นายสมศักดิ์ ขำทวีพรหม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด แจ้งว่า วันที่ 9 พ.ค. 57 จังหวัดร้อยเอ็ด ร่วมกับ หอการค้าจังหวัดร้อยเอ็ด และกองประกวดมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2014 ลงทัศนศึกษาในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ แหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่มีชื่อเสียงของไทยและของโลก สัมผัสเมืองโบราณกลางทุ่งกุลาร้องไห้ ประมาณ 2,000 ปี สัมผัสวิถีชีวิตชาวนาในทุ่งกุลาร้องไห้ รวมทั้งวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม เพื่อส่งเสริมปีการท่องเที่ยว จ.ร้อยเอ็ด ขานรับอาเซียนปี 2558
เวลา 08.00 น. ผู้เข้าประกวดมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2014 ลงแขกเกี่ยวข้าว ร่วมกับเกษตรกรที่แปลงนา เกษตรกรที่มีผลงานดีเด่นระดับชาติ ปี 2556 นายบุญช่วย สาสุข บ้านโพนละมัง ม.12 ต.หินกอง อ.สุวรรณภูมิ นอกจากนั้น ยังมีตำข้าว นวดข้าว เป่าโหวด สัญลักษณ์ดนตรีพื้นบ้านประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
นายบุญช่วย สาสุข วัย 66 ปี เกษตรกรดีเด่นระดับชาติ ปี 2556 เป็นเกษตรกรที่มุ่งมั่นทำการเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มุ่งเน้นปลูกข้าวอินทรีย์ในเขตทุ่งกุลาฯ เป็นผู้ที่มีผลงานดีเด่น โดยเฉพาะการคัดเลือกพันธุ์ข้าว 101 สายพันธุ์ เป็นแห่งแรกของจังหวัดร้อยเอ็ด ปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ ทั้งนี้เน้นตั้งแต่กระบวนการผลิต การแปรรูป และการจำหน่าย โดยการพึ่งพาตนเอง ส่งผลให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งได้เป็นขยายผลเรียนรู้การปลูกข้าวอินทรีย์ และข้าว 101 สายพันธ์ เป็นเกษตรกรต้นแบบระดับประเทศ ถึงแม้ว่าในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ อุปสรรคทางภูมิศาสตร์ความแห้งแล้ง ขาดน้ำ และดินเค็ม แต่ไม่เป็นอุปสรรคในอาชีพการทำนาของเกษตรกรรายนี้แต่อย่างใด และมีผลผลิตมาก 750 กก./ไร่
เวลา 10.00 น. เยี่ยมชมเมืองโบราณ (สมัยขอมเรืองอำนาจ) และร่วมงานประเพณีบุญบั้งไฟ (ประเพณีขอฝนของชาวอีสาน) ในฤดูกาลผลิตปี 2557 ณ บ้านกู่กาสิงห์ ต.กู่กาสิงห์ อ.เกษตรวิสัย
กู่กาสิงห์ เป็นปราสาทหินทราย สมัยขอมเรืองอำนาจ สมัยทศวรรษที่ 15-16 ประมาณ 1,600 ปี เป็นเมืองโบราณ และมีปราสาทบริวารล้อมรอบได้แก่ กู่โพนวิท กู่โพนระฆัง และในอดีตเคยเป็นทะเลดึกดำบรรพ์ ซึ่งมีสุสานหอยโบราณ อายุ 175 ล้านปี ที่บ้านโพนขี้นก ซึ่งมีซากสามารถพิสูจน์ร่องรอยได้จนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านโฮมสเตย์ และได้รับรางวัลกินนรี จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ทั้งนี้นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศนิยมมาสัมผัสวิถีชีวิตชาวนาในเขตทุ่งกุลาฯแห่งนี้ ประมาณเดือนพฤศจิกายน ของทุกปี ด้วยการมาเกี่ยวข้าว, นวดข้าว, แกะสลักลวดลายบั้งไฟ, ทำบุญตักบาตร, ร่วมกิจกรรมเป็นสัปดาห์ พักกับชาวบ้านที่อาศัย โดยคิดค่าที่พัก ค่าอาหาร 300 บาท/วัน
