วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น นำเกษตรกร, กรรมกรหอการค้าทำนาโยนในแปลงสาธิตศูนย์การเรียนรู้โครงการ 1 ไร่ ได้ 1 แสน แห่งที่ 1 อำเภออุบลรัตน์ เพื่อเป็นต้นแบบในการปฏิบัติพื้นที่จริง

เช้าวันที่ 13 สิงหาคม 2556  ที่แปลงนาสาธิตศูนย์การเรียนรู้โครงการ 1 โร่ ได้เงิน 1 แสน แห่งที่ 1 บ้านหนองแต้ ตำบลบ้านดง อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น

นายสมศักดิ์ สุวรรณสุจริต ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ได้นำเกษตรกรในพื้นที่บ้านหนองแต้ และเครือข่ายเกษตรกรจากจังหวัดกาฬสินธุ์ , กรรมการหอการค้าจังหวัดขอนแก่น , กาฬสินธุ์ และสกลนคร จำนวนกว่า 100 คน ร่วมกันทำนาโยนลงในบนพื้นที่แปลงนาสาธิตของศูนย์การเรียนรู้ โครงการ 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสน แห่งที่ 1 ตามโครงการปลูกวันแม่ เกี่ยววันพ่อ โดยพันธุ์กล้าข้าวที่นำมาโยนในแปลงนาสาธิต ครั้งนี้ เป็นพันธุ์ข้าวมะลิหอมนิล เพื่อเป็นต้นแบบให้เกษตรกรนำไปปฏิบัติในพื้นที่จริง และเป็นต้นแบบการขยายไปยังเครือข่ายเกษตรกรที่สนใจอยากทำการเกษตรอินทรีย์ แบบผสมผสานตามแนวพระราชดำริ พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว 1 ไร่ ได้เงิน 1 แสน ซึ่งหอการค้าไทยนำมาเผยแพร่และหอการค้าขอนแก่น นำมาขยายผลเป็นจังหวัดนำร่อง และต้นแบบรวม 4 จุด ในพื้นที่อำเภอเมืองขอนแก่น อำเภออุบลรัตน์ , อำเภอเวียงเก่า และอำเภอน้ำพอง เพื่อให้เกษตรกรได้มาศึกษาเรียนรู้และนำไปปฏิบัติจริง นายสมิง ยิ้มศิริ ประธานหอการค้าจังหวัดขอนแก่น เปิดเผยว่า โครงการ 1 ไร่ 1 แสน ขึ้น โดยมีเป้าประสงค์สำคัญเพื่อสร้างต้นแบบการทดลองการปฏิบัติในพื้นที่จริง จากกลุ่มเครือข่ายผู้นำทางการเกษตร ที่ประสบผลสำเร็จ ให้เป็นผู้ถ่ายทอดประสบการณ์ในการใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยใช้กระบวนการทำการเกษตรแบบผสมผสาน ซึ่งโครงการดังกล่าวจะสามารถสร้างต้นแบบ และองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรในชนบทได้นำไปทดลองปฏิบัติ ซึ่งจะเป็นการยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้น ตลอดจนส่งผลต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาว และในการดำเนินโครงการนั้นจะประกอบด้วยภาคีร่วม 4 ส่วน ประกอบด้วยหอการค้าไทย หอการค้าจังหวัด มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และมีจังหวัดนำร่องดำเนินโครงการ 1 ไร่ 1 แสน ได้แก่ หมู่บ้านหนองแต้ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ซึ่งมีวัตถุประสงค์การดำเนินโครงการ เพื่อเพิ่มพูนรายได้ให้แก่เกษตรกรทั้งอาชีพหลักและอาชีพเสริม เพื่อส่งเสริมเกษตรกรในการเกษตรแบบผสมผสานด้วยระบบเกษตรอินทรีย์ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการใช้ปุ๋ยเคมีและยาปราบศัตรูพืช และเพื่อสร้างองค์ความรู้เชิงประจักษ์ (ตำรา) ในการทำการเกษตรผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกร 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น