เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 4 มิ.ย.57 ที่ห้องประชุมโรงแรมพรหมพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ นายประทีป กีรติเรขา ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธานในการเปิดโครงการสร้างความรู้เครือข่ายศูนย์เตือนภัยพิบัติ ภาคประชาชนเพื่อป้องกันและบรรเทาภัย ซึ่งศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้จัดทำขึ้น เพื่อสร้างเครือข่ายภาคประชาชน ให้มีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องเตรียมตัวรับกับภัยพิบัติ และสาธารณภัยต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ โดยมีเครือข่าย อาสาสมัครกู้ภัยฯ และเครือข่ายภาคประชาชน เข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ เป็นจำนวนมาก
นายประทีป กล่าวว่า ประชาชนควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยพิบัติธรรมชาติ และระบบการเตือนภัยของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เข้าใจถึงขั้นตอนวิธีการแจ้งข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆ ของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติได้อย่างถูกต้อง เข้าใจถึงการใช้งานการดูแลรักษาเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ศูนย์เตือนภัยแห่งชาติได้ติดตั้งไว้ตามพื้นที่เสี่ยงภัย พร้อมรับมือกับภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้น พร้อมรับทราบถึงภารกิจและการทำงานในการแจ้งเตือนภัยโดยบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งด้านข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยีต่างๆกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ โดยมุ่งหวังให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและบรรเทาปัญหาที่เกี่ยวกับภัยพิบัติต่าง ช่วยสร้างองค์ความรู้ให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงเข้ามามีส่วนร่วมในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับภัยธรรมชาติซึ่งจะช่วยลดความเสียหายและผลกระทบต่อการประกอบอาชีพตลอดจนชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนให้รอดพ้นจากภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
นายประทีป กล่าวว่า ประชาชนควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยพิบัติธรรมชาติ และระบบการเตือนภัยของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เข้าใจถึงขั้นตอนวิธีการแจ้งข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆ ของศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติได้อย่างถูกต้อง เข้าใจถึงการใช้งานการดูแลรักษาเครื่องมือ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่ศูนย์เตือนภัยแห่งชาติได้ติดตั้งไว้ตามพื้นที่เสี่ยงภัย พร้อมรับมือกับภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้น พร้อมรับทราบถึงภารกิจและการทำงานในการแจ้งเตือนภัยโดยบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งด้านข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยีต่างๆกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ โดยมุ่งหวังให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและบรรเทาปัญหาที่เกี่ยวกับภัยพิบัติต่าง ช่วยสร้างองค์ความรู้ให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงเข้ามามีส่วนร่วมในการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับภัยธรรมชาติซึ่งจะช่วยลดความเสียหายและผลกระทบต่อการประกอบอาชีพตลอดจนชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนให้รอดพ้นจากภัยธรรมชาติที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
ฉัตรชัย พรหมมาศ/ข่าว/ภาพ
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดศรีสะเกษ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น