วันที่ 28 มกราคม 2557 พลเอกเจษฎา ศรีสุภาพ รองสมุหราชองครักษ์ ผู้แทนพระองค์สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี พร้อมด้วยนายลลิต ถนอมสิงห์ ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาเป็นประธานในพิธีมอบเมล็ดพันธุ์ข้าวพระราชทาน แก่ราษฎรที่ประสบอุทกภัย อำเภอลำปลายมาศและอำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ ณ วัดทุ่งสว่างแท่นพระ และโรงเรียนบ้านหนองโดนประสาทวิทย์ อำเภอลำปลายมาศ และศาลาอเนกประสงค์บ้านโนนอ้อมน้อย อำเภอชำนิ จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมีนายธงชัย ลืออดุลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวให้การต้อนรับ
จากวิกฤตการณ์น้ำท่วมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อปี 2556 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ หลายจังหวัดในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อน โดยเฉพาะจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งประสบเหตุอุทกภัยเนื่องจาก ฝนตกหนักและน้ำเหนือจากจังหวัดนครราชสีมาและลำน้ำสาขาต่างๆ ได้ไหลมาสมทบลงลำน้ำมาศ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ทำให้ระดับน้ำเพิ่มสูงทะลักเข้าท่วมบ้านเรือน ถนน และสะพาน สูงกว่า 70 เซนติเมตร นานกว่า 2 เดือน ส่งผลให้มีผู้ได้รับความเดือดร้อนจำนวน 261,672 คน 60,296 ครัวเรือน บ้านเรือนที่ถูกน้ำท่วมจำนวน 1,150 หลัง พื้นที่การเกษตรพืชไร่ ไร่อ้อย มันสำปะหลัง เสียหายจำนวน 48,595 ไร่ รวมถึงพื้นที่การเกษตรนาข้าวจำนวน 190,108 ไร่
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงห่วงใยราษฎรในเขตพื้นที่ดังกล่าว เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากราษฎรในพื้นที่มีรายได้หลักจากการทำนาข้าวหอมมะลิ ซึ่งส่วนใหญ่ปลูกได้ เพียงปีละหนึ่งครั้ง เมื่อประสบเหตุอุทกภัยราษฎรจึงสูญเสียรายได้หลักทั้งปีของตนไป จึงมีกระแสรับสั่งให้มูลนิธิชัยพัฒนาจัดหาพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 ที่มีคุณภาพดีและได้มาตรฐานเพื่อพระราชทาน แก่ราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนที่นาถูกน้ำท่วมเสียหาย
ในการนี้ มูลนิธิชัยพัฒนาได้นำเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 จากศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ จังหวัดสุรินทร์ จำนวนทั้งสิ้น 185.6 ตัน เพื่อมอบให้แก่ราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุอุทกภัยในจังหวัดบุรีรัมย์ แบ่งเป็นราษฎรตำบลหนองคู อำเภอลำปลายมาศ 74 ราย ราษฎรตำบล หินโคน อำเภอลำปลายมาศ 262 ราย ราษฎรตำบลบ้านยาง อำเภอลำปลายมาศ 290 ราย ราษฎรตำบลหนองโดน อำเภอลำปลายมาศ 364 ราย และราษฎรบ้านโนนอ้อมน้อย ตำบลชำนิ อำเภอชำนิ จำนวน 44 ราย เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือนร้อนและเพื่อใช้เพาะปลูกสำหรับฤดูกาลทำนา ในครั้งต่อไป
ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ จังหวัดสุรินทร์ ได้จัดตั้งตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เมื่อปี 2556 เพื่อเป็นที่รวบรวมเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิพระราชทานที่มีคุณภาพและจากการดำเนินงานที่ผ่านมาศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ จังหวัดสุรินทร์ ได้ร่วมมือกับศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ หากลุ่มเกษตรเข้าร่วมโครงการผลิตพันธุ์ข้าวหอมมะลิพระราชทานได้จำนวน 7 กลุ่ม ใน 6 อำเภอ ในจังหวัดสุรินทร์ คือ กลุ่มอำเภอเมือง อำเภอจอมพระ อำเภอศีขรภูมิ อำเภอชุมพลบุรี อำเภอสำโรงทาบ และอำเภอสังขะ
