ตำบลภูดิน อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ รวมกลุ่มร้องขอต่อยอดโครงการจัดหาแหล่งน้ำช่วยเหลือราษฎร นิคมสร้างตนเองลำปาว อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยผ่านศูนย์ประสานงานสามัคคีธรรมแห่งที่ ๓ จังหวัดกาฬสินธุ์ของพระอาจารย์สำเร็จ ธีระธรรมโม เพื่อให้พระอาจารย์ติดตามงานขอความช่วยเหลือ
นายอุดมชัย ชมเชี่ยวชาญ อดีตนายกเทศมนตรี ตำบลภูดิน ได้กล่าวว่า ราษฎรตำบลภูดิน อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ เป็นกลุ่มบุคคลที่ได้รับผลกระทบจาการสร้างเขื่อนลำปาวที่ต้องอพยพเข้ามาอยู่ในเขตนิคมสร้างตนเองลำปาว โดยทางราชการจัดสรรที่ทำกินให้คน ครัวเรือนละ ๑๓ ไร่ ที่อยู่อาศัยครอบครัวละ ๒ ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ดอนขาดแหล่งน้ำและความอุดมสมบูรณ์ ต่อมาประมาณปี ๒๕๕2 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้รับโครงการจัดหาแหล่งน้ำช่วยเหลือราษฎร นิคมสร้างตนเองลำปาวไว้ในพระราชดำริ โดยให้กรมชลประทานวางแนวทางการช่วยเหลือไว้ ๓ แนวทาง คือ ให้ขุดลอกหนองน้ำธรรมชาติที่มีอยู่เดิมให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน โดยในปัจจุบันมี ๑๔ อ่าง คลอบคลุมทุกหมู่บ้านมีอ่างสำคัญได้แก่ อ่างห้วยค้อ อ่างคำงู อ่างคำผีหลอก และอ่างคำบาก แนวทางที่ ๒ คือ การตั้งสถานีสูบน้ำพร้อมระบบส่งท่อจากอ่างเก็บน้ำลำปาวเพื่อไปพักตามอ่างสาธารณะต่าง ๆ แนวทางที่ ๓ คือ การขุดสระในไร่นา ลักษณะโครงการพัฒนาพื้นที่เกษตรน้ำฝน เพื่อรองรับน้ำทางอ่างและท่อที่ส่งน้ำ
นายอุดมชัย ได้กล่าวถึงปัญหาที่พบในปัจจุบัน คือ ค่ากระแสไฟสำหรับเครื่องสูบน้ำราคาสูง ท่อส่งน้ำชำรุด และหนองน้ำตื้นเขินซึ่งไม่เพียงพอสำหรับอุปโภคบริโภค ตลอดจนน้ำทำการเกษตร ซึ่งปัญหาที่พบผ่านมา คือ ต้นยางพาราของชาวบ้านประสบภัยแล้งเสียหายไปจำนวนมาก ชาวตำบลภูดินจึงลงความเห็นกันในการแก้ปัญหาโดยขอให้ศูนย์ประสานงานสามัคคีธรรมแห่งที่ ๓ จังหวัดกาฬสินธุ์ ของพระอาจารย์สำเร็จ ธีระธรรมโม ประสานงานเร่งรัดต่อยอดโครงการพระราชดำริ ให้ ในครั้งนี้
นายอุดมชัย ชมเชี่ยวชาญ อดีตนายกเทศมนตรี ตำบลภูดิน ได้กล่าวว่า ราษฎรตำบลภูดิน อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ เป็นกลุ่มบุคคลที่ได้รับผลกระทบจาการสร้างเขื่อนลำปาวที่ต้องอพยพเข้ามาอยู่ในเขตนิคมสร้างตนเองลำปาว โดยทางราชการจัดสรรที่ทำกินให้คน ครัวเรือนละ ๑๓ ไร่ ที่อยู่อาศัยครอบครัวละ ๒ ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ดอนขาดแหล่งน้ำและความอุดมสมบูรณ์ ต่อมาประมาณปี ๒๕๕2 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้รับโครงการจัดหาแหล่งน้ำช่วยเหลือราษฎร นิคมสร้างตนเองลำปาวไว้ในพระราชดำริ โดยให้กรมชลประทานวางแนวทางการช่วยเหลือไว้ ๓ แนวทาง คือ ให้ขุดลอกหนองน้ำธรรมชาติที่มีอยู่เดิมให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน โดยในปัจจุบันมี ๑๔ อ่าง คลอบคลุมทุกหมู่บ้านมีอ่างสำคัญได้แก่ อ่างห้วยค้อ อ่างคำงู อ่างคำผีหลอก และอ่างคำบาก แนวทางที่ ๒ คือ การตั้งสถานีสูบน้ำพร้อมระบบส่งท่อจากอ่างเก็บน้ำลำปาวเพื่อไปพักตามอ่างสาธารณะต่าง ๆ แนวทางที่ ๓ คือ การขุดสระในไร่นา ลักษณะโครงการพัฒนาพื้นที่เกษตรน้ำฝน เพื่อรองรับน้ำทางอ่างและท่อที่ส่งน้ำ
นายอุดมชัย ได้กล่าวถึงปัญหาที่พบในปัจจุบัน คือ ค่ากระแสไฟสำหรับเครื่องสูบน้ำราคาสูง ท่อส่งน้ำชำรุด และหนองน้ำตื้นเขินซึ่งไม่เพียงพอสำหรับอุปโภคบริโภค ตลอดจนน้ำทำการเกษตร ซึ่งปัญหาที่พบผ่านมา คือ ต้นยางพาราของชาวบ้านประสบภัยแล้งเสียหายไปจำนวนมาก ชาวตำบลภูดินจึงลงความเห็นกันในการแก้ปัญหาโดยขอให้ศูนย์ประสานงานสามัคคีธรรมแห่งที่ ๓ จังหวัดกาฬสินธุ์ ของพระอาจารย์สำเร็จ ธีระธรรมโม ประสานงานเร่งรัดต่อยอดโครงการพระราชดำริ ให้ ในครั้งนี้
สุรพล คุณภักดี / ข่าว
อัสนี พงษ์พันนา / ภาพ
อัสนี พงษ์พันนา / ภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น