มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.)
และสมาคมเรือพายแห่งประเทศไทย
ทำพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนาศักยภาพนักกีฬาเรือพายทีมชาติ
ไทย สู่ความเป็นเลิศในระดับสากล ระยะที่ 2
หลังประสบความสำเร็จจากการใช้วิทยาศาสตร์การกีฬาพัฒนาทีมนักกีฬาไทยสร้าง
ชื่อในกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 21 ณ ประเทศอินโดนีเซีย
สำหรับความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาเกี่ยวกับกีฬา เรือพาย การพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ให้แก่บุคลากรวงการกีฬาเรือพาย นั้นเป็นการเผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาซึ่งเป็นหลักสูตรการเรียน การสอนในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ของ มทส. ให้แพร่หลายยิ่งขึ้น โดยนักกีฬาเรือพายที่มาเก็บตัวที่ มทส.นี้ ทาง มทส. จะจัดการเรียนการสอน จัดอบรม จัดหาวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญมาถ่ายทอดความรู้ให้ อีกทั้งจะร่วมระดมสรรพกำลังและทรัพยากรที่มีอยู่ของทั้งสององค์กรผลิต บุคลากรที่มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาไว้รองรับความต้องการในการพัฒนา วงการกีฬาเรือพายต่อไปด้วย รวมทั้งการนำวิทยาศาสตร์การกีฬาเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์มา ใช้ในการพัฒนากีฬาเรือพายสู่ความเป็นเลิศในระดับสากล ทั้งนี้ตั้งเป้าหมายในการคว้าเหรียญทองเหรียญแรกของประเทศไทยในการแข่งขัน กีฬาโอลิมปิก 2016 ณ นครริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล
ศาสตราจารย์ ดร.ประสาท สืบค้า
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และ พลเรือเอกพลวัฒน์ สิโรดม
นายกสมาคมเรือพายแห่งประเทศไทย
ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ เมื่อวานนี้ (28 พฤษภาคม
2556) ที่ อาคารบริหาร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
ศาสตราจารย์ ดร.ประสาท สืบค้า
อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) กล่าวว่า
ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีกับสมาคมเรือพายแห่งประเทศ
ไทยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิทยาศาสตร์การกีฬา
เสริมสร้างขีดสมรรถนะของนักกีฬาเรือพาย
และสนับสนุนกิจกรรมของสมาคมเรือพายแห่งประเทศไทยให้มีการพัฒนาในภาพรวม
ครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
กับสมาคมเรือพายแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2
โดยครั้งแรกได้ดำเนินการลงนามข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการไปแล้วเมื่อวัน
ที่ 16 มกราคม 2554
และมีการเก็บตัวฝึกซ้อมของนักกีฬาเรือพายอยู่ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุ
รนารีเป็นระยะเวลา 8 เดือน
โดยนำหลักวิทยาศาสตร์การกีฬามาใช้พัฒนานักกีฬาเรือพายให้มีความสมบูรณ์และ
ความพร้อมในการแข่งขันกีฬาอย่างเต็มรูปแบบ
ซึ่งจากการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 21 ณ ประเทศอินโดนีเซีย
นักกีฬาเรือพายทีมชาติไทยสามารถคว้าเหรียญรางวัลมาได้ถึง 8 เหรียญทอง 7
เหรียญเงินและ 11 เหรียญทองแดง
นับเป็นความสำเร็จสูงสุดของกีฬาเรือพายของประเทศไทย
และในความร่วมมือครั้งที่ 2
นี้ได้ตั้งความหวังเหรียญทองในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2016 ณ นครรีโอ เดอ
จาเนโร ประเทศบราซิล มากกว่าเดิม
สำหรับความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาเกี่ยวกับกีฬา เรือพาย การพัฒนาบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์การกีฬา ให้แก่บุคลากรวงการกีฬาเรือพาย นั้นเป็นการเผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาซึ่งเป็นหลักสูตรการเรียน การสอนในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ ของ มทส. ให้แพร่หลายยิ่งขึ้น โดยนักกีฬาเรือพายที่มาเก็บตัวที่ มทส.นี้ ทาง มทส. จะจัดการเรียนการสอน จัดอบรม จัดหาวิทยากรผู้มีความเชี่ยวชาญมาถ่ายทอดความรู้ให้ อีกทั้งจะร่วมระดมสรรพกำลังและทรัพยากรที่มีอยู่ของทั้งสององค์กรผลิต บุคลากรที่มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาไว้รองรับความต้องการในการพัฒนา วงการกีฬาเรือพายต่อไปด้วย รวมทั้งการนำวิทยาศาสตร์การกีฬาเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์มา ใช้ในการพัฒนากีฬาเรือพายสู่ความเป็นเลิศในระดับสากล ทั้งนี้ตั้งเป้าหมายในการคว้าเหรียญทองเหรียญแรกของประเทศไทยในการแข่งขัน กีฬาโอลิมปิก 2016 ณ นครริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น