วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยถึงสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ว่า ในพื้นที่รับผิดชอบ 32 อำเภอ มีอัตราป่วยในระดับที่ 32 ของประเทศ

นายแพทย์วิชัย ขัตติยวิทยากุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยถึงสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ว่า ในพื้นที่รับผิดชอบ 32 อำเภอของจังหวัดนครราชสีมา มีอัตราป่วยในระดับที่ 32 ของประเทศ โดยมีผู้เสียชีวิต 3 ราย อัตราตาย 0.12 ต่อแสนประชากร และป่วย 3,274 ราย คิดเป็นอัตรา 126.64 ต่อแสนประชากร

แนวทางสำคัญที่ทุกฝ่ายต้องให้ความร่วมมือเพื่อลดจำนวนผู้ป่วยซึ่งมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นอย่างเนื่อง นั่นคือ พี่น้อง ประชาชน ต้องร่วมมือปฏิบัติในการกำจัดยุงลายอย่างต่อเนื่อง โดยมี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นองค์กรที่มีบทบาทในการช่วยเหลือสนับสนุนในทุกพื้นที่

ตัวอย่างที่ผ่านมา เมื่อช่วงต้นเดือนสิงหาคม เพียงสัปดาห์เดียว พบชาวบ้านในเขต ต.ตะคุ อ.ปักธงชัย ป่วยเป็นไข้เลือดออกกว่าร้อยราย ซึ่งเป็นจำนวนที่สูงมาก จึงมีการเฝ้าระวังเป็นพิเศษ พร้อมจัดเจ้าหน้าที่ระดับจังหวัด และอำเภอ ลงพื้นที่ดำเนินกิจกรรมเน้นการมีส่วนร่วมกับภาคเครือข่าย โดยมีท้องถิ่น และ อาสาสมัครสาธารณสุข เป็นพลังขับเคลื่อน พบแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายหลายพื้นที่ ซึ่งมีทั้งในเศษพลาสติก กระถาง กระป๋อง เศษขยะมูลฝอย ยางรถยนต์ ใบไม้ใหญ่ที่ขังน้ำได้ โอ่งน้ำ ฯ จึงได้ร่วมกันจัดการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ให้สิ้นซาก ทำให้ลดจำนวนผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว


การกำจัดแหลางเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยคว่ำโอ่งอย่างเดียวไม่ได้ ต้องขัดภายในโอ่งด้วยเพื่อให้ไข่ยุงหลุดไม่มีโอกาสเพาะตัว เพราะยุงสามารถฟักตัวได้ภายใน 7 วัน และไข่ยุงลายสามารถอยู่ในภาชนะที่ไม่มีน้ำได้นานถึง 3 ปี หากมีน้ำจะพัฒนาเป็นตัวแก่และมีเชื้อยุงลายเหมือนเดิม ดังนั้น บ้านไหนพบผู้ป่วยยุงลายต้องฉีดพ่นยาฆ่ายุง ทุก 3 - 7 วัน และไข่ยุงที่ติดตามโอ่งน้ำ หรือกะโหลก กะลา หากไม่ขัดไข่ออก หรือทำลาย โอ่งน้ำที่คว่ำไว้ 1-3 ปี ไข่ยุงลายยังอยู่ หากถูกน้ำ ก็สามารถฟักเป็นตัวได้ เพราะไข่ยุงลาย สามารถอยู่ติดตามกะโหลก กะลา หรือโอ่งน้ำที่คว่ำได้นานถึง 3 ปี ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุด หากเป็นกะโหลก กะลา ก็ทิ้งเลย/ทำลายไปเลย หากเป็นโอ่ง กระถาง ต้องขัดภายในให้ไข่หลุดหมดไป อย่าให้มีโอกาสฟักตัว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น