เกษตรกรผู้ปลูกข้าว แบ่งที่มาขุดบ่อเลี้ยงเลี้ยงปลาคร๊าฟ และปลูกดอกดาวเรือง สร้างรายได้งาม ขายปลาตัวละ 200 บาท ในแต่ละครั้งได้หลายหมื่นบาท สามารถส่งลูกจบมหาวิทยาลัย
นายสง่า สามพิมพ์ อายุ 57ปี อยู่บ้านเลขที่ 24 หมู่ที่24 บ้านโสน ต.แสลงพันธุ์ อ.เมือง จ.สุรินทร์ เป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอีกคนหนึ่ง ที่หันมาแบ่งพื้นที่จำนวนหนึ่งมาเลี้ยงปลาสวยงาม พร้อมเล่าให้ฟังว่า เมื่อประมาณ 8 ปีที่ผ่านมา ตนเองได้เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการเลี้ยงปลา ร่วมกับสำนักงานประมงจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งช่วงนั้นได้ไปชมทัศนศึกษาที่กรมประมงและที่สวนจัตุจัก กรุงเทพ ในเรื่องการเลี้ยงปลาสวยงาม เมื่อเดินทางกลับบ้านสุรินทร์ ได้ซื้อปลาดังกล่าวกลับมาบ้านด้วยคู่หนึ่ง เมื่อมาถึงบ้านได้นำปลาไปปล่อยที่สระน้ำกลางทุ่งนาตามยถากรรม หนึ่งปีผ่านไปปรากฏว่าปลาสวยงาม มีการขยายพันธุ์ ตัวโต สวยงาม เมื่อมาถึงตรงนี้จึงได้คิดว่าปลาสวยงามตัวโต ไม่ตาย สามารถนำมาเลี้ยงที่ทุ่งนาได้ จึงได้เริ่มต้นในการเพาะพันธุ์อย่างจริงจัง พร้อมทั้งนำความรู้ที่ได้ไปอบรมมาใช้ในการเลี้ยงปลาคร๊าฟ
ลุงสง่า สามพิมพ์ เล่าให้ฟังอีกว่า ตนได้แบ่งพื้นที่นา จำนวน 15 ไร่ ที่ใช้ในการทำนาปลูกข้าวมาขุดบ่อเลี้ยงปลา จำนวน 8 ไร่ โดยได้ขุดบ่อปลาขนาด 14 คูณ 35 เมตร ลึก เมตรครึ่ง จำนวน 2 บ่อ ในปีต่อมาขุดบ่อ เพิ่มอีก 2 บ่อ กว้างขนาดเท่ากันแต่มีความลึก 3 เมตร จำนวน 2 บ่อ รวมทั้งสิ้น ณ.ปัจจุบัน มีบ่อทั้งที่มีอยู่แล้วและขุดเพิ่มเติม จำนวน 9 บ่อ พร้อมกันนี้ยังมีบ่อเลี้ยงปลาอนุบาล(บ่อซีเมนต์)ขนาดกว้างเมตรครึ่ง ยาว 3เมตร จำนวน 10 บ่อ ในขณะพื้นที่ที่เหลือได้ปลูกดอกดาวเรือง ปลูกผัก และปลูกพืชผักทุกชนิดที่กินได้
สำหรับปลาคร๊าฟ ได้เลี้ยงเป็นเวลามากว่า 7 ปี ปีแรกได้นำไปขายและได้ส่งขายตามตลาดนัดทั้งแจกทั้งแถม ในราคาตัวละ 10 บาท อายุ 2-3 เดือน ส่วนอายุ 2-3 ปี จำหน่ายในราคาตัวละ 200 บาท ในขณะที่พ่อแม่พันธุ์ หนักประมาณ 20-30 กิโลกรัม ไม่จำหน่าย แต่มีชาวต่างชาติได้มาขอซื้อไปประดับในตู้กระจกที่บ้าน ในราคาหลายพันบาท ทุกวันนี้ปลาที่มีในบ่อของลุงสง่า มีปลาระดับอนุบาล นับไม่ถ้วน ขนาด 2-3 เดือนมีหลายพันตัว ส่วนอายุ 2-3 ปี มีกว่าพันตัว และปลาพ่อแม่พันธุ์อีกนับร้อยตัว
ในด้านอุปสรรคนั้นแน่นนอนเรื่องน้ำที่นำมาใช้เลี้ยงปลา แต่ตนได้เจาะบ่อบาดาล ถึง 3 จุด เพื่อนำน้ำบาดาลมาใส่ไว้ในบ่อและใช้ปลุกพืชในช่วงหน้าแล้ง สำหรับเรื่องโรคของปลาก็มีบ้าง แต่ตนนั้นได้ศึกษาในเรื่องโรคเกี่ยวกับปลามาจึงไม่มีความวิตกแต่อย่างใด ในส่วนของรายได้การเลี้ยงปลานั้น ลุงสง่า สามพิมพ์ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่หันมาเลี้ยงปลาสวยงาม กล่าวว่า พอไปได้สามารถเลี้ยงลูกสาวที่เป็นลูกแฝด ทั้งสองคนสามารถส่งลูกเรียนจบมหาวิทยาลัย ถึงแม้นตนเองจะเรียนหนังสือจบแค่ ป.4 แต่ตนก็ภูมิใจที่สามารถส่งลูกทั้งสองคนและปัจจุบันได้ทำงานมีอาชีพที่ดี อย่างน่าภาคภูมิ ลุงสง่า กล่าวในที่สุด
