ชาวบ้านรวมกลุ่มรับตีเหล็ก สืบทอดภูมิปัญญาที่บรรพบุรุษมอบให้จากรุ่นสู่รุ่น จนได้รับการคัดเลือกให้เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เป็นที่ยอมรับจากผู้ใช้ว่ามีคุณภาพและราคาไม่สูงเกินไป สามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัวได้เป็นอย่างดี
วันนี้ (20 มี.ค. 57) เรื่องราวของภูมิปัญญาการตีเหล็กของชาวบ้าน บ้านโพธิ์งาม หมู่ที่ 4 ต. เป็นสุข อ. จอมพระ จ. สุรินทร์ ที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษสืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่น ซึ่งเดิมทีชาวบ้านในหมู่บ้านโพธิ์งาม จะมีการเดินออกรับงานตีเหล็กตามหมู่บ้านต่างๆ เพื่อรับซ่อมแซมเครื่องใช้ต่างๆ เช่น มีดหมดคม จอบ เสียม และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อให้กลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม โดยใช้เวลาในการออกรับจ้างเป็นเดือนๆ และจะพักกินข้าวตามวัด และจะเดินทางต่อไปเรื่อยๆ จนถึงฤดูกาลทำนาจึงจะกลับบ้านกัน เพื่อทำนาทำไร่กันอีกครั้ง หลังจากเสร็จสิ้นการทำนาแล้วก็พากันออกรับจ้างกันต่อทำอย่างนี้กันเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ.2522 จึงได้มีการรวมกลุ่มกันเพื่อรับตีเหล็กกันที่บ้านของตัวเองจนถึงปัจจุบัน และด้วยความชำนาญ มีฝีมือที่ประณีตจึงได้รับการคัดเลือกให้เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์เป็นที่ยอมรับจากผู้ใช้ว่ามีคุณภาพและราคาไม่สูงเกินไป
สำหรับลักษณะที่โดดเด่นของผลิตภัณฑ์ของกลุ่มตีเหล็กบ้านโพธิ์งาม คือเน้นความประณีตและคุณภาพ เหล็กที่นำมาใช้ตีเป็นผลิตภัณฑ์ต้องใช้แต่เหล็กแหนบเท่านั้น เนื่องจากมีความแข็งแกร่งและทนทาน และจะมีวิธีการตีโดยอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดจากพรรพบุรุษจึงทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพแต่ราคาถูกกว่าท้องตลาด
นายเภา จินดาศรี ประธานกลุ่มตีเหล็กบ้านโพธิ์งาม กล่าวว่า ทุกๆปีหลังจากเสร็จสิ้นฤดูกาลทำนา ชาวบ้านโพธิ์งาม จะมารวมกลุ่มเพื่อตีเหล็ก จนถึงฤดูกาลทำนาครั้งต่อไปมาถึง ก็จะพากันกลับไปทำนาต่อ โดยไม่ต้องไปหารับจ้างยังต่างจังหวัด ซึ่งผลิตภัณฑ์ตีเหล็กของที่นี่จะมีลูกค้ามารับถึงที่ จะมีออร์เดอร์มาสั่งในแต่ละเจ้า ประมาณ 20-40เล่ม จนช่วงนี้ทำไม่ทัน ส่วนสินค้าที่สั่งก็มีพวก มีด ตะแวว จอบ เสียม ขวาน มีดตอก ตะขอช้าง และพวกผลิตภัณฑ์ตามสั่งต่างๆ
กลุ่มตีเหล็กบ้านโพธิ์งาม นับว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้รับการสืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่น และเป็นฝีมือแรงงาน คือคนในชุมน จึงทำให้มีความผูกพันเหมือนเป็นญาติพี่น้อง มีการรวมกลุ่มกันเพื่อทำในสิ่งที่บรรพบุรุษให้มา สิ่งที่ได้รับกลับคืนมาคือรายได้ ที่จะมาจุนเจือเลี้ยงกับครอบครัว และที่สำคัญไม่ต้องไปหางานทำในต่างจังหวัด ทำให้ได้อยู่กับครอบครัวสร้างความเข้มแข็งและครอบครัวอบอุ่น อีกทั้งได้ร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาการตีเหล็กให้คงอยู่ในชุมชนสืบต่อไป
