เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2557 ที่จังหวัดนครพนม สภาพอากาศยังคงหนาวเย็นต่อเนื่อง โดยจากการตรวจวัดอุณหภูมิของสถานีอุตุนิยมวิทยานครพนม พบอุณหภูมิต่ำสุดที่ประมาณ 9 -12 องศาเซลเซียส นานเกือบ 2 เดือน ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อชาวบ้านในพื้นที่ประสบภัยหนาว ยังส่งผลกระทบต่อเกษตรกรที่ทำนาปรังในช่วงหน้าแล้ง ประสบปัญหานาปรังโตช้า จากปัญหาสภาพอากาศหนาวเย็น นอกจากนี้ยังเริ่มประสบปัญหาภัยแล้ง ขาดแคลนน้ำ เนื่องจากในปีนี้ปริมาณเก็บน้ำ ตามอ่างกักเก็บน้ำต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดนครพนม มีปริมาณต่ำกว่าปีที่ผ่านมา ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ แต่มีเกษตรกรปลูกข้าวนาปรังเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว ซึ่งมีพื้นที่ปลูกประมาณ 70,000 ไร่ มากสุดคืออำเภอศรีสงคราม มีพื้นที่นาปรังประมาณ 30,000 ไร่ ทำให้บางพื้นที่ปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการปลูกข้าวนาปรัง โดยทางเกษตรจังหวัดนครพนม ได้ประกาศเตือนให้เกษตรกรงดปลูกข้าวนาปรัง ในพื้นที่นอกเขตชลประมาณ และขาดแคลนแหล่งน้ำ ป้องกันความเสียหายจากปัญหาขาดแคลนน้ำ ส่งผลเกษตรกรขาดทุนตามมา พร้อมจัดเครื่องสูบน้ำเข้าไปช่วยเหลือ สูบน้ำเลี้ยงพื้นที่นาข้าว ป้องกันความเสียหายจากภัยแล้ง
นายรักสกุล สุริโย เกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครพนม กล่าวว่า สถานการณ์การทำการเกษตรปลูกพืชฤดูแล้งในปีนี้ พบว่ามีความเสี่ยงต่อการประสบปัญหาภัยแล้งขาดน้ำสูง เนื่องจากพบว่าปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆ ต่ำกว่าปีที่ผ่านมาประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นจึงขอประกาศเตือนให้เกษตรกร งดปลูกพืชฤดูแล้ง โดยเฉพาะข้าวนาปรังเพิ่มจากพื้นที่เคยเพราะปลูก รวมถึงพื้นที่นอกเขตชลประทาน และขาดแคลนแหล่งน้ำ ซึ่งในปีนี้พบว่าเกษตรกรในพื้นที่มีการขยายพื้นที่ทำการเกษตรฤดูแล้งเพิ่มมากขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำสูง มีพื้นที่ทำการเกษตรปลูกพืชฤดูแล้ง รวมถึงนาปรัง ประมาณ 70,000 ไร่ และช่วงนี้พบว่าบางพื้นที่มีการเพิ่มพื้นที่ปลูกเกือบเท่าตัว เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาขาดน้ำได้รับความเสียหาย จึงแจ้งมายังเกษตรกรให้งดขยายพื้นที่ทำนาปรังในช่วงนี้
นายรักสกุล สุริโย เกษตรและสหกรณ์จังหวัดนครพนม กล่าวว่า สถานการณ์การทำการเกษตรปลูกพืชฤดูแล้งในปีนี้ พบว่ามีความเสี่ยงต่อการประสบปัญหาภัยแล้งขาดน้ำสูง เนื่องจากพบว่าปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆ ต่ำกว่าปีที่ผ่านมาประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นจึงขอประกาศเตือนให้เกษตรกร งดปลูกพืชฤดูแล้ง โดยเฉพาะข้าวนาปรังเพิ่มจากพื้นที่เคยเพราะปลูก รวมถึงพื้นที่นอกเขตชลประทาน และขาดแคลนแหล่งน้ำ ซึ่งในปีนี้พบว่าเกษตรกรในพื้นที่มีการขยายพื้นที่ทำการเกษตรฤดูแล้งเพิ่มมากขึ้น เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาขาดแคลนน้ำสูง มีพื้นที่ทำการเกษตรปลูกพืชฤดูแล้ง รวมถึงนาปรัง ประมาณ 70,000 ไร่ และช่วงนี้พบว่าบางพื้นที่มีการเพิ่มพื้นที่ปลูกเกือบเท่าตัว เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาขาดน้ำได้รับความเสียหาย จึงแจ้งมายังเกษตรกรให้งดขยายพื้นที่ทำนาปรังในช่วงนี้
นายพัฒนพงษ์ ศรีเพียชัย ผู้สื่อข่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น