กรมชลประทานจับมือมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ลงพื้นที่ รับฟังความเห็นจากชาวบ้านและผู้ที่เกี่ยวข้องในการสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยตาเปอะ จ.มุกดาหาร โดยหวังให้การพัฒนาแหล่งน้ำสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นมากที่สุด ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่สนับสนุน เผยรอคอยมากว่า 30 ปี มั่นใจแก้ปัญหาภัยแล้งสร้างฐานะความเป็นอยู่ที่มั่นคง
ว่าที่ ร.ต.ไพเจน มากสุวรรณ์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่การเกษตรประมาณ 58.10 ล้านไร่ แต่เป็นพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในเขตชลประทานเพียง 6.40 ล้านไร่ หรือร้อยละ 11.02 เท่านั้น ทำให้ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งและน้ำท่วมในฤดูฝนเป็นประจำ อย่างไรก็ตามกรมชลประทานพยายามที่จะขยายพื้นที่ชลประทานมากขึ้น ซึ่งจากการศึกษาพบว่า มีพื้นที่การเกษตรกรที่มีศักยภาพพัฒนาเป็นพื้นที่ชลประทานได้อีกประมาณ 21.46 ล้านไร่ สำหรับโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยตาเปอะ เป็นอีกหนึ่งโครงการที่กรมชลประทานดำเนินงานตามพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อแก้ไขปัญหาความแห้งแล้งในลุ่มน้ำห้วยทรายตอนบน ซึ่งเป็นลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำโขง ซึ่งจะสามารถขยายพื้นที่ชลประทานได้อีกกว่า 7,000 ไร่
ด้านดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน กล่าวถึงความคืบหน้าของโครงการอ่างฯห้วยตาเปอะว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการโครงการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยสถาบันที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งล่าสุดได้จัดประชุมกลุ่มย่อย รับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ณ ห้องประชุมโรงเรียนห้วยตาเปอะ ตำบลบ้านค้อ อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร หลังจากได้เปิดปฐมนิเทศโครงการไปแล้วเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2556 ทั้งนี้เพื่อจะได้กำหนดแนวทางการพัฒนาแหล่งน้ำให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นในการที่จะแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการศึกษาแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2557
สำหรับโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยตาเปอะเป็นการดำเนินงานภายใต้ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งถือเป็นโครงการที่มีความสำคัญในลำดับต้น ๆ ที่มีความจำเป็นในการพัฒนาเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับราษฎร ซึ่งประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร โดยกรมชลประทานได้ทำการศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นมาตั้งแต่ ปี 2538 2540 2542 และ 2545 ตามลำดับ "อ่างเก็บน้ำห้วยตาเปอะ เป็นอ่างฯขนาดกลาง มีความจุประมาณ 20 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยมีพื้นที่รับน้ำฝน ด้านเหนืออ่างฯประมาณ 50 ตารางกิโลเมตร และมีปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยปีละ 22.28 ล้านลูกบาศก์เมตร หากสามารถดำเนินการก่อสร้างได้ก็จะเป็นแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับการอุปโภคบริโภค และจัดสรรน้ำให้กับพื้นที่การเกษตรได้ประมาณ 7,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่บ้านตาเปอะ ตำบลบ้านค้อ ในเขตอำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร รวมทั้งยังสามารถเสริมการเพาะปลูกของราษฏร 2 ฝั่งลำห้วยบางทราย ตลอดจนช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วม เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ และเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของชุมชนอีกด้วย"
ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการกรมชลประทาน กล่าวว่าอย่างไรก็ตามพื้นที่ของโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยตาเปอะบางส่วน อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐาน และเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงภูสีฐาน ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ครอบคลุมในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมทั้งยังเปิดโอกาสให้ส่วนราชการท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมพิจารณาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ ตลอดระยะเวลาที่ดำเนินการศึกษา
นายรุ่ง พลหาญ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 8 บ้านตาเปอะ ตำบลบ้านค้อ อำเภออำชะอี จังหวัดมุกดาหาร กล่าวว่า ชาวบ้านที่นี่รอคอยอ่างเก็บน้ำมาเป็นระยะเวลากว่า 30 ปีแล้ว ก็ยังไม่เป็นจริงเสีย ที่ผ่านมาฤดูฝนน้ำที่นีเยอะมากแต่ไม่สามารถเก็บกักไว้ได้เลย พอถึงฤดูแล้งน้ำแห้งมากๆ แม้แต่น้ำดื่มก็แทบจะไม่มี อยากให้ก่อสร้างอ่างฯเร็วๆ จะได้เหมือนพื้นที่อื่นๆของห้วยบางทรายตอนบน ชาวบ้านที่นี่ขยันเพียงแต่ไม่มีน้ำเท่านั้น หากมีน้ำแล้วฐานะความเป็นอยู่ของชาวบ้านจะดีขึ้น และมั่นคงกว่านี้แน่นอน
