างทั่วถึง ส่วนพื้นที่ชนบทห่างไกลที่มีปัญหาแหล่งน้ำดิบตื้นเขิน ระบบบาดาล หรือประปาหมู่บ้านมีปริมาณน้ำน้อย ก็ให้ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าไปแก้ปัญหาช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วน จากการสำรวจสภาพปริมาณน้ำเก็บกักโดยเฉพาะภายในเขื่อนอุบลรัตน์ และระบบชลประทานในภาพรวมของจังหวัด รวมทั้งการสำรวจแหล่งน้ำสาธารณะที่เป็นหัวใจหลักของการบริหารจัดการน้ำทั้ง 14 แห่ง ณ ตอนนี้ถือว่ามีปริมาณน้ำเก็บกักเพียงพอสำหรับการจ่ายน้ำให้กับพื้นที่ในเขตชลประทาน รวมไปถึงการจ่ายน้ำในพื้นที่ชุมชนสำหรับการผลิตน้ำประปาเพื่อให้มีน้ำดื่ม-น้ำใช้ตลอดช่วงฤดูแล้งของปีนี้ อย่างไรก็ตาม อยากขอความร่วมมือไปยังกลุ่มเกษตรกรให้ระงับการทำนาปรังหรือการปลูกพืช ทางการเกษตรในระยะนี้ เพราะปัญหาแล้งภาวะฝนทิ้งช่วงจะทำให้ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร
ส่วนสถานการณ์ภัยแล้งในภาพรวมของ จ.ขอนแก่นในขณะนี้ว่า หลายพื้นที่เริ่มประสานขอรับการช่วยเหลือทั้งน้ำสำหรับการอุปโภคและบริโภค การบริหารจัดการน้ำในภาพรวมทั้งในเขตและนอกเขตชลประทานจะต้องเป็นไปตามแนวทางที่คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำระดับจังหวัดกำหนด เพื่อยืดระยะเวลาและการจัดสรรน้ำให้กระจายครอบคลุมอย่างทั่วถึง ส่วนพื้นที่ชนบทห่างไกลที่มีปัญหาแหล่งน้ำดิบตื้นเขิน ระบบบาดาล หรือประปาหมู่บ้านมีปริมาณน้ำน้อย ก็ให้ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าไปแก้ปัญหาช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วน จากการสำรวจสภาพปริมาณน้ำเก็บกักโดยเฉพาะภายในเขื่อนอุบลรัตน์ และระบบชลประทานในภาพรวมของจังหวัด รวมทั้งการสำรวจแหล่งน้ำสาธารณะที่เป็นหัวใจหลักของการบริหารจัดการน้ำทั้ง 14 แห่ง ณ ตอนนี้ถือว่ามีปริมาณน้ำเก็บกักเพียงพอสำหรับการจ่ายน้ำให้กับพื้นที่ในเขตชลประทาน รวมไปถึงการจ่ายน้ำในพื้นที่ชุมชนสำหรับการผลิตน้ำประปาเพื่อให้มีน้ำดื่ม-น้ำใช้ตลอดช่วงฤดูแล้งของปีนี้ อย่างไรก็ตาม อยากขอความร่วมมือไปยังกลุ่มเกษตรกรให้ระงับการทำนาปรังหรือการปลูกพืช ทางการเกษตรในระยะนี้ เพราะปัญหาแล้งภาวะฝนทิ้งช่วงจะทำให้ผลผลิตไม่ดีเท่าที่ควร
ข่าว/พิมพ์ นายคันฉัตร เพียรวิจัยธรณี ส.ปชส.ขอนแก่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น