ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรา รัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการปรับปรุงบัญชีอัตราภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดา) โดยมีสาระสำคัญคือ การปรับปรุงบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการคำนวณเงินได้สุทธิจาก 5 ขั้นอัตรา เป็น 7 ขั้นอัตรา และลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากอัตราสูงสุดร้อยละ 37 เป็นร้อยละ 35 โดยให้มีผลบังคับใช้สำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปีภาษี พ.ศ. 2556 และ พ.ศ.2557
สศค. วิเคราะห์ว่า การปรับปรุงอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาถือเป็นการปฏิรูปโครงสร้างระบบภาษี ที่สำคัญของไทยเนื่องจากในปี 2558 ประเทศไทยจะต้องเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ซึ่งจะส่งผลให้ฐานภาษีแคบลง (การเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตต่างๆ ที่เสรีมากขึ้นทำให้การจัดเก็บภาษียากขึ้น) อีกทั้งการจัดเก็บรายได้โดยภาพรวมของไทยก็อยู่ในระดับต่ำ สะท้อนจาก Revenue to GDP อยู่ที่ร้อยละ 19 ต่อ GDP ซึ่งถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศกลุ่ม ASEAN และค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว ดังนั้น การปรับปรุงอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะช่วยดึงดูดผู้มีรายได้ให้เข้าสู่ ระบบฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามากขึ้น (ป้จจุบันมีผู้ที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในระบบประมาณ 2 ล้านคนเท่านั้น) ซึ่งจะทำให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้เพื่อใช้จ่ายในการพัฒนาประเทศด้าน ต่างๆ ได้มากขึ้น โดยล่าสุด รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้จากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีงบประมาณ 2556 รวม 299.0 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ12.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และในเดือน ต.ค. 56 จัดเก็บรายได้ 22.1 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
สศค. วิเคราะห์ว่า การปรับปรุงอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาถือเป็นการปฏิรูปโครงสร้างระบบภาษี ที่สำคัญของไทยเนื่องจากในปี 2558 ประเทศไทยจะต้องเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC) ซึ่งจะส่งผลให้ฐานภาษีแคบลง (การเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตต่างๆ ที่เสรีมากขึ้นทำให้การจัดเก็บภาษียากขึ้น) อีกทั้งการจัดเก็บรายได้โดยภาพรวมของไทยก็อยู่ในระดับต่ำ สะท้อนจาก Revenue to GDP อยู่ที่ร้อยละ 19 ต่อ GDP ซึ่งถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศกลุ่ม ASEAN และค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว ดังนั้น การปรับปรุงอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะช่วยดึงดูดผู้มีรายได้ให้เข้าสู่ ระบบฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามากขึ้น (ป้จจุบันมีผู้ที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในระบบประมาณ 2 ล้านคนเท่านั้น) ซึ่งจะทำให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้เพื่อใช้จ่ายในการพัฒนาประเทศด้าน ต่างๆ ได้มากขึ้น โดยล่าสุด รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้จากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในปีงบประมาณ 2556 รวม 299.0 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ12.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และในเดือน ต.ค. 56 จัดเก็บรายได้ 22.1 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น