วันพุธที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

โครงการอาหารปลอดภัยปลอดโรคในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเครือข่ายบริการที่ 8

สำนักงานเขตพื้นที่เครือข่ายบริการที่ 8 จัดแถลงข่าวและเปิดการอบรมผู้เกี่ยวข้องเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานอาหาร ปลอดภัยในโรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อกว้าสู่การเป็นโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบด้านอาหารปลอดภัย

ที่โรงแรมเจริญโฮเต็ล อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี เช้าวันนี้ ( 22 พ.ค.56 ) ดร.นายแพทย์พงษ์สวัสดิ์ รัตนแสง สาธารณสุขนิเทศก์ กระทรวงสาธารณสุขเขตพื้นที่บริการที่ 8 พร้อมด้วยผู้แทนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี ท้องถิ่นจังหวัด เขตพื้นที่การศึกษา ร่วมกันแถลงข่าวโครงการอาหารปลอดภัย ปลอดโรค ในโรงเรียนและศูนย์พันาเด็กเล็ก เครือข่ายบริการที่ 8 โดยมีสื่อมวลชนในพื้นที่ร่วมฟังการแถลงข่าว พร้อมกันนี้ได้จัดให้มีการอบรมเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานอาหารปลอดภัย ปลอดโรคในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โรงพยาบาลชุมชน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงเรียน เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และผู้สังเกตการณ์ในเขตเครือข่ายบริหารสุขภาพที่ 8 ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดอุดธานี เลย หนองคาย หนองบัวลำภู สกลนคร นครพนม บึงกาฬ รวม 300 คน เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เกี่ยวข้อง และร่วมกันกำหนดแนวทางการดำเนินงานอาหารปลอดภัย ปลอดโรค ในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และพัฒนาให้เป็นต้นแบบด้านอาหารปลอดภัยปลอดโรค โดยรูปแบบการอบรมในครั้งนี้เป็นการบรรยาย อภิปราย สาธิต การฝึกปฏิบัติ และการนำเสนอ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการจัดนิทรรศการ ซึ่งได้รับกานสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย

ทั้งนี้จากข้อมูลระบาดวิทยาของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า การระบาดของโรคติดต่อทางอาหารและน้ำที่สำคัญคือโรอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ พบมากในกลุ่มประชากร อายุระหว่า 0-4 ปี และ 5-9 ปี มีอัตราการป่วยสูงกว่ากลุ่มวัยอื่น ในขณะที่จังหวัดอุดรธานี เป็น 1 ใน 9 จังหวัดนำร่องดำเนินงานโครงการอาหารปลอดภัย ปลอดโรคในโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อให้มีการสร้างโมเดลแลกเปลี่ยนและระดมความคิดเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยว ข้องในระดับพื้นที่ พร้อมหาแนวทางในการดำเนินงาน สอบสวนโรค การประเมินความเสี่ยง และการบริหารจัดการด้านอาหารปลอดภัยในโรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เนื่องจากเป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องตลอดปี เพราะการแพร่ระบาดเกิดขึ้นได้ง่าย ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรค จึงขอความร่วมมือไปยังโรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กดูแลด้านสุขภิบาล สุขลักษณะของโรงอาหาร ความปลอดภัยในการปรุงประกอบอาหาร โรงเรือน วัสดุอุปกรณ์ วัตถุดิบ ตัวผู้ปรุงต้องสะอาด ที่สำคัญควรเลือกประกอบอาหารที่สุกใหม่ให้เด็กรับประทาน ไม่ควรปรุงอาหารทิ้งไว้นานเกิน 2 ชั่วโมง เพราะเสี่ยงต่อเชื้อแบคทีเรียทีทำให้อาหารบูดเสีย เกิดโรงอาหารเป็นพิษต่อเด็ก รวมทั้งต้องดูแลสุขภาพเด็กด้วยการให้ล้างมือก่อนกินอาหาร การจัดบริการส้วมที่ถูกสุขลักษระเพื่อความปลอดภัยและห่างไกลจากโรค


ทีมข่าวส.ปชส.อด. ศรีภูมิ ทองใหญ่ ณ อยุธยา ข่าว/ภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น