นายบุญยืน คำหงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นประธานเปิดงานบุญประเพณีไขประตูเล้า เผ่าภูไท ประจำปี 2557 โดยองค์การบริหารส่วนตำบลคำเขื่อนแก้ว อำเภอชานุมาน จังหวัดอำนาจเจริญ ได้จัดขึ้นโดยการจัดงานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ของบรรพบุรุษและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้านของชาวภูไท ให้คงอยู่สืบไป ตลอดจนให้คนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม สร้างสรรค์สังคมของตนให้เป็นสังคมที่มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง เกิดความรู้รักสามัคคีในหมู่คณะ ปลูกฝังค่านิยมอันดีงามแก่เยาวชนในชุมชนและท้องถิ่น และเพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้แสดงออกในทางที่ดีงามและเป็นแบบอย่างที่ดีต่อไปในอนาคต
ประเพณีไขประตูเล้า เผ่าภูไท เป็นประเพณีสำคัญของชนเผ่าภูไทที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยกำหนดจัดขึ้นในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี ประเพณีไขประตูเล้า จะเป็นการเปิดเล้า หรือยุ้งฉางเก็บข้าว ที่เก็บข้าวใหม่หลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว โดยข้าวที่ได้มานั้นจะต้องนำมาทำพิธีสู่ขวัญข้าวเพื่อเป็นศิริมงคลตามประเพณีไขประตูเล้าก่อนที่จะนำข้าวมารับประทาน
สำหรับกิจกรรมที่จัดขึ้นประกอบด้วย การประกวดขบวนแห่ ขบวนฟ้อนรำของหมู่บ้านและโรงเรียนต่างๆ จำนวน 12 ขบวน การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน ประกอบด้วย การแข่งขันส้มตำลีลา, การแข่งขันกีฬาลูกข่าง, การแข่งขันกลองยาว, การแข่งขันกีฬาเปตอง, การแข่งขันเป่ามือเลียนแบบเสียงสัตว์, การแข่งขันเป่าใบไม้เป็นเพลง, การแข่งขันพูดผญาคู่, การแข่งขันเป่าแคน, การแข่งขันดีดพิณ, การแข่งขันลำกลอน, การแข่งขันสนูว่าว, การแข่งขันลำภูไท, การแข่งขันขาโถกเถก และการแข่งขันกีฬาที่มีคนดูและเชียร์กันอย่างสนุกสนานมากที่สุดก็คือการแข่งขันกีฬาชกมวยทะเล นอกจากนี้ในงานยังได้จัดการแสดงการจำลองไขประตูเล้า เผ่าภูไท การแสดงนิทรรศการสินค้า OTOP ของกลุ่มอาชีพต่างๆ และการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านของเผ่าภูไท ให้ผู้ที่มาร่วมงานได้ชมกันอีกด้วย
ประเพณีไขประตูเล้า เผ่าภูไท เป็นประเพณีสำคัญของชนเผ่าภูไทที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยกำหนดจัดขึ้นในวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี ประเพณีไขประตูเล้า จะเป็นการเปิดเล้า หรือยุ้งฉางเก็บข้าว ที่เก็บข้าวใหม่หลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว โดยข้าวที่ได้มานั้นจะต้องนำมาทำพิธีสู่ขวัญข้าวเพื่อเป็นศิริมงคลตามประเพณีไขประตูเล้าก่อนที่จะนำข้าวมารับประทาน
สำหรับกิจกรรมที่จัดขึ้นประกอบด้วย การประกวดขบวนแห่ ขบวนฟ้อนรำของหมู่บ้านและโรงเรียนต่างๆ จำนวน 12 ขบวน การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน ประกอบด้วย การแข่งขันส้มตำลีลา, การแข่งขันกีฬาลูกข่าง, การแข่งขันกลองยาว, การแข่งขันกีฬาเปตอง, การแข่งขันเป่ามือเลียนแบบเสียงสัตว์, การแข่งขันเป่าใบไม้เป็นเพลง, การแข่งขันพูดผญาคู่, การแข่งขันเป่าแคน, การแข่งขันดีดพิณ, การแข่งขันลำกลอน, การแข่งขันสนูว่าว, การแข่งขันลำภูไท, การแข่งขันขาโถกเถก และการแข่งขันกีฬาที่มีคนดูและเชียร์กันอย่างสนุกสนานมากที่สุดก็คือการแข่งขันกีฬาชกมวยทะเล นอกจากนี้ในงานยังได้จัดการแสดงการจำลองไขประตูเล้า เผ่าภูไท การแสดงนิทรรศการสินค้า OTOP ของกลุ่มอาชีพต่างๆ และการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านของเผ่าภูไท ให้ผู้ที่มาร่วมงานได้ชมกันอีกด้วย
กฤษดา เนตรพันธ์ / ข่าว / ภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น