จังหวัดสุรินทร์ โดยศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด ตำรวจภูธรจังหวัด และ เทศบาลเมืองสุรินทร์ ผสานความร่วมมือกับ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 3 เปิดโครงการชุมชนอุ่นใจได้ลูกหลานกลับคืน ในพื้นที่เฝ้าระวังสูงสุด เพื่อการปฏิบัติการปิดล้อม X-Ray เชิงรุกหยุดการแพร่ระบาดของยาเสพติด
วันที่ 25 มี.ค. 57 ที่ชุมชนเทศบาลอนุสรณ์ 2 เทศบาลเมืองสุรินทร์ นายยุทธนา วิริยะกิตติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ฐานะรองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด เป็นประธานเปิด " บ้านอุ่นใจ " ตามโครงการ " ชุมชนอุ่นใจได้ลูกหลานกลับคืน " ซึ่งเป็น 1 ในกรอบแนวคิดทางยุทธศาสตร์การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และเพื่อให้การดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นไปตามแผนปฏิบัติการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด ปี 2557 ในการควบคุมสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในพื้นที่เฝ้าระวัง โดยร่วมมือกับ ป.ป.ส.ภ.3 , ตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์ , เทศบาลเมืองสุรินทร์ และเครือข่ายภาคีในพื้นที่ ดำเนินโครงการ
สำนักงาน ป.ป.ส. จึงได้กำหนดให้มี " ปฏิบัติการ ปิดล้อม X-Ray เชิงรุก หยุดการแพร่ระบาด พื้นที่เฝ้าระวังสูงสุด 50 หมู่บ้าน/ชุมชนทั่วประเทศ " ครอบคลุม 33 จังหวัด ที่ต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน โดยใช้แนวคิดการดำเนินงานตามโครงการ " ชุมชนอุ่นใจ ได้ลูกหลานกลับคืน " ซึ่ง สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 3 (ป.ป.ส.ภ.3) ได้ใช้พื้นที่ในเขตรับผิดชอบ 5 จังหวัด ประกอบด้วย นครราชสีมา ยโสธร สุรินทร์ ศรีสะเกษ และ อุบลราชธานี จำนวน 5 หมู่บ้าน/ชุมชน ทั้งนี้จังหวัดสุรินทร์ได้เลือก "ชุมชนเทศบาลอนุสรณ์ 2 " เป็นพื้นที่เป้าหมายเฝ้าระวังสูงสุด และเป็นต้นแบบในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดให้ขยายออกไปยังชุมชนข้างเคียง และ ทั่วไป
ปฏิบัติการ ปิดล้อม X-Ray เชิงรุก หยุดการแพร่ระบาด พื้นที่เฝ้าระวังสูงสุด มีขั้นตอนสำคัญ 4 ขั้นตอน คือ 1.เปิด " บ้านอุ่นใจ " เป็นศูนย์ปฏิบัติการตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อบูรณาการเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการในเชิงรุก 2.จัด " สายตรวจอุ่นใจ " ซึ่งเป็นชุดทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครในการตรวจตราเฝ้าระวังจุดล่อแหลมและการมั่วสุม 3.พัฒนาสภาพแวดล้อมโดยรอบ ทั้ง " วัด บ้าน โรงเรียน " สร้างปรับปรุงลานกีฬาต้านยาเสพติด 4.กระบวนการสร้างความร่วมมือของคนในชุมชน เพื่อต่อยอดให้เป็น " ชุมชนเข้มแข็ง " และ " ชุมชนสีขาว " ต่อไป
