จังหวัดอุดรธานีจัดประชุมชี้แจงโครงการจัดทำแผนบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยการน้ำแบบบูรณาการระดับจังหวัด จังหวัดอุดธานี ครั้งที่ 1 หารือ แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินโครงการและร่วมกำหนดแผนการดำเนินงานแบบบูรณาการร่วมกับ
ที่ห้องประชุมคำชะโนด ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดอุดธานี เช้าวันนี้ ( 17 ต.ค.56 ) นายณรงค์ พลละเอียด รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีเป็นประธานการประชุมชี้แจงระดับจังหวัด ครั้งที่ 1 โครงการจัดทำแผนบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยการน้ำแบบบูรณาการจังหวัดอุดรธานี โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระดับจังหวัด และอำเภอร่วมประชุมร่วมกว่า 40 คน อาทิ ปลัดจังหวัด ชลประทาน ทรัยพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ดิน ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โยธาธิการและผังเมือง เกษตร อุตสาหกรรม พาณิชย์ องค์การบริหารส่วนจังหวัด นายอำเภอจาก 20 อำเภอ ยุทธศาสตร์จังหวัด เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัด ทรัพยการน้ำภาค ทรัพยากรน้ำบาดาล เขต สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ประปาส่วนภูมิภาค ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร หอการค้า สภาอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ทั้งนี้สืบเนื่องจากการพัฒนาทรัพยากรน้ำของประเทศที่ผ่านมา ยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์หลักของการพัฒนาที่ยั่งยืน เนื่องจากแผนส่วนใหญ่กำหนดโดยหน่วยงานกลาง และหน่วยงานระดับรัฐ ที่มีลักษณะโครงการแบบ Top Down ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งไม่เข้าใจขาดการยอมรับจากประชาชนในระดับพื้นที่ ส่งผลให้เกิดความขัดแย้ง อันนำไปสู่การไม่สามารถบรรลุถึงหลักของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในปี พ.ศ.2554 จังหวัดสระแก้ว ได้นำเสนอแนวทาการบูรณาการจัดทำแผนพัฒนาแหล่งน้ำจังหวัดสระแก้วที่มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และประชาชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน จังหวัดอุดรธานี ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า แนวทางการดำเนินงานของโครงการดังกล่าวมีความเหมาะสม และเป็นทางเลือกในการบรรเทาปัญหาจึงให้มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดทำแผนบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยการน้ำแบบบูรณาการระดับจังหวัด จังหวัดอุดธานีขึ้น โดยแผนที่จัดทำขึ้นจะมีลักษระของโครงการแบบ Bottom Up ที่มีความชัดเจนเรื่องพื้นที่ปัญหา อาทิ น้ำท่วม น้ำแล้ง สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในระดับพื้นที่ ผ่านกระบวนการสำรวจพื้นที่จริงและหารือระดับต่างๆ อาทิ ระดับตำบล อำเภอ จังหวด พร้อมนำเสนอในรูปแบบบูรณาการแผนที่โครงการที่สามรถระบุตำแหน่งในระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ เพื่อใช้ประกอบความเข้าใจร่วมกัน เป็นกรอบแผนที่ปฏิบัติการบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำระดับจังหวดที่มาจากการสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการ ผ่านกระบวนการปรึกษาหารือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกระดับ
ที่ห้องประชุมคำชะโนด ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดอุดธานี เช้าวันนี้ ( 17 ต.ค.56 ) นายณรงค์ พลละเอียด รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีเป็นประธานการประชุมชี้แจงระดับจังหวัด ครั้งที่ 1 โครงการจัดทำแผนบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยการน้ำแบบบูรณาการจังหวัดอุดรธานี โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งระดับจังหวัด และอำเภอร่วมประชุมร่วมกว่า 40 คน อาทิ ปลัดจังหวัด ชลประทาน ทรัยพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่ดิน ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย โยธาธิการและผังเมือง เกษตร อุตสาหกรรม พาณิชย์ องค์การบริหารส่วนจังหวัด นายอำเภอจาก 20 อำเภอ ยุทธศาสตร์จังหวัด เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัด ทรัพยการน้ำภาค ทรัพยากรน้ำบาดาล เขต สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ประปาส่วนภูมิภาค ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร หอการค้า สภาอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ทั้งนี้สืบเนื่องจากการพัฒนาทรัพยากรน้ำของประเทศที่ผ่านมา ยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์หลักของการพัฒนาที่ยั่งยืน เนื่องจากแผนส่วนใหญ่กำหนดโดยหน่วยงานกลาง และหน่วยงานระดับรัฐ ที่มีลักษณะโครงการแบบ Top Down ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งไม่เข้าใจขาดการยอมรับจากประชาชนในระดับพื้นที่ ส่งผลให้เกิดความขัดแย้ง อันนำไปสู่การไม่สามารถบรรลุถึงหลักของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในปี พ.ศ.2554 จังหวัดสระแก้ว ได้นำเสนอแนวทาการบูรณาการจัดทำแผนพัฒนาแหล่งน้ำจังหวัดสระแก้วที่มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และประชาชนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน จังหวัดอุดรธานี ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า แนวทางการดำเนินงานของโครงการดังกล่าวมีความเหมาะสม และเป็นทางเลือกในการบรรเทาปัญหาจึงให้มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จัดทำแผนบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยการน้ำแบบบูรณาการระดับจังหวัด จังหวัดอุดธานีขึ้น โดยแผนที่จัดทำขึ้นจะมีลักษระของโครงการแบบ Bottom Up ที่มีความชัดเจนเรื่องพื้นที่ปัญหา อาทิ น้ำท่วม น้ำแล้ง สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนในระดับพื้นที่ ผ่านกระบวนการสำรวจพื้นที่จริงและหารือระดับต่างๆ อาทิ ระดับตำบล อำเภอ จังหวด พร้อมนำเสนอในรูปแบบบูรณาการแผนที่โครงการที่สามรถระบุตำแหน่งในระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ เพื่อใช้ประกอบความเข้าใจร่วมกัน เป็นกรอบแผนที่ปฏิบัติการบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำระดับจังหวดที่มาจากการสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการ ผ่านกระบวนการปรึกษาหารือจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกระดับ
ศรีภูมิ ทองใหญ่ ณ อยุธยา ข่าว/ภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น