ว่าที่ ร.ต.ไพเจน มากสุวรรณ์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่การเกษตรประมาณ 58.10 ล้านไร่ แต่เป็นพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในเขตชลประทานเพียง 6.40 ล้านไร่ หรือร้อยละ 11.02 เท่านั้น ทำให้ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งและน้ำท่วมในฤดูฝนเป็นประจำ อย่างไรก็ตามกรมชลประทานพยายามที่จะขยายพื้นที่ชลประทานมากขึ้น ซึ่งจากการศึกษาพบว่า มีพื้นที่การเกษตรกรที่มีศักยภาพพัฒนาเป็นพื้นที่ชลประทานได้อีกประมาณ 21.46 ล้านไร่ สำหรับโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยตาเปอะ เป็นอีกหนึ่งโครงการที่กรมชลประทานดำเนินงานตามพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อแก้ไขปัญหาความแห้งแล้งในลุ่มน้ำห้วยทรายตอนบน ซึ่งเป็นลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำโขง ซึ่งจะสามารถขยายพื้นที่ชลประทานได้อีกกว่า 7,000 ไร่
ด้านดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการ กรมชลประทาน กล่าวถึงความคืบหน้าของโครงการอ่างฯห้วยตาเปอะว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการโครงการศึกษาวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยสถาบันที่ปรึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งล่าสุดได้จัดประชุมกลุ่มย่อย รับฟังความคิดเห็นจากประชาชน และผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ณ ห้องประชุมโรงเรียนห้วยตาเปอะ ตำบลบ้านค้อ อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร หลังจากได้เปิดปฐมนิเทศโครงการไปแล้วเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2556 ทั้งนี้เพื่อจะได้กำหนดแนวทางการพัฒนาแหล่งน้ำให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นในการที่จะแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และการเกษตร ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการศึกษาแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2557
สำหรับโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยตาเปอะเป็นการดำเนินงานภายใต้ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำห้วยบางทรายตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งถือเป็นโครงการที่มีความสำคัญในลำดับต้น ๆ ที่มีความจำเป็นในการพัฒนาเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับราษฎร ซึ่งประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร โดยกรมชลประทานได้ทำการศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นมาตั้งแต่ ปี 2538 2540 2542 และ 2545 ตามลำดับ "อ่างเก็บน้ำห้วยตาเปอะ เป็นอ่างฯขนาดกลาง มีความจุประมาณ 20 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยมีพื้นที่รับน้ำฝน ด้านเหนืออ่างฯประมาณ 50 ตารางกิโลเมตร และมีปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยปีละ 22.28 ล้านลูกบาศก์เมตร หากสามารถดำเนินการก่อสร้างได้ก็จะเป็นแหล่งน้ำต้นทุนสำหรับการอุปโภคบริโภค และจัดสรรน้ำให้กับพื้นที่การเกษตรได้ประมาณ 7,000 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่บ้านตาเปอะ ตำบลบ้านค้อ ในเขตอำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร รวมทั้งยังสามารถเสริมการเพาะปลูกของราษฏร 2 ฝั่งลำห้วยบางทราย ตลอดจนช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วม เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ และเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของชุมชนอีกด้วย"
ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการกรมชลประทาน กล่าวว่าอย่างไรก็ตามพื้นที่ของโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยตาเปอะบางส่วน อยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐาน และเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าดงภูสีฐาน ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ครอบคลุมในทุกๆ ด้าน ทั้งด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมทั้งยังเปิดโอกาสให้ส่วนราชการท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมพิจารณาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ ตลอดระยะเวลาที่ดำเนินการศึกษา
นายรุ่ง พลหาญ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 8 บ้านตาเปอะ ตำบลบ้านค้อ อำเภออำชะอี จังหวัดมุกดาหาร กล่าวว่า ชาวบ้านที่นี่รอคอยอ่างเก็บน้ำมาเป็นระยะเวลากว่า 30 ปีแล้ว ก็ยังไม่เป็นจริงเสีย ที่ผ่านมาฤดูฝนน้ำที่นีเยอะมากแต่ไม่สามารถเก็บกักไว้ได้เลย พอถึงฤดูแล้งน้ำแห้งมากๆ แม้แต่น้ำดื่มก็แทบจะไม่มี อยากให้ก่อสร้างอ่างฯเร็วๆ จะได้เหมือนพื้นที่อื่นๆของห้วยบางทรายตอนบน ชาวบ้านที่นี่ขยันเพียงแต่ไม่มีน้ำเท่านั้น หากมีน้ำแล้วฐานะความเป็นอยู่ของชาวบ้านจะดีขึ้น และมั่นคงกว่านี้แน่นอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น