สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าโครงการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีทดแทนสวนเก่า เผย เกษตรกรยังให้ความสนใจและตอบรับอย่างต่อเนื่อง พร้อมส่งมอบต้นกล้าปาล์มให้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการระยะที่ 2 เดือนพฤษภาคมนี้ แนะเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วม สอบถามรายละเอียด ได้ที่สำนักงานเกษตรจังหวัดและสำนักงานเกษตรอำเภอในพื้นที่ เพื่อขอเข้ารับการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปาล์มน้ำมัน
นายสุรศักดิ์ พันธ์นพ รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงโครงการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีทดแทนสวนเก่า ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ หรือ กองทุน FTA ซึ่งกิจกรรมหลักของโครงการฯ ได้มุ่งเน้นการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีทดแทนสวนเก่าให้กับเกษตรกรที่มีสวนปาล์มอายุมากกว่า 20 ปี โดยเกษตรกรเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการโค่นต้นปาล์มเก่าและเตรียมพื้นที่ปลูกเอง มีการดำเนินงานใน 5 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ สุราษฎร์ธานี ชุมพร สตูล และตรัง ซึ่งเมื่อช่วงปลายปี 2555 โครงการระยะแรกได้ส่งเสริมต้นกล้าปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีและปุ๋ย ไปแล้วในพื้นที่กว่าหนึ่งหมื่นไร่
ในการนี้ สศก. ได้ลงพื้นที่เมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา เพื่อติดตามความก้าวหน้าและสำรวจความคิดเห็นของเกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริมต้นกล้าปาล์มน้ำมันจากโครงการฯ พบว่า เกษตรกรทุกรายได้นำต้นกล้าปาล์มน้ำมันที่ได้รับจากโครงการไปปลูกในสวนของตนเองเรียบร้อยแล้ว ซึ่งขณะนี้ต้นปาล์มดังกล่าวมีอายุประมาณ 1 ปี ถึง 1 ปี 3 เดือน นับจากวันที่เกษตรกรนำต้นกล้าปลูกในแปลงส่งเสริม โดยมีเกษตรกรที่ทำการโค่นหรือทำลายต้นปาล์มเก่าแล้วทั้งหมด ร้อยละ 39 ของจำนวนแปลงส่งเสริมทั้งหมด และมีการทำลายต้นปาล์มเก่าเกินกว่าครึ่ง ร้อยละ 19 และที่เหลือ ร้อยละ 42 ยังไม่ทำลายต้นปาล์มหรือทำลายจำนวนน้อย
ด้านการเติบโตและความสมบูรณ์ของต้นปาล์มที่ได้นำไปปลูก พบว่า ร้อยละ 91 มีการเจริญเติบโตปกติ ส่วนปัญหาด้านความเสียหายต่อต้นปาล์มที่เกิดจากการทำลายของศัตรูพืช พบว่า เกษตรกรร้อยละ 21 ประสบปัญหาด้วงแรดที่เป็นแมลงศัตรูพืชเข้าทำลายต้นปาล์มบางส่วน โดยเฉพาะในแปลงที่มีการโค่นต้นปาล์มเก่าแต่ยังกองซากทิ้งไว้ ดังนั้น เกษตรกรควรรีบทำลายหรือหาวิธีการจัดการซากต้นเก่าไม่ให้กองไว้ไม่ให้เป็นแหล่งขยายพันธุ์ของด้วงแรดได้ และสำหรับความพึงพอใจของเกษตรกรต่อภาพรวมของโครงการเกษตรกรนั้น พบว่า เกษตรกรมีความพึงพอใจอยู่ในระดับที่ดี และอยากเข้ารับการส่งเสริมต่อเนื่องหากมีพื้นที่สวนปาล์มเก่าที่ตรงกับเงื่อนไขของโครงการ
ทั้งนี้ ในปี 2557 จะจัดอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรที่ผ่านการตรวจสอบแปลงที่จะรับการส่งเสริมตามเงื่อนไขโครงการฯ และคาดว่าจะเริ่มส่งมอบต้นกล้าปาล์มน้ำมันให้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการระยะที่ 2 ได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2557 เป็นต้นไป ส่วนเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการในระยะที่ 3 จะได้รับการส่งเสริมต้นกล้าปาล์มน้ำมันประมาณกลางปี 2558 โดยสามารถสอบถามรายละเอียด ณ สำนักงานเกษตรจังหวัดและสำนักงานเกษตรอำเภอในพื้นที่ดำเนินงานโครงการฯ เพื่อขอเข้ารับการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปาล์มน้ำมันต่อไปได้
นายสุรศักดิ์ พันธ์นพ รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงโครงการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีทดแทนสวนเก่า ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ หรือ กองทุน FTA ซึ่งกิจกรรมหลักของโครงการฯ ได้มุ่งเน้นการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีทดแทนสวนเก่าให้กับเกษตรกรที่มีสวนปาล์มอายุมากกว่า 20 ปี โดยเกษตรกรเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการโค่นต้นปาล์มเก่าและเตรียมพื้นที่ปลูกเอง มีการดำเนินงานใน 5 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ สุราษฎร์ธานี ชุมพร สตูล และตรัง ซึ่งเมื่อช่วงปลายปี 2555 โครงการระยะแรกได