วันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๕๖ เวลา ๐๙.๓๐ น . ณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดบึงกาฬ ได้มีการประชุมคณะอนุกรรมการกำกับและขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ ด้านการสหกรณ์ระดับจังหวัด โดยมีนายพงศธร สัจจชลพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ เป็นประธานการประชุม
นายพงศธร สัจจชลพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ ในฐานะประธานอนุกรรมการกำกับและขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ ด้านการสหกรณ์ระดับจังหวัด กล่าวว่า เนื่องในโอกาส ครบ ๑๐๐ ปี ของการสหกรณ์ไทย และองค์การสหประชาชาติประกาศให้ปี ค.ศ. ๒๐๑๒ เป็นปีสหกรณ์สากล ประกอบกับรัฐบาลเห็นความสำคัญในการใช้การสหกรณ์เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๕ ประกาศให้สหกรณ์เป็นวาระแห่งชาติ สำหรับข้อมูลพื้นฐานสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดบึงกาฬ มีดังนี้ สหกรณ์ มีอยู่ ๔ ประเภทด้วยกันคือ ประเภทการเกษตร ประกอบด้วย ๑.กองทุนสวนยาง ๒. การเกษตร ประเภทออมทรัพย์ ,ประเภทบริการ และประเภท เครดิตยูเนี่ยน ทั้ง ๔ ประเภท มี สหกรณ์รวม ๕๘ แห่ง จำนวนสมาชิก ๘๑,๑๒๙ คน ทุนเรือนหุ้น ๑,๐๗๗,๐๐๘,๙๓๗.๐๐ บาท ทุนดำเนินการ ๒๔๓,๔๔๖,๗๖๙.๐๐ บาท โดยจังหวัดบึงกาฬ จะดำเนินการใน ๔ ยุทธศาสตร์ เพื่อขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ คือ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ สร้างและพัฒนาการเรียนรู้และทักษะการสหกรณ์สู่วิถีชีวิตชนในชาติ ยุทธศาสตร์ที่ ๒ สนับสนุนและการพัฒนาการรวมกลุ่มของประชาชนด้วยวิถีการสหกรณ์ให้เป็นฐานรากสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงเครือข่ายระบบการผลิต การตลาด และการเงินของสหกรณ์ และยุทธศาสตร์ที่ ๔ สนับสนุนแผนพัฒนาการสหกรณ์ให้เป็นเครื่องมือในการสร้างความเข้มแข็งของขบวนการสหกรณ์
ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ กล่าวเพิ่มเติมว่า การประชุม ในวันนี้ เป็นการพูดคุยถึงแนวทางการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ให้ประสบผลสำเร็จ โดยมีส่วนราชการ ภาคประชาชน เข้าร่วมประชุม กว่า ๔๐ หน่วยงาน
นายพงศธร สัจจชลพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ ในฐานะประธานอนุกรรมการกำกับและขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ ด้านการสหกรณ์ระดับจังหวัด กล่าวว่า เนื่องในโอกาส ครบ ๑๐๐ ปี ของการสหกรณ์ไทย และองค์การสหประชาชาติประกาศให้ปี ค.ศ. ๒๐๑๒ เป็นปีสหกรณ์สากล ประกอบกับรัฐบาลเห็นความสำคัญในการใช้การสหกรณ์เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๕๕ ประกาศให้สหกรณ์เป็นวาระแห่งชาติ สำหรับข้อมูลพื้นฐานสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรในจังหวัดบึงกาฬ มีดังนี้ สหกรณ์ มีอยู่ ๔ ประเภทด้วยกันคือ ประเภทการเกษตร ประกอบด้วย ๑.กองทุนสวนยาง ๒. การเกษตร ประเภทออมทรัพย์ ,ประเภทบริการ และประเภท เครดิตยูเนี่ยน ทั้ง ๔ ประเภท มี สหกรณ์รวม ๕๘ แห่ง จำนวนสมาชิก ๘๑,๑๒๙ คน ทุนเรือนหุ้น ๑,๐๗๗,๐๐๘,๙๓๗.๐๐ บาท ทุนดำเนินการ ๒๔๓,๔๔๖,๗๖๙.๐๐ บาท โดยจังหวัดบึงกาฬ จะดำเนินการใน ๔ ยุทธศาสตร์ เพื่อขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ คือ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ สร้างและพัฒนาการเรียนรู้และทักษะการสหกรณ์สู่วิถีชีวิตชนในชาติ ยุทธศาสตร์ที่ ๒ สนับสนุนและการพัฒนาการรวมกลุ่มของประชาชนด้วยวิถีการสหกรณ์ให้เป็นฐานรากสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ยุทธศาสตร์ที่ ๓ การเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงเครือข่ายระบบการผลิต การตลาด และการเงินของสหกรณ์ และยุทธศาสตร์ที่ ๔ สนับสนุนแผนพัฒนาการสหกรณ์ให้เป็นเครื่องมือในการสร้างความเข้มแข็งของขบวนการสหกรณ์
ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ กล่าวเพิ่มเติมว่า การประชุม ในวันนี้ เป็นการพูดคุยถึงแนวทางการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ให้ประสบผลสำเร็จ โดยมีส่วนราชการ ภาคประชาชน เข้าร่วมประชุม กว่า ๔๐ หน่วยงาน
ข่าว/ส.ปชส.บึงกาฬ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น