นายยุทธนา วิริยะกิตติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า สำหรับโครงการ บ้านอุ่นใจ ได้รับการประสานจาก ป.ป.ส.ภ.3 พิจารณาคัดเลือกให้ชุมชนเทศบาลอนุสรณ์ 2 ของเทศบาลเมืองสุรินทร์ ให้เป็นชุมชนที่ดำเนินเปิดให้เป็นศูนย์ต้นแบบ ในการที่จะเอาชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องยาเสพติด ซึ่งเป็น 1 ในยุทธศาสตร์การทำงาน โดยเฉพาะพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด การเข้ามาในพื้นที่จะต้องเริ่มตั้งแต่การ X-Ray ดูสภาพปัญหาโดยทั่วไป ซึ่งก็ได้มีการปิดล้อมตรวจค้นชุมชนแห่งนี้ และจับกุม ควบคุมตัว บุคคลเป้าหมายได้หลายราย ทั้งผู้เสพและผู้ค้า นำไปบำบัดและดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป ส่วนที่เหลือตอนนี้ คือการพัฒนาต่อยอดโดยใช้แนวคิดเรื่อง วัด บ้าน โรงเรียน เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา โดยจะให้ชุมชนเป็นแกน เพื่อไปสู่ชุมชนนำร่องขยายไปสู่ชุมชนอื่นๆต่อไป
นายธนธัช รุ่งธนเกียรติ รองนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองสุรินทร์ เผยว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่มาจากแนวคิดของนายวรรธนินทร์ ตั้งทวีสิทธิ์ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองสุรินทร์ ที่ต้องการจะคืนลูกหลานสู่สังคม คือ ความรู้ คู่คุณธรรม โดยการที่จะเอาความรู้เข้ามาปรับเด็กที่อยู่ในชุมชนแออัด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาคดีอาชญากรรม ปัญหายาเสพติด ซึ่งก็ได้รับการช่วยเหลือจาก ป.ป.ส.ภ.3 จังหวัดสุรินทร์ และ หน่วยงานภาคีต่างๆ โดยใช้ชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนริเริ่ม และขยายสู่ชุมชนอื่นๆที่มีสภาพปัญหาใกล้เคียงกัน โดยเทศบาลเมืองสุรินทร์ ก็ได้ทุ่มทั้งเงินและบุคลากร เข้ามาพัฒนาสิ่งต่างๆในชุมชน เพื่อให้ประชากรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อให้ห่างไกลจากปัญหาอาชญากรรมและยาเสพติด
วันที่ 25 มี.ค. 57 ที่ชุมชนเทศบาลอนุสรณ์ 2 เทศบาลเมืองสุรินทร์ นายยุทธนา วิริยะกิตติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ฐานะรองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด เป็นประธานเปิด " บ้านอุ่นใจ " ตามโครงการ " ชุมชนอุ่นใจได้ลูกหลานกลับคืน " ซึ่งเป็น 1 ในกรอบแนวคิดทางยุทธศาสตร์การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด และเพื่อให้การดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดเป็นไปตามแผนปฏิบัติการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด ปี 2557 ในการควบคุมสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในพื้นที่เฝ้าระวัง โดยร่วมมือกับ ป.ป.ส.ภ.3 , ตำรวจภูธรจังหวัดสุรินทร์ , เทศบาลเมืองสุรินทร์ และเครือข่ายภาคีในพื้นที่ ดำเนินโครงการ
สำนักงาน ป.ป.ส. จึงได้กำหนดให้มี " ปฏิบัติการ ปิดล้อม X-Ray เชิงรุก หยุดการแพร่ระบาด พื้นที่เฝ้าระวังสูงสุด 50 หมู่บ้าน/ชุมชนทั่วประเทศ " ครอบคลุม 33 จังหวัด ที่ต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน โดยใช้แนวคิดการดำเนินงานตามโครงการ " ชุมชนอุ่นใจ ได้ลูกหลานกลับคืน " ซึ่ง สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภาค 3 (ป.ป.ส.ภ.3) ได้ใช้พื้นที่ในเขตรับผิดชอบ 5 จังหวัด ประกอบด้วย นครราชสีมา ยโสธร สุรินทร์ ศรีสะเกษ และ อุบลราชธานี จำนวน 5 หมู่บ้าน/ชุมชน ทั้งนี้จังหวัดสุรินทร์ได้เลือก "ชุมชนเทศบาลอนุสรณ์ 2 " เป็นพื้นที่เป้าหมายเฝ้าระวังสูงสุด และเป็นต้นแบบในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดให้ขยายออกไปยังชุมชนข้างเคียง และ ทั่วไป
