รศ.ดร.นิยม วงศ์พงษ์คำ รองอธิการบดีฝ่ายชุมชนสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ตระหนักและมีภารกิจในการอนุรักษ์ศิลปะและวัฒนธรรมของภาคอีสาน จึงได้จัดทำโครงการอนุรักษ์ ตัวอักษรไทยน้อยเป็นตัวอักษรโบราณตั้งแต่สมัยอาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรซึ่งมีอารยะธรรมที่ยิ่งใหญ่เป็นรากเหง้าของคนอีสาน ตัวอักษรไทยน้อยมีรูปร่างคล้ายอักษรไทย แต่แตกต่างออกไปจากอักษรไทยบ้าง โดยอักษรชนิดนี้ชาวอีสานจะใช้บันทึกเรื่องราวทั่วไป ได้แก่ วรรณกรรม และเรื่องราวทางโลก ซึ่งปรากฏอยู่ในจารึกต่างๆ ในฐานะขุมปัญญาของอีสาน การพัฒนามหาวิทยาลัยขอนแก่นให้ก้าวหน้าไปอย่างมั่นคง ตามเป้าหมายมหาวิทยาลัยอันดับ1ใน400ของโลกนั้น จำเป็นจะต้องรู้จักตนเองให้มากที่สุด สิ่งสำคัญประการหนึ่งคือการเริ่มเรียนรู้ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของภาคอีสาน หรืออาณาจักรล้านช้างในสมัยก่อน
ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นเปรียบเสมือนขุมปัญญาของภาคอีสาน ดังนั้นศิลปะและวัฒนธรรมอีสานหลายอย่างจึงควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ รวมทั้งภาษาไทยน้อย ถึงแม้ปัจจุบันคนไทยจะใช้ภาษากลางเป็นภาษาประจำชาติ แต่ภาษาอีสานที่มีรากเหง้ามาจากภาษาไทยน้อย และตัวอักษรไทยน้อยควรอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลัง ได้เรียนรู้ต่อไปอย่างภาคภูมิใจที่ "รวมทั้งการอบรมเชิงปฏิบัติการของ คณะศิลปกรรมศาสตร์ หลักสูตรวิจัยศิลปวัฒนธรรม ที่จะไปสอนการเขียนภาษาไทยน้อยให้กับเด็กและเยาวชนในหมู่บ้านต่างๆ และนักศึกษาที่สนใจสามารถศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญในคณะศิลปกรรมศาสตร์ได้ฟรี และเรื่องที่สองเป็นการสนับสนุนคณะหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย ให้เพิ่มตัวอักษรไทยน้อยบนป้ายคณะหน่วยงาน ด้วยการออกแบบให้อย่างเหมาะสมกับป้ายและตัวอักษรเดิมที่มีอยู่แล้ว โดยนักออกแบบที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ
ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นเปรียบเสมือนขุมปัญญาของภาคอีสาน ดังนั้นศิลปะและวัฒนธรรมอีสานหลายอย่างจึงควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ รวมทั้งภาษาไทยน้อย ถึงแม้ปัจจุบันคนไทยจะใช้ภาษากลางเป็นภาษาประจำชาติ แต่ภาษาอีสานที่มีรากเหง้ามาจากภาษาไทยน้อย และตัวอักษรไทยน้อยควรอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลัง ได้เรียนรู้ต่อไปอย่างภาคภูมิใจที่ "รวมทั้งการอบรมเชิงปฏิบัติการของ คณะศิลปกรรมศาสตร์ หลักสูตรวิจัยศิลปวัฒนธรรม ที่จะไปสอนการเขียนภาษาไทยน้อยให้กับเด็กและเยาวชนในหมู่บ้านต่างๆ และนักศึกษาที่สนใจสามารถศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญในคณะศิลปกรรมศาสตร์ได้ฟรี และเรื่องที่สองเป็นการสนับสนุนคณะหน่วยงานต่างๆ ภายในมหาวิทยาลัย ให้เพิ่มตัวอักษรไทยน้อยบนป้ายคณะหน่วยงาน ด้วยการออกแบบให้อย่างเหมาะสมกับป้ายและตัวอักษรเดิมที่มีอยู่แล้ว โดยนักออกแบบที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ
ข่าว/พิมพ์ นายคันฉัตร เพียรวิจัยธรณี ส.ปชส.ขอนแก่น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น