วันอังคารที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2557

ปภ.โคราช เตือนระมัดระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน ขณะที่ มีบ้านเรือนราษฎรได้รับความเสียหายจากพายุฤดูร้อนกว่า2พันหลัง

วันนี้( ๒๙ เมษายน ๒๕๕๗) เวลา 09.00 น. นายกฤชเพชร เพชระบูรณิน หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ติดตามสถานการณ์ จากกรมอุตุนิยมวิทยาเรื่อง พายุฤดูร้อน บริเวณความกดอากาศสูงค่อนข้างแรงยังคงแผ่มาปกคลุมประเทศไทยตอนบนต่อเนื่องจนถึงวันที่ ๓๐ เมษายน ๒๕๕๗ ลักษณะเช่นนี้จะทำให้บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น ซึ่งจะส่งผลทำให้ฝนฟ้าคะนองมีลมกรรโชคแรง และอาจมีลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่ จึงขอให้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาระวังอันตรายจากพายุลมแรงที่จะเกิดขึ้น ซึ่งอาจสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สิน จังหวัดนครราชสีมา จึงขอแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ให้ระมัดระวังอันตรายอันเกิดจากฝนฟ้าคะนองลมกระโชกแรงและอาจมีลูกเห็บตกได้ในบางพื้นที่ เพื่อเป็นการเตรียมการป้องกันและระมัดระวังอันตรายที่เกิดจากภัยธรรมชาติในระยะ ๑ - ๒ วันนี้ (๒๙ - ๓๐ เมษายน 255๗ ) ผ่านทางวิทยุกระจายเสียงประจำท้องถิ่น เสียงตามสาย หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน "มิสเตอร์เตือนภัย”และเครือข่ายวิทยุสมัครเล่นในพื้นที่ ควรดูแลบ้านเรือนสิ่งปลูกสร้างบริเวณรอบบ้านให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง สำรวจต้นไม้บริเวณรอบบ้าน หากมีต้นไม้ใกล้ล้ม ควรโค่นทิ้ง สำหรับต้นไม้ที่มีกิ่งไม้ใบไม้มากและไม่แข็งแรง ควรตัดกิ่งทิ้งและลิดใบออก ในขณะที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกรรโชคแรง ควรหลบอยู่ในอาคารที่มั่นคงแข็งแรง ไม่ควรหลบใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งก่อสร้าง ป้ายโฆษณา เพราะเสี่ยงต่อการถูกล้มทับ หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องมือสื่อสารและโทรศัพท์มือถือหรือสวมใส่อุปกรณ์ที่เป็นสื่อนำไฟฟ้า ทั้งเงิน ทองแดง นาก ในที่โล่งแจ้งเพราะจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดฟ้าผ่า หากพบป้ายโฆษณาไม่ได้มาตรฐานให้แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อดำเนินการแก้ไขที่สำคัญ ควรติดตามพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้สำหรับประชาชนซึ่งได้รับความเดือดร้อนสามารถแจ้งเหตุสาธารณภัยได้ที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครราชสีมา ๐๔๔-๒๔๒๒๓๐ , 044-242131 , 044-242280 หรือสายด่วน 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง

ในส่วนของสถานการณ์วาตภัยในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ได้รับการประสานข้อมูลจากอำเภอส่งรายงานเหตุด่วนสาธารณภัยมีรายละเอียดดังนี้ ซึ่งขณะนี้มีอำเภอทีประสบภัยแล้วจำนวน ๒๕ อำเภอ ๘๙ ตำบล ๒๓๔ หมู่บ้าน ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ๔,๒๗๐ คน ๑,๘๘๗ ครัวเรือน ที่อยู่อาศัย ๑,๘๒๖ หลัง ยุ้งข้าว ๙๐ หลัง คอกสัตว์ ๗๘ หลัง สถานที่ราชการ ๑ หลัง วัด ๑ หลัง มูลค่าความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น