ในส่วนของ ข้าวหอมมะลิ 105 เป็นพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูง เมล็ดข้าวนุ่มมีกลิ่นหอม สามารถปรับตัวในสภาพพื้นที่ต่างๆได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะพื้นที่ดินร่วนปนทราย อีกทั้งเป็นสายพันธุ์ ที่ทนแล้งได้มากที่สุด จึงเหมาะแก่การเพาะปลูกในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จากวิกฤตการณ์น้ำท่วมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อปี 2556 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ หลายจังหวัดในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อน โดยเฉพาะจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งประสบเหตุอุทกภัยเนื่องจาก ฝนตกหนักและน้ำเหนือจากจังหวัดนครราชสีมาและลำน้ำสาขาต่างๆ ได้ไหลมาสมทบลงลำน้ำมาศ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ ทำให้ระดับน้ำเพิ่มสูงทะลักเข้าท่วมบ้านเรือน ถนน และสะพาน สูงกว่า 70 เซนติเมตร นานกว่า 2 เดือน ส่งผลให้มีผู้ได้รับความเดือดร้อนจำนวน 261,672 คน 60,296 ครัวเรือน บ้านเรือนที่ถูกน้ำท่วมจำนวน 1,150 หลัง พื้นที่การเกษตรพืชไร่ ไร่อ้อย มันสำปะหลัง เสียหายจำนวน 48,595 ไร่ รวมถึงพื้นที่การเกษตรนาข้าวจำนวน 190,108 ไร่
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงห่วงใยราษฎรในเขตพื้นที่ดังกล่าว เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากราษฎรในพื้นที่มีรายได้หลักจากการทำนาข้าวหอมมะลิ ซึ่งส่วนใหญ่ปลูกได้ เพียงปีละหนึ่งครั้ง เมื่อประสบเหตุอุทกภัยราษฎรจึงสูญเสียรายได้หลักทั้งปีของตนไป จึงมีกระแสรับสั่งให้มูลนิธิชัยพัฒนาจัดหาพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 ที่มีคุณภาพดีและได้มาตรฐานเพื่อพระราชทาน แก่ราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนที่นาถูกน้ำท่วมเสียหาย
ในการนี้ มูลนิธิชัยพัฒนาได้นำเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 จากศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ จังหวัดสุรินทร์ จำนวนทั้งสิ้น 185.6 ตัน เพื่อมอบให้แก่ราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุอุทกภัยในจังหวัดบุรีรัมย์ แบ่งเป็นราษฎรตำบลหนองคู อำเภอลำปลายมาศ 74 ราย ราษฎรตำบล หินโคน อำเภอลำปลายมาศ 262 ราย ราษฎรตำบลบ้านยาง อำเภอลำปลายมาศ 290 ราย ราษฎรตำบลหนองโดน อำเภอลำปลายมาศ 364 ราย และราษฎรบ้านโนนอ้อมน้อย ตำบลชำนิ อำเภอชำนิ จำนวน 44 ราย เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือนร้อนและเพื่อใช้เพาะปลูกสำหรับฤดูกาลทำนา ในครั้งต่อไป
ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ จังหวัดสุรินทร์ ได้จัดตั้งตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เมื่อปี 2556 เพื่อเป็นที่รวบรวมเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิพระราชทานที่มีคุณภาพและจากการดำเนินงานที่ผ่านมาศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ จังหวัดสุรินทร์ ได้ร่วมมือกับศูนย์วิจัยข้าวสุรินทร์ หากลุ่มเกษตรเข้าร่วมโครงการผลิตพันธุ์ข้าวหอมมะลิพระราชทานได้จำนวน 7 กลุ่ม ใน 6 อำเภอ ในจังหวัดสุรินทร์ คือ กลุ่มอำเภอเมือง อำเภอจอมพระ อำเภอศีขรภูมิ อำเภอชุมพลบุรี อำเภอสำโรงทาบ และอำเภอสังขะ
ในส่วนของ ข้าวหอมมะลิ 105 เป็นพันธุ์ข้าวที่ให้ผลผลิตสูง เมล็ดข้าวนุ่มมีกลิ่นหอม สามารถปรับตัวในสภาพพื้นที่ต่างๆได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะพื้นที่ดินร่วนปนทราย อีกทั้งเป็นสายพันธุ์ ที่ทนแล้งได้มากที่สุด จึงเหมาะแก่การเพาะปลูกในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดบุรีรัมย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น