นายนิรันดร์ กัลยาณมิตร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ ประชุมร่วมกับคณะกรรมการสมโภชศาลหลักเมืองสุรินทร์ ที่ห้องประชุมชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ เพื่อเตรียมจัดงานสมโภชศาลหลักเมืองสุรินทร์หลังใหม่ ระหว่างวันที่ 14-18 พฤษภาคม 2557 รวม 5 วัน โดยมีพระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณ เป็นประธานพระครูพราหมณ์ดำเนินการจัดพิธีสมโภช ซึ่งจะมีการจัดขบวนแห่เสาหลักเมือง และดินสำคัญ 4 มุมเมือง เพื่อเตรียมอัญเชิญลงหลุม การเจริญพระพุทธมนต์ พิธีบวงสรวงเทพเทวา และในโอกาสนี้จะได้นำวัตถุมงคล รุ่นบูรณะศาลหลักเมืองสุรินทร์ ที่ยังเหลือจากการจำหน่าย เช่น พระผงจอมสุรินทร์ เหรียญจอมสุรินทร์ พระชัยวัฒน์จอมสุรินทร์ และเหรียญหลักเมืองลงยา ให้ประชาชนได้เช่าบูชาด้วย สำหรับศาลหลักเมืองจังหวัดสุรินทร์ หลักเมืองสุรินทร์สร้างขึ้นเมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฏ แต่คงจะสร้างพร้อมกับการตั้งเมืองสุรินทร์ เนื่องจากตามประเพณีโบราณ การสร้างเมืองสำคัญจะต้องมีพิธียกเสาหลักเมืองก่อน อย่างเช่นการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อจะสร้างปราสาทราชมณเฑียรก็ได้มีการประกอบพระราชพิธียกเสาหลักเมืองก่อน "คุณฉลอง กองสุข” ซึ่งมีบ้านเรือนอยู่ใกล้กับศาลหลักเมือง เล่าว่า "เมื่อประมาณปี พ.ศ.2470 เสาหลักเมืองนั้นผุพังไปนานแล้ว ส่วนศาลหลักเมืองเป็นอาคารไม้ หลังคามุงด้วยสังกะสี หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ทางด้านหลัง (คือทิศตะวันตก) มีสระน้ำอยู่สระหนึ่งเรียกว่า "ซร๊ะตาละ” ทางด้านเหนือ มีลำน้ำเล็กๆ สายหนึ่ง (ปัจจุบันถูกถมทำเป็นถนนหลักเมือง) ศาลหลักเมืองแวดล้อมด้วยต้นตาล 8 ต้น และต้นไม้ใหญ่อื่นๆ ครึ้มและร่มรื่นมาก จนไม่ค่อยมีผู้ใดกล้าย่างกรายเข้าไปใกล้ ในปี พ.ศ.2511
ทั้งนี้ ทางจังหวัดสุรินทร์ได้ดำเนินการก่อสร้างศาลหลักเมืองขึ้นใหม่ โดยกรมศิลปากรได้ออกแบบเป็นศาลรูปปราสาทยอดปรางค์ ซึ่งมีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมขอมประยุกต์ ชาวสุรินทร์ได้ร่วมกันบริจาคเงินเพื่อการก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น 337,557 บาท ต่อมาวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเจิมเสาหลักเมืองสุรินทร์ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต พร้อมกับมีพระราชดำรัสแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดและคณะที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทว่า "การสร้างเสาหลักเมืองนี้ดี เป็นหลักแห่งความสามัคคี ขอให้ชาวสุรินทร์จงมีความสามัคคีกัน สร้างความเจริญให้ก้าวหน้า และขอให้ชาวสุรินทร์จงมีความร่มเย็นเป็นสุข”
ทั้งนี้ ทางจังหวัดสุรินทร์ได้ดำเนินการก่อสร้างศาลหลักเมืองขึ้นใหม่ โดยกรมศิลปากรได้ออกแบบเป็นศาลรูปปราสาทยอดปรางค์ ซึ่งมีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมขอมประยุกต์ ชาวสุรินทร์ได้ร่วมกันบริจาคเงินเพื่อการก่อสร้างเป็นเงินทั้งสิ้น 337,557 บาท ต่อมาวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเจิมเสาหลักเมืองสุรินทร์ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต พร้อมกับมีพระราชดำรัสแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดและคณะที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทว่า "การสร้างเสาหลักเมืองนี้ดี เป็นหลักแห่งความสามัคคี ขอให้ชาวสุรินทร์จงมีความสามัคคีกัน สร้างความเจริญให้ก้าวหน้า และขอให้ชาวสุรินทร์จงมีความร่มเย็นเป็นสุข”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น