นายสง่า สามพิมพ์ อายุ 57ปี อยู่บ้านเลขที่ 24 หมู่ที่24 บ้านโสน ต.แสลงพันธุ์ อ.เมือง จ.สุรินทร์ เป็นเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอีกคนหนึ่ง ที่หันมาแบ่งพื้นที่จำนวนหนึ่งมาเลี้ยงปลาสวยงาม พร้อมเล่าให้ฟังว่า เมื่อประมาณ 8 ปีที่ผ่านมา ตนเองได้เข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการเลี้ยงปลา ร่วมกับสำนักงานประมงจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งช่วงนั้นได้ไปชมทัศนศึกษาที่กรมประมงและที่สวนจัตุจัก กรุงเทพ ในเรื่องการเลี้ยงปลาสวยงาม เมื่อเดินทางกลับบ้านสุรินทร์ ได้ซื้อปลาดังกล่าวกลับมาบ้านด้วยคู่หนึ่ง เมื่อมาถึงบ้านได้นำปลาไปปล่อยที่สระน้ำกลางทุ่งนาตามยถากรรม หนึ่งปีผ่านไปปรากฏว่าปลาสวยงาม มีการขยายพันธุ์ ตัวโต สวยงาม เมื่อมาถึงตรงนี้จึงได้คิดว่าปลาสวยงามตัวโต ไม่ตาย สามารถนำมาเลี้ยงที่ทุ่งนาได้ จึงได้เริ่มต้นในการเพาะพันธุ์อย่างจริงจัง พร้อมทั้งนำความรู้ที่ได้ไปอบรมมาใช้ในการเลี้ยงปลาคร๊าฟ
ลุงสง่า สามพิมพ์ เล่าให้ฟังอีกว่า ตนได้แบ่งพื้นที่นา จำนวน 15 ไร่ ที่ใช้ในการทำนาปลูกข้าวมาขุดบ่อเลี้ยงปลา จำนวน 8 ไร่ โดยได้ขุดบ่อปลาขนาด 14 คูณ 35 เมตร ลึก เมตรครึ่ง จำนวน 2 บ่อ ในปีต่อมาขุดบ่อ เพิ่มอีก 2 บ่อ กว้างขนาดเท่ากันแต่มีความลึก 3 เมตร จำนวน 2 บ่อ รวมทั้งสิ้น ณ.ปัจจุบัน มีบ่อทั้งที่มีอยู่แล้วและขุดเพิ่มเติม จำนวน 9 บ่อ พร้อมกันนี้ยังมีบ่อเลี้ยงปลาอนุบาล(บ่อซีเมนต์)ขนาดกว้างเมตรครึ่ง ยาว 3เมตร จำนวน 10 บ่อ ในขณะพื้นที่ที่เหลือได้ปลูกดอกดาวเรือง ปลูกผัก และปลูกพืชผักทุกชนิดที่กินได้
สำหรับปลาคร๊าฟ ได้เลี้ยงเป็นเวลามากว่า 7 ปี ปีแรกได้นำไปขายและได้ส่งขายตามตลาดนัดทั้งแจกทั้งแถม ในราคาตัวละ 10 บาท อายุ 2-3 เดือน ส่วนอายุ 2-3 ปี จำหน่ายในราคาตัวละ 200 บาท ในขณะที่พ่อแม่พันธุ์ หนักประมาณ 20-30 กิโลกรัม ไม่จำหน่าย แต่มีชาวต่างชาติได้มาขอซื้อไปประดับในตู้กระจกที่บ้าน ในราคาหลายพันบาท ทุกวันนี้ปลาที่มีในบ่อของลุงสง่า มีปลาระดับอนุบาล นับไม่ถ้วน ขนาด 2-3 เดือนมีหลายพันตัว ส่วนอายุ 2-3 ปี มีกว่าพันตัว และปลาพ่อแม่พันธุ์อีกนับร้อยตัว
ในด้านอุปสรรคนั้นแน่นนอนเรื่องน้ำที่นำมาใช้เลี้ยงปลา แต่ตนได้เจาะบ่อบาดาล ถึง 3 จุด เพื่อนำน้ำบาดาลมาใส่ไว้ในบ่อและใช้ปลุกพืชในช่วงหน้าแล้ง สำหรับเรื่องโรคของปลาก็มีบ้าง แต่ตนนั้นได้ศึกษาในเรื่องโรคเกี่ยวกับปลามาจึงไม่มีความวิตกแต่อย่างใด ในส่วนของรายได้การเลี้ยงปลานั้น ลุงสง่า สามพิมพ์ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่หันมาเลี้ยงปลาสวยงาม กล่าวว่า พอไปได้สามารถเลี้ยงลูกสาวที่เป็นลูกแฝด ทั้งสองคนสามารถส่งลูกเรียนจบมหาวิทยาลัย ถึงแม้นตนเองจะเรียนหนังสือจบแค่ ป.4 แต่ตนก็ภูมิใจที่สามารถส่งลูกทั้งสองคนและปัจจุบันได้ทำงานมีอาชีพที่ดี อย่างน่าภาคภูมิ ลุงสง่า กล่าวในที่สุด
อุทัย มานาดี / รายงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น