ที่ห้องประชุมพระมงคลมิ่งเมือง ศาลากลางจังหวัดอำนาจเจริญ ได้มีการประชุมคณะกรรมการร่วม ๒ คณะ ได้แก่คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดอำนาจเจริญ(ก.บ.จ.อจ.) และคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจจังหวัดอำนาจเจริญ (กรอ.อจ.) โดยมีนายวีระวัฒน์ ชื่นวาริน ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นประธาน ทั้งนี้ เพื่อติดตามผลความก้าวหน้าการดำเนินงานในการพัฒนาจังหวัดอำนาจเจริญ และรับทราบปัญหาอุปสรรคการดำเนินงานเพื่อพิจารณาหาทางแก้ไขร่วมกัน โดยในที่ประชุม หอการค้าจังหวัดอำนาจเจริญ ได้เสนอให้ที่ประชุมรับทราบและพิจารณาให้ความเห็นเรื่องการผลักดันสนามบินกองทัพบกเลิงนกทา อำเภอเลิงนกทา จังหวัดอำนาจเจริญ เป็นสนามบินพาณิชย์
สืบเนื่องจากคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน สภาผู้แทนราษฎร ได้มีมติให้พิจารณาศึกษาเรื่องโครงการพัฒนาสนามบินกองทัพบกเลิงนกทาให้เป็นสนามบินพาณิชย์ เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และได้เชิญผู้ว่าราชการจังหวัดและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจาก ๓ จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดยโสธร อำนาจเจริญ และจังหวัดมุกดาหาร เพื่อให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง ตลอดจนแสดงความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าว ที่อาคารรัฐสภา เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา ซึ่งผลสรุปจากการประชุมดังกล่าวทุกหน่วยงานได้นำเสนอข้อมูลสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาสนามบินกองทัพบกเลิงนกทาเป็นสนามบินพาณิชย์ และมอบหมายให้คณะอนุกรรมาธิการเพื่อศึกษาเรื่องการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดชายแดนของประเทศไทยเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทำหน้าที่ศึกษาข้อมูลร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อสรุปเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาผลักดันต่อไป
ในส่วนของการดำเนินงานของจังหวัดนั้น คณะกรรมาธิการ ให้ภาคธุรกิจเอกชน ทั้ง ๓ จังหวัด ทำการสำรวจจำนวนนักธุรกิจที่มีความสนใจในการเดินทางหากมีการเปิดใช้สนามบิน และแจ้งให้คณะกรรมการ กรอ.จังหวัดทราบ ทั้งนี้ในการประชุม กรอ.จังหวัดอำนาจเจริญ คณะกรรมการที่มาจากภาคราชการและเอกชน ทุกคนมีความเห็นชอบด้วยที่จะมีสนามบินพาณิชย์เลิงนกทา เพื่อเพิ่มโอกาสและศักยภาพในการแข่งขันกับประเทศในภูมิภาค รองรับการเดินทางของนักธุรกิจ และนักท่องเที่ยว รวมทั้งกระตุ้นการค้า การลงทุน สร้างเศรษฐกิจและรายได้ใน ๓ จังหวัดนี้
สำหรับสนามบินกองทัพบกเลิงนกทา เดิมชื่อสนามบินบ้านโคกตลาด สร้างขึ้นในช่วงสงครามเย็น เมื่อปี ค.ศ. ๑๙๖๓ (พ.ศ.๒๕๐๖) โดยทหารของประเทศอังกฤษและนิวซีแลนด์ เป็นรันเวย์คอนกรีตยาว ๑,๕๓๐ เมตร ส่วนหัวท้ายของรันเวย์เป็นลาดยางแอสฟัลด้านละ ๑๕๐ เมตร สภาพโดยทั่วไปยังมีความสมบูรณ์พร้อมใช้งานได้ มีแท็กซีเวย์ขนาด ๔๐๐ * ๕๐๐ เมตร หากมีการลงทุนสร้างอาคารผู้โดยสาร สิ่งสาธารณูปโภคพื้นฐานให้ครบ ก็จะสามารถเปิดให้บริการแก่ประชาชน นักธุรกิจ และนักท่องเที่ยวได้
สืบเนื่องจากคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน สภาผู้แทนราษฎร ได้มีมติให้พิจารณาศึกษาเรื่องโครงการพัฒนาสนามบินกองทัพบกเลิงนกทาให้เป็นสนามบินพาณิชย์ เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) และได้เชิญผู้ว่าราชการจังหวัดและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจาก ๓ จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดยโสธร อำนาจเจริญ และจังหวัดมุกดาหาร เพื่อให้ข้อมูล ข้อเท็จจริง ตลอดจนแสดงความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าว ที่อาคารรัฐสภา เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๖ ที่ผ่านมา ซึ่งผลสรุปจากการประชุมดังกล่าวทุกหน่วยงานได้นำเสนอข้อมูลสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาสนามบินกองทัพบกเลิงนกทาเป็นสนามบินพาณิชย์ และมอบหมายให้คณะอนุกรรมาธิการเพื่อศึกษาเรื่องการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดชายแดนของประเทศไทยเพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทำหน้าที่ศึกษาข้อมูลร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อสรุปเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาผลักดันต่อไป
ในส่วนของการดำเนินงานของจังหวัดนั้น คณะกรรมาธิการ ให้ภาคธุรกิจเอกชน ทั้ง ๓ จังหวัด ทำการสำรวจจำนวนนักธุรกิจที่มีความสนใจในการเดินทางหากมีการเปิดใช้สนามบิน และแจ้งให้คณะกรรมการ กรอ.จังหวัดทราบ ทั้งนี้ในการประชุม กรอ.จังหวัดอำนาจเจริญ คณะกรรมการที่มาจากภาคราชการและเอกชน ทุกคนมีความเห็นชอบด้วยที่จะมีสนามบินพาณิชย์เลิงนกทา เพื่อเพิ่มโอกาสและศักยภาพในการแข่งขันกับประเทศในภูมิภาค รองรับการเดินทางของนักธุรกิจ และนักท่องเที่ยว รวมทั้งกระตุ้นการค้า การลงทุน สร้างเศรษฐกิจและรายได้ใน ๓ จังหวัดนี้
สำหรับสนามบินกองทัพบกเลิงนกทา เดิมชื่อสนามบินบ้านโคกตลาด สร้างขึ้นในช่วงสงครามเย็น เมื่อปี ค.ศ. ๑๙๖๓ (พ.ศ.๒๕๐๖) โดยทหารของประเทศอังกฤษและนิวซีแลนด์ เป็นรันเวย์คอนกรีตยาว ๑,๕๓๐ เมตร ส่วนหัวท้ายของรันเวย์เป็นลาดยางแอสฟัลด้านละ ๑๕๐ เมตร สภาพโดยทั่วไปยังมีความสมบูรณ์พร้อมใช้งานได้ มีแท็กซีเวย์ขนาด ๔๐๐ * ๕๐๐ เมตร หากมีการลงทุนสร้างอาคารผู้โดยสาร สิ่งสาธารณูปโภคพื้นฐานให้ครบ ก็จะสามารถเปิดให้บริการแก่ประชาชน นักธุรกิจ และนักท่องเที่ยวได้
สุรพล บุตรวงศ์ / ข่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น