ที่จังหวัดอำนาจเจริญ คณะผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) นำโดย นายนคร ตังตะพิภพ ตรวจเยี่ยมโครงการยกระดับการพัฒนาการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชนในการดำเนินงานกิจกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในเด็กและเยาวชน ที่อำเภอหัวตะพาน จังหวัดอำนาจเจริญ โดยมีคณะกรรมการฯ อำเภอหัวตะพานให้การต้อนรับและสรุปผลการดำเนินงานกิจกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในเด็กและเยาวชนของอำเภอหัวตะพาน ให้คณะผู้ทรงคุณวุฒิจากสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชนทราบ จากนั้นคณะผู้ทรงคุณวุฒิได้เยี่ยมชมการดำเนินงานของ อบต.สร้างถ่อน้อย และการดำเนินงานของ อบต.เค็งใหญ่ อำเภอหัวตะพาน
อำเภอหัวตะพานอยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 40 กิโลเมตร สภาพสังคมเป็นสังคมกึ่งเมืองกึ่งชนบท ครอบครัวปัจจุบันเป็นครอบครัวเดี่ยว พ่อแม่ต้องทำงานต่างจังหวัด ฝากลูกอาศัยอยู่กับปู่ย่า-ตายาย, ป้าลุง หรือญาติ เป็นจำนวนมาก และมากกว่าพ่อและแม่เลี้ยงเอง ในกลุ่มเด็กต่ำกว่า 5 ปี พบร้อยละ 35.7 ส่วนในกลุ่มวัยรุ่นพบร้อยละ 54.36 จากเหตุปัจจัยเหล่านี้ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานด้านสุขภาพหลายประเด็นเช่น ปัญหาการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในเด็กและเยาวชน, ปัญหายาเสพติด, ปัญหาการทะเลาะวิวาท เป็นต้น ทำให้งานอนามัยแม่และเด็ก ตัวชี้วัดที่มารดาตั้งครรภ์อายุต่ำ 20 ปี ยังเป็นปัญหาเรื้อรังมาเป็นระยะเวลายาวนาน จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา 3 ปีย้อนหลัง ปัญหาการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในเด็กและเยาวชน อำเภอหัวตะพาน อยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่าตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุขกำหนด คือร้อยละการตั้งครรภ์ในมารดาที่อายุ น้อยกว่า 20 ปีไม่เกิน ร้อยละ 10 สำหรับอำเภอหัวตะพาน โดยภาพรวม ปี 2554,2555,2556 มีมารดาที่อายุน้อยกว่า 20 ปีตั้งครรภ์ คิดเป็นร้อยละ 13.70, 20.53, และ 17.89 ตามลำดับ ซึ่งเกินเกณฑ์ตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่มีการตั้งครรภ์ในกลุ่มอายุน้อยกว่า 20 ปี สูงสุดคือ รพ.สต สร้างถ่อใน,โคกเลาะ และขุมเหล็ก สำหรับ รพ.สต. ที่ผ่านเกณฑ์มีเพียงแห่งเดียว คือ รพ.สต.คำพระ คือ ร้อยละ 8 จากผลการดำเนินงานโครงการการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในเด็กและเยาวชน ปี 2556 ของอำเภอหัวตะพานพบว่าอัตราร้อยละการตั้งครรภ์ในเด็กและเยาวชนลดลง คิดเป็นร้อยละ 17.8
อำเภอหัวตะพานอยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 40 กิโลเมตร สภาพสังคมเป็นสังคมกึ่งเมืองกึ่งชนบท ครอบครัวปัจจุบันเป็นครอบครัวเดี่ยว พ่อแม่ต้องทำงานต่างจังหวัด ฝากลูกอาศัยอยู่กับปู่ย่า-ตายาย, ป้าลุง หรือญาติ เป็นจำนวนมาก และมากกว่าพ่อและแม่เลี้ยงเอง ในกลุ่มเด็กต่ำกว่า 5 ปี พบร้อยละ 35.7 ส่วนในกลุ่มวัยรุ่นพบร้อยละ 54.36 จากเหตุปัจจัยเหล่านี้ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานด้านสุขภาพหลายประเด็นเช่น ปัญหาการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในเด็กและเยาวชน, ปัญหายาเสพติด, ปัญหาการทะเลาะวิวาท เป็นต้น ทำให้งานอนามัยแม่และเด็ก ตัวชี้วัดที่มารดาตั้งครรภ์อายุต่ำ 20 ปี ยังเป็นปัญหาเรื้อรังมาเป็นระยะเวลายาวนาน จากผลการดำเนินงานที่ผ่านมา 3 ปีย้อนหลัง ปัญหาการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในเด็กและเยาวชน อำเภอหัวตะพาน อยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่าตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุขกำหนด คือร้อยละการตั้งครรภ์ในมารดาที่อายุ น้อยกว่า 20 ปีไม่เกิน ร้อยละ 10 สำหรับอำเภอหัวตะพาน โดยภาพรวม ปี 2554,2555,2556 มีมารดาที่อายุน้อยกว่า 20 ปีตั้งครรภ์ คิดเป็นร้อยละ 13.70, 20.53, และ 17.89 ตามลำดับ ซึ่งเกินเกณฑ์ตัวชี้วัดของกระทรวงสาธารณสุข โดยโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่มีการตั้งครรภ์ในกลุ่มอายุน้อยกว่า 20 ปี สูงสุดคือ รพ.สต สร้างถ่อใน,โคกเลาะ และขุมเหล็ก สำหรับ รพ.สต. ที่ผ่านเกณฑ์มีเพียงแห่งเดียว คือ รพ.สต.คำพระ คือ ร้อยละ 8 จากผลการดำเนินงานโครงการการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในเด็กและเยาวชน ปี 2556 ของอำเภอหัวตะพานพบว่าอัตราร้อยละการตั้งครรภ์ในเด็กและเยาวชนลดลง คิดเป็นร้อยละ 17.8
จรูญ พิตะพันธ์/ข่าว
ประกาศิต สุวะทอง/ภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น