วันนี้ (20 มี.ค. 57) เรื่องราวของภูมิปัญญาการตีเหล็กของชาวบ้าน บ้านโพธิ์งาม หมู่ที่ 4 ต. เป็นสุข อ. จอมพระ จ. สุรินทร์ ที่ได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษสืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่น ซึ่งเดิมทีชาวบ้านในหมู่บ้านโพธิ์งาม จะมีการเดินออกรับงานตีเหล็กตามหมู่บ้านต่างๆ เพื่อรับซ่อมแซมเครื่องใช้ต่างๆ เช่น มีดหมดคม จอบ เสียม และเครื่องมืออื่นๆ เพื่อให้กลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม โดยใช้เวลาในการออกรับจ้างเป็นเดือนๆ และจะพักกินข้าวตามวัด และจะเดินทางต่อไปเรื่อยๆ จนถึงฤดูกาลทำนาจึงจะกลับบ้านกัน เพื่อทำนาทำไร่กันอีกครั้ง หลังจากเสร็จสิ้นการทำนาแล้วก็พากันออกรับจ้างกันต่อทำอย่างนี้กันเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ.2522 จึงได้มีการรวมกลุ่มกันเพื่อรับตีเหล็กกันที่บ้านของตัวเองจนถึงปัจจุบัน และด้วยความชำนาญ มีฝีมือที่ประณีตจึงได้รับการคัดเลือกให้เป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์เป็นที่ยอมรับจากผู้ใช้ว่ามีคุณภาพและราคาไม่สูงเกินไป
สำหรับลักษณะที่โดดเด่นของผลิตภัณฑ์ของกลุ่มตีเหล็กบ้านโพธิ์งาม คือเน้นความประณีตและคุณภาพ เหล็กที่นำมาใช้ตีเป็นผลิตภัณฑ์ต้องใช้แต่เหล็กแหนบเท่านั้น เนื่องจากมีความแข็งแกร่งและทนทาน และจะมีวิธีการตีโดยอาศัยภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดจากพรรพบุรุษจึงทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพแต่ราคาถูกกว่าท้องตลาด
นายเภา จินดาศรี ประธานกลุ่มตีเหล็กบ้านโพธิ์งาม กล่าวว่า ทุกๆปีหลังจากเสร็จสิ้นฤดูกาลทำนา ชาวบ้านโพธิ์งาม จะมารวมกลุ่มเพื่อตีเหล็ก จนถึงฤดูกาลทำนาครั้งต่อไปมาถึง ก็จะพากันกลับไปทำนาต่อ โดยไม่ต้องไปหารับจ้างยังต่างจังหวัด ซึ่งผลิตภัณฑ์ตีเหล็กของที่นี่จะมีลูกค้ามารับถึงที่ จะมีออร์เดอร์มาสั่งในแต่ละเจ้า ประมาณ 20-40เล่ม จนช่วงนี้ทำไม่ทัน ส่วนสินค้าที่สั่งก็มีพวก มีด ตะแวว จอบ เสียม ขวาน มีดตอก ตะขอช้าง และพวกผลิตภัณฑ์ตามสั่งต่างๆ
กลุ่มตีเหล็กบ้านโพธิ์งาม นับว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้รับการสืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่น และเป็นฝีมือแรงงาน คือคนในชุมน จึงทำให้มีความผูกพันเหมือนเป็นญาติพี่น้อง มีการรวมกลุ่มกันเพื่อทำในสิ่งที่บรรพบุรุษให้มา สิ่งที่ได้รับกลับคืนมาคือรายได้ ที่จะมาจุนเจือเลี้ยงกับครอบครัว และที่สำคัญไม่ต้องไปหางานทำในต่างจังหวัด ทำให้ได้อยู่กับครอบครัวสร้างความเข้มแข็งและครอบครัวอบอุ่น อีกทั้งได้ร่วมกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาการตีเหล็กให้คงอยู่ในชุมชนสืบต่อไป
อุทัย มานาดี / รายงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น