เวลา 13.00 น. เยี่ยมชมโรงสีข้าวเกษตรเกษตรวิสัย ของสหกรณ์การเกษตรเกษตรวิสัย จำกัด บ้านดงคลั่งน้อย ต.ดงคลั่งน้อย อ.เกษตรวิสัย ซึ่งเป็นอีก 1 ในจำนวนสหกรณ์ 58 แห่ง ที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาฯ ส่งขายต่างประเทศ ที่มีชื่อเสียงของไทย กำลังการผลิต 120 ตัน/วัน ทั้งนี้ได้รับรางวัลสถานประกอบการดีเด่นแห่งชาติ ปี 2549, รางวัลตราข้าวดีเด่นระดับประเทศปี 2556, รางวัลข้าวคุณภาพดีเด่นติดต่อกัน 5 ปี จากกระทรวงพาณิชย์ และรางวัลอื่นอีกจำนวนมาก ปัจจุบันโรงสีผลิตข้าว ตามออเดอร์ทั้งในและต่างประเทศ
เวลา 15.30 น. ศึกษาดูงานการฝึกสอนควายไถนาที่โรงเรียนฝึกสอนควายไถนามันหนองเทิง ม.6 ต.หนองแวง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด
นายปรีดา ชิดทรงสวัสดิ์ ปศุสัตว์ร้อยเอ็ดเปิดเผยว่า โรงเรียนสอนควายไถนา บ้านหนองเทิง ม.6 ต.หนองแวง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด เป็นหมู่บ้านที่เกษตรกรนิยมใช้ควายไถนา อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามไว้ และมีประชากรโค-กระบือมากที่สุดในจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 118 ตัว ดังนั้น ชาวเกษตรกรในหมู่บ้านดังกล่าวจึงได้รวมกลุ่มตั้งโรงเรียนสอนควายไถนาบนเนื้อที่สาธารณะ 12 ไร่ เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปให้ศึกษาวิถีชีวิตการสอนควายไถนากับเกษตรกรให้คงอยู่สืบไป มีการตั้งกองทุนปุ๋ยคอก ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาปริมาณประชากรโค-กระบือลดลง, การแก้ไขปัญหามลภาวะ, ลดต้นทุนการผลิต, เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถครบ 76 พรรษา ปี 2550 และจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นจังหวัดที่มีการเลี้ยงโค-กระบือมากที่สุดเป็นอันดับ 5 ของประเทศ
เวลา 08.00 น. ผู้เข้าประกวดมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์ 2014 ลงแขกเกี่ยวข้าว ร่วมกับเกษตรกรที่แปลงนา เกษตรกรที่มีผลงานดีเด่นระดับชาติ ปี 2556 นายบุญช่วย สาสุข บ้านโพนละมัง ม.12 ต.หินกอง อ.สุวรรณภูมิ นอกจากนั้น ยังมีตำข้าว นวดข้าว เป่าโหวด สัญลักษณ์ดนตรีพื้นบ้านประจำจังหวัดร้อยเอ็ด
นายบุญช่วย สาสุข วัย 66 ปี เกษตรกรดีเด่นระดับชาติ ปี 2556 เป็นเกษตรกรที่มุ่งมั่นทำการเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มุ่งเน้นปลูกข้าวอินทรีย์ในเขตทุ่งกุลาฯ เป็นผู้ที่มีผลงานดีเด่น โดยเฉพาะการคัดเลือกพันธุ์ข้าว 101 สายพันธุ์ เป็นแห่งแรกของจังหวัดร้อยเอ็ด ปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ ทั้งนี้เน้นตั้งแต่กระบวนการผลิต การแปรรูป และการจำหน่าย โดยการพึ่งพาตนเอง ส่งผลให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งได้เป็นขยายผลเรียนรู้การปลูกข้าวอินทรีย์ และข้าว 101 สายพันธ์ เป็นเกษตรกรต้นแบบระดับประเทศ ถึงแม้ว่าในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ อุปสรรคทางภูมิศาสตร์ความแห้งแล้ง ขาดน้ำ และดินเค็ม แต่ไม่เป็นอุปสรรคในอาชีพการทำนาของเกษตรกรรายนี้แต่อย่างใด และมีผลผลิตมาก 750 กก./ไร่
