นายวิเชียร จันทรโณทัย รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ กล่าวว่า ช่วงนี้จังหวัดสุรินทร์มีฝนตก ชาวบ้านจึงนิยมไปเก็บเห็ดขายหรือนำมารับประทาน จังหวัดสุรินทร์จึงขอเตือนประชาชนอย่ารับประทานเห็ดที่ไม่รู้จักชนิด เห็ดที่เกิดใกล้มูลสัตว์ อย่ากินเห็ดสดๆ โดยไม่นำไปปรุงให้สุกก่อนหรือเก็บเห็ดหลายชนิดมาปรุงรวมกัน และอย่ารับประทานเห็ดพร้อมกับดื่มสุรา เพราะอาจเป็นพิษต่อร่างกายและเสียชีวิตได้
ทั้งนี้ หน้าฝนมักมีเห็ดซึ่งเป็นอาหารตามธรรมชาติ รวมทั้งอาจมีเห็ดพิษที่คนรับประทานเข้าไปแล้วทำให้มีอาการป่วย เช่น เห็ดพิษในกลุ่มที่เป็นพิษต่อระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง กลุ่มอาการพิษคล้ายเมาสุราค้าง ถ้ากินเห็ดแกล้มเหล้าผู้ได้รับพิษจะมีอาการหน้าแดง ใจสั่น หายใจหอบ เจ็บหน้าอก ชาตามตัว กลุ่มพิษต่อระบบประสาท ผู้ป่วยจะรู้สึกเคลิบเคลิ้ม และประสาทหลอน มึนเมา ทำให้มีอาการผิดปกติทางจิต กลุ่มพิษต่อตับ ไต ผู้ป่วยอาจไตวาย หัวใจวาย ชัก และอาจถึงแก่ชีวิตได้ สำหรับข้อแนะนำในการในการรับประทานเห็ดให้ปลอดภัย ได้แก่ อย่าบริโภคเห็ดสด เพราะเห็ดบางชนิดพิษจะถูกทำลายเมื่อได้รับความร้อน เห็ดที่มีวงแหวน เห็ดมีปลอกหุ้มโคน เห็ดมีก้านป่องเป็นกระเปาะ เห็ดที่มีเกล็ดอยู่บนหมวกดอก เห็ดที่มีรูปร่างคล้ายสมองและอานม้า หรือเห็ดที่ไม่รู้จัก เพราะอาจถึงตายได้หากเป็นเห็ดพิษ รวมทั้งอย่าบริโภคเห็ดที่ขึ้นอยู่ใกล้มูลวัว มูลควาย ไม่ควรปรุงอาหารโดยใช้เห็ดป่าหลายชนิดรวมกัน เพราะอาจเกิดพิษต่อร่างกายโดยไม่ทราบว่าเห็ดชนิดใดเป็นพิษ และไม่ควรเก็บเห็ดในบริเวณที่มีสารพิษตกค้างมารับประทาน ในการช่วยเหลือหากผู้ป่วยรับประทานเห็ดมีพิษเข้าไป คือ ต้องทำให้ผู้ป่วยอาเจียนออกมาให้หมด เพื่อลดการดูดซึมพิษเข้าร่างกาย แล้วรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลใกล้บ้านทันที
ทั้งนี้ หน้าฝนมักมีเห็ดซึ่งเป็นอาหารตามธรรมชาติ รวมทั้งอาจมีเห็ดพิษที่คนรับประทานเข้าไปแล้วทำให้มีอาการป่วย เช่น เห็ดพิษในกลุ่มที่เป็นพิษต่อระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วง กลุ่มอาการพิษคล้ายเมาสุราค้าง ถ้ากินเห็ดแกล้มเหล้าผู้ได้รับพิษจะมีอาการหน้าแดง ใจสั่น หายใจหอบ เจ็บหน้าอก ชาตามตัว กลุ่มพิษต่อระบบประสาท ผู้ป่วยจะรู้สึกเคลิบเคลิ้ม และประสาทหลอน มึนเมา ทำให้มีอาการผิดปกติทางจิต กลุ่มพิษต่อตับ ไต ผู้ป่วยอาจไตวาย หัวใจวาย ชัก และอาจถึงแก่ชีวิตได้ สำหรับข้อแนะนำในการในการรับประทานเห็ดให้ปลอดภัย ได้แก่ อย่าบริโภคเห็ดสด เพราะเห็ดบางชนิดพิษจะถูกทำลายเมื่อได้รับความร้อน เห็ดที่มีวงแหวน เห็ดมีปลอกหุ้มโคน เห็ดมีก้านป่องเป็นกระเปาะ เห็ดที่มีเกล็ดอยู่บนหมวกดอก เห็ดที่มีรูปร่างคล้ายสมองและอานม้า หรือเห็ดที่ไม่รู้จัก เพราะอาจถึงตายได้หากเป็นเห็ดพิษ รวมทั้งอย่าบริโภคเห็ดที่ขึ้นอยู่ใกล้มูลวัว มูลควาย ไม่ควรปรุงอาหารโดยใช้เห็ดป่าหลายชนิดรวมกัน เพราะอาจเกิดพิษต่อร่างกายโดยไม่ทราบว่าเห็ดชนิดใดเป็นพิษ และไม่ควรเก็บเห็ดในบริเวณที่มีสารพิษตกค้างมารับประทาน ในการช่วยเหลือหากผู้ป่วยรับประทานเห็ดมีพิษเข้าไป คือ ต้องทำให้ผู้ป่วยอาเจียนออกมาให้หมด เพื่อลดการดูดซึมพิษเข้าร่างกาย แล้วรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลใกล้บ้านทันที
กัญญรัตน์ เกียรติสุภา ส.ปชส.สุรินทร์ /ข่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น