ปฏิบัติการ ปิดล้อม X-Ray เชิงรุก หยุดการแพร่ระบาด พื้นที่เฝ้าระวังสูงสุด มีขั้นตอนสำคัญ 4 ขั้นตอน คือ 1.เปิด " บ้านอุ่นใจ " เป็นศูนย์ปฏิบัติการตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อบูรณาการเจ้าหน้าที่ในการปฏิบัติการในเชิงรุก 2.จัด " สายตรวจอุ่นใจ " ซึ่งเป็นชุดทำงานร่วมกับเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครในการตรวจตราเฝ้าระวังจุดล่อแหลมและการมั่วสุม 3.พัฒนาสภาพแวดล้อมโดยรอบ ทั้ง " วัด บ้าน โรงเรียน " สร้างปรับปรุงลานกีฬาต้านยาเสพติด 4.กระบวนการสร้างความร่วมมือของคนในชุมชน เพื่อต่อยอดให้เป็น " ชุมชนเข้มแข็ง " และ " ชุมชนสีขาว " ต่อไป
นายยุทธนา วิริยะกิตติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า สำหรับโครงการ บ้านอุ่นใจ ได้รับการประสานจาก ป.ป.ส.ภ.3 พิจารณาคัดเลือกให้ชุมชนเทศบาลอนุสรณ์ 2 ของเทศบาลเมืองสุรินทร์ ให้เป็นชุมชนที่ดำเนินเปิดให้เป็นศูนย์ต้นแบบ ในการที่จะเอาชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการที่จะแก้ไขปัญหาเรื่องยาเสพติด ซึ่งเป็น 1 ในยุทธศาสตร์การทำงาน โดยเฉพาะพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด การเข้ามาในพื้นที่จะต้องเริ่มตั้งแต่การ X-Ray ดูสภาพปัญหาโดยทั่วไป ซึ่งก็ได้มีการปิดล้อมตรวจค้นชุมชนแห่งนี้ และจับกุม ควบคุมตัว บุคคลเป้าหมายได้หลายราย ทั้งผู้เสพและผู้ค้า นำไปบำบัดและดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป ส่วนที่เหลือตอนนี้ คือการพัฒนาต่อยอดโดยใช้แนวคิดเรื่อง วัด บ้าน โรงเรียน เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา โดยจะให้ชุมชนเป็นแกน เพื่อไปสู่ชุมชนนำร่องขยายไปสู่ชุมชนอื่นๆต่อไป
นายธนธัช รุ่งธนเกียรติ รองนายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองสุรินทร์ เผยว่า โครงการนี้เป็นโครงการที่มาจากแนวคิดของนายวรรธนินทร์ ตั้งทวีสิทธิ์ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองสุรินทร์ ที่ต้องการจะคืนลูกหลานสู่สังคม คือ ความรู้ คู่คุณธรรม โดยการที่จะเอาความรู้เข้ามาปรับเด็กที่อยู่ในชุมชนแออัด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาคดีอาชญากรรม ปัญหายาเสพติด ซึ่งก็ได้รับการช่วยเหลือจาก ป.ป.ส.ภ.3 จังหวัดสุรินทร์ และ หน่วยงานภาคีต่างๆ โดยใช้ชุมชนแห่งนี้เป็นชุมชนริเริ่ม และขยายสู่ชุมชนอื่นๆที่มีสภาพปัญหาใกล้เคียงกัน โดยเทศบาลเมืองสุรินทร์ ก็ได้ทุ่มทั้งเงินและบุคลากร เข้ามาพัฒนาสิ่งต่างๆในชุมชน เพื่อให้ประชากรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อให้ห่างไกลจากปัญหาอาชญากรรมและยาเสพติด
ส.ปชส.สุรินทร์ กำชัย วันสุข / ข่าว
ไวยวิทย์ สุขเก่า / ภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น