พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดกาฬสินธุ์ คัดเลือกจัดตั้งศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนและกองทุนสวัสดิการชุมชนนำร่อง 40 ตำบลในพื้นที่ 18 อำเภอ เพื่อดูแลผู้พิการและผู้สูงอายุ
นายประณต จันทร์ศรี พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้กล่าวว่า การพัฒนาระบบบริการและพัฒนาศักยภาพคนพิการและผู้สูงอายุในชุมชนถือว่าเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการอย่างยั่งยืน โดยมีญาติและคนในชุมชนมีส่วนร่วมเนื่องจากความพิการและภาวะสูงอายุส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ทำให้ผู้พิการและผู้สูงอายุไม่สามารถดำรงชีวิตได้เทียบเท่าคนปกติ ความสามารถถึงระบบบริการทางการแพทย์ลดน้อยลง ขาดการดูแล ฟื้นฟูสมรรถภาพ พัฒนาการทางกาย ใจ สังคมอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม ส่งผลให้คุณภาพในการดำรงชีวิตของผู้พิการและผู้สูงอายุลดลง ส่งผลต่อภาระที่มากขึ้นของญาติ ครอบครัวและคนในชุมชน เพื่อเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนพิการและผู้สูงอายุตลอดจนผู้ประสบปัญหาทางสังคมให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมทุกพื้นที่ในจังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพ ส่งเสริม ป้องกันและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการและผู้สูงอายุ โดยให้ผู้พิการและผู้สูงอายุตลอดจนผู้ด้อยโอกาสสามารถช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุดตามศักยภาพและเข้าถึงระบบการบริการของหลักประกันสุขภาพและสิทธิต่าง ๆ ที่ผู้พิการและผู้สูงอายุพึงได้รับจึงได้จัดทำโครงการ "ศูนย์บริการร่วมสวัสดิการสังคมในตำบล” เพื่อให้ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ครอบครัวและชุมชน มีพื้นที่หรือจุดบริการร่วม ให้ได้รับการดูแล ส่งเสริมพัฒนา ป้องกันและฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างต่อเนื่องและครอบคลุมทุกพื้นที่โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งศูนย์ ก็เพื่อให้คนพิการ ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสในจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้รับบริการการฟื้นฟูสมรรถภาพที่มีระบบจัดการ บริการช่วยเหลือทางสังคมอย่างเป็นองค์รวมและต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาระบบบริการทางการเชิงรุก โดยครอบครัวและคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพและพัฒนาศักยภาพคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส และส่งเสริมกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าหน้าที่ อาสาสมัคร และชุมชนในการฟื้นฟูสมรรถภาพและพัฒนาศักยภาพคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ซึ่งในปัจจุบันนี้มีผู้พิการในเขตพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ผ่านการคัดกรองแล้วจำนวน 22,622 ราย ซึ่งเป็นผู้พิการด้านการเคลื่อนไหว/ร่างกายมากที่สุดถึงร้อยละ 39.09 รองลงมาคือพิการทางการมองเห็นและได้ยินและสื่อความหมายตามลำดับ
นายประณต จันทร์ศรี พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้กล่าวว่า การพัฒนาระบบบริการและพัฒนาศักยภาพคนพิการและผู้สูงอายุในชุมชนถือว่าเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการอย่างยั่งยืน โดยมีญาติและคนในชุมชนมีส่วนร่วมเนื่องจากความพิการและภาวะสูงอายุส่งผลต่อคุณภาพชีวิต ทำให้ผู้พิการและผู้สูงอายุไม่สามารถดำรงชีวิตได้เทียบเท่าคนปกติ ความสามารถถึงระบบบริการทางการแพทย์ลดน้อยลง ขาดการดูแล ฟื้นฟูสมรรถภาพ พัฒนาการทางกาย ใจ สังคมอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม ส่งผลให้คุณภาพในการดำรงชีวิตของผู้พิการและผู้สูงอายุลดลง ส่งผลต่อภาระที่มากขึ้นของญาติ ครอบครัวและคนในชุมชน เพื่อเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนพิการและผู้สูงอายุตลอดจนผู้ประสบปัญหาทางสังคมให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมทุกพื้นที่ในจังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพ ส่งเสริม ป้องกันและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการและผู้สูงอายุ โดยให้ผู้พิการและผู้สูงอายุตลอดจนผู้ด้อยโอกาสสามารถช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุดตามศักยภาพและเข้าถึงระบบการบริการของหลักประกันสุขภาพและสิทธิต่าง ๆ ที่ผู้พิการและผู้สูงอายุพึงได้รับจึงได้จัดทำโครงการ "ศูนย์บริการร่วมสวัสดิการสังคมในตำบล” เพื่อให้ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ครอบครัวและชุมชน มีพื้นที่หรือจุดบริการร่วม ให้ได้รับการดูแล ส่งเสริมพัฒนา ป้องกันและฟื้นฟูสมรรถภาพได้อย่างต่อเนื่องและครอบคลุมทุกพื้นที่โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งศูนย์ ก็เพื่อให้คนพิการ ผู้สูงอายุและผู้ด้อยโอกาสในจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้รับบริการการฟื้นฟูสมรรถภาพที่มีระบบจัดการ บริการช่วยเหลือทางสังคมอย่างเป็นองค์รวมและต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาระบบบริการทางการเชิงรุก โดยครอบครัวและคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลและฟื้นฟูสมรรถภาพและพัฒนาศักยภาพคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส และส่งเสริมกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเจ้าหน้าที่ อาสาสมัคร และชุมชนในการฟื้นฟูสมรรถภาพและพัฒนาศักยภาพคนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ซึ่งในปัจจุบันนี้มีผู้พิการในเขตพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ผ่านการคัดกรองแล้วจำนวน 22,622 ราย ซึ่งเป็นผู้พิการด้านการเคลื่อนไหว/ร่างกายมากที่สุดถึงร้อยละ 39.09 รองลงมาคือพิการทางการมองเห็นและได้ยินและสื่อความหมายตามลำดับ
สุรพล คุณภักดี/ข่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น