"ข้าราชการ” ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 หมายถึง บุคคลที่รับการบรรจุแต่งตั้งให้รับราชการปฏิบัติหน้าที่และรับเงินเดือนในกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ หน่วยงานที่บุคคลเหล่านี้ปฏิบัติงานเรียกว่า ส่วนราชการ
ข้าราชการพลเรือนมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยมีการแบ่งเป็นข้าราชการพลเรือน มีเจ้าพระยาจักรีเป็นสมุหนายก ควบคุมดูแล และเจ้าพระยามหาเสนาเป็นสมุหพระกลาโหม ดูแลทหาร เป็นการคานอำนาจซึ่งกันและกัน แต่ด้วยสมัยกรุงศรีอยุธยามีการศึกสงครามบ่อยครั้ง ภายหลังจึงแบ่งให้ทั้งสองฝ่ายคุมทั้งพลเรือนและทหาร เพื่อให้ง่ายแก่การดูแลรับผิดชอบ
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงปรารถว่า การจัดระเบียบแบบอยุธยานี้จะไม่เหมาะกับทุกสมัย จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงระบบราชการพลเรือนขึ้นใหม่ เรียกว่า "กอเวอนเมนต์ รีฟอร์ม” หรือ "การปฏิรูปรูประบบราชการ” โดยยกเลิกสมุห์ทั้งสอง เลิกระบบจตุสดมภ์ เวียง วัง คลัง นา เปลี่ยนมาตั้งเป็นกระทรวงแทน โดยมีการตั้งกระทรวงขึ้นมาใหม่ 12 กระทรวง มีเสนาบดีปกครองดูแล โดยเริ่มใช้ระบบนี้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2435 ซึ่งต่อมาในปี 2442 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งโรงเรียนผลิตคนป้อนเข้าสู่ระบบราชการ โดยแรกใช้ชื่อว่า "โรงเรียนมหาดเล็ก” จัดตั้งในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ซึ่งปัจจุบันคือ "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” นั่นเอง
ในปีพุทธศักราช 2471 ได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พุทธศักราช 2471 ขึ้น และประกาศใช้เมื่อ 1 เมษายน 2472 ต่อมา สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) ได้นำเสนอให้วันที่ 1 เมษายน ของทุกปีเป็นวันข้าราชการพลเรือน เนื่องจากตรงกับวันประกาศใช้พระราชบัญญัติ และเป็นการน้อมระลึกถึง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงวางรากฐานระเบียบข้าราชการพลเรือน ทุกกระทรวง ทบวง กรม ให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันข้าราชการพลเรือน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2523 เป็นต้นมา และเริ่มมีการจัดงานวันข้าราชการพลเรือน เพื่อยกย่องสดุดีข้าราชการดีเด่น ครั้งแรกเมื่อปี 2522 ในส่วนกลางมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ส่วนภูมิภาคจะมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน
ข้าราชการพลเรือนมีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยมีการแบ่งเป็นข้าราชการพลเรือน มีเจ้าพระยาจักรีเป็นสมุหนายก ควบคุมดูแล และเจ้าพระยามหาเสนาเป็นสมุหพระกลาโหม ดูแลทหาร เป็นการคานอำนาจซึ่งกันและกัน แต่ด้วยสมัยกรุงศรีอยุธยามีการศึกสงครามบ่อยครั้ง ภายหลังจึงแบ่งให้ทั้งสองฝ่ายคุมทั้งพลเรือนและทหาร เพื่อให้ง่ายแก่การดูแลรับผิดชอบ
ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงปรารถว่า การจัดระเบียบแบบอยุธยานี้จะไม่เหมาะกับทุกสมัย จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปรับปรุงระบบราชการพลเรือนขึ้นใหม่ เรียกว่า "กอเวอนเมนต์ รีฟอร์ม” หรือ "การปฏิรูปรูประบบราชการ” โดยยกเลิกสมุห์ทั้งสอง เลิกระบบจตุสดมภ์ เวียง วัง คลัง นา เปลี่ยนมาตั้งเป็นกระทรวงแทน โดยมีการตั้งกระทรวงขึ้นมาใหม่ 12 กระทรวง มีเสนาบดีปกครองดูแล โดยเริ่มใช้ระบบนี้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2435 ซึ่งต่อมาในปี 2442 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตั้งโรงเรียนผลิตคนป้อนเข้าสู่ระบบราชการ โดยแรกใช้ชื่อว่า "โรงเรียนมหาดเล็ก” จัดตั้งในพระบรมมหาราชวัง ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ซึ่งปัจจุบันคือ "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” นั่นเอง
ในปีพุทธศักราช 2471 ได้มีการตราพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พุทธศักราช 2471 ขึ้น และประกาศใช้เมื่อ 1 เมษายน 2472 ต่อมา สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.) ได้นำเสนอให้วันที่ 1 เมษายน ของทุกปีเป็นวันข้าราชการพลเรือน เนื่องจากตรงกับวันประกาศใช้พระราชบัญญัติ และเป็นการน้อมระลึกถึง พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงวางรากฐานระเบียบข้าราชการพลเรือน ทุกกระทรวง ทบวง กรม ให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันข้าราชการพลเรือน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2523 เป็นต้นมา และเริ่มมีการจัดงานวันข้าราชการพลเรือน เพื่อยกย่องสดุดีข้าราชการดีเด่น ครั้งแรกเมื่อปี 2522 ในส่วนกลางมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ส่วนภูมิภาคจะมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน
ส.ปชส.ยโสธร
ไพชยนต์ ชนะกาญจน์
25 มี.ค. 57
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น