เวลา 10.00 น. เยี่ยมชมเมืองโบราณ (สมัยขอมเรืองอำนาจ) และร่วมงานประเพณีบุญบั้งไฟ (ประเพณีขอฝนของชาวอีสาน) ในฤดูกาลผลิตปี 2557 ณ บ้านกู่กาสิงห์ ต.กู่กาสิงห์ อ.เกษตรวิสัย
กู่กาสิงห์ เป็นปราสาทหินทราย สมัยขอมเรืองอำนาจ สมัยทศวรรษที่ 15-16 ประมาณ 1,600 ปี เป็นเมืองโบราณ และมีปราสาทบริวารล้อมรอบได้แก่ กู่โพนวิท กู่โพนระฆัง และในอดีตเคยเป็นทะเลดึกดำบรรพ์ ซึ่งมีสุสานหอยโบราณ อายุ 175 ล้านปี ที่บ้านโพนขี้นก ซึ่งมีซากสามารถพิสูจน์ร่องรอยได้จนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านโฮมสเตย์ และได้รับรางวัลกินนรี จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ทั้งนี้นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศนิยมมาสัมผัสวิถีชีวิตชาวนาในเขตทุ่งกุลาฯแห่งนี้ ประมาณเดือนพฤศจิกายน ของทุกปี ด้วยการมาเกี่ยวข้าว, นวดข้าว, แกะสลักลวดลายบั้งไฟ, ทำบุญตักบาตร, ร่วมกิจกรรมเป็นสัปดาห์ พักกับชาวบ้านที่อาศัย โดยคิดค่าที่พัก ค่าอาหาร 300 บาท/วัน
เวลา 13.00 น. เยี่ยมชมโรงสีข้าวเกษตรเกษตรวิสัย ของสหกรณ์การเกษตรเกษตรวิสัย จำกัด บ้านดงคลั่งน้อย ต.ดงคลั่งน้อย อ.เกษตรวิสัย ซึ่งเป็นอีก 1 ในจำนวนสหกรณ์ 58 แห่ง ที่ผลิตข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาฯ ส่งขายต่างประเทศ ที่มีชื่อเสียงของไทย กำลังการผลิต 120 ตัน/วัน ทั้งนี้ได้รับรางวัลสถานประกอบการดีเด่นแห่งชาติ ปี 2549, รางวัลตราข้าวดีเด่นระดับประเทศปี 2556, รางวัลข้าวคุณภาพดีเด่นติดต่อกัน 5 ปี จากกระทรวงพาณิชย์ และรางวัลอื่นอีกจำนวนมาก ปัจจุบันโรงสีผลิตข้าว ตามออเดอร์ทั้งในและต่างประเทศ
เวลา 15.30 น. ศึกษาดูงานการฝึกสอนควายไถนาที่โรงเรียนฝึกสอนควายไถนามันหนองเทิง ม.6 ต.หนองแวง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด
นายปรีดา ชิดทรงสวัสดิ์ ปศุสัตว์ร้อยเอ็ดเปิดเผยว่า โรงเรียนสอนควายไถนา บ้านหนองเทิง ม.6 ต.หนองแวง อ.เมือง จ.ร้อยเอ็ด เป็นหมู่บ้านที่เกษตรกรนิยมใช้ควายไถนา อนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามไว้ และมีประชากรโค-กระบือมากที่สุดในจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 118 ตัว ดังนั้น ชาวเกษตรกรในหมู่บ้านดังกล่าวจึงได้รวมกลุ่มตั้งโรงเรียนสอนควายไถนาบนเนื้อที่สาธารณะ 12 ไร่ เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนและประชาชนทั่วไปให้ศึกษาวิถีชีวิตการสอนควายไถนากับเกษตรกรให้คงอยู่สืบไป มีการตั้งกองทุนปุ๋ยคอก ทั้งนี้ เพื่อแก้ไขปัญหาปริมาณประชากรโค-กระบือลดลง, การแก้ไขปัญหามลภาวะ, ลดต้นทุนการผลิต, เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถครบ 76 พรรษา ปี 2550 และจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นจังหวัดที่มีการเลี้ยงโค-กระบือมากที่สุดเป็นอันดับ 5 ของประเทศ
กมลพร คำนึง/ข่าว
กนกอร สัตยามะระ/พิมพ์
8 พ.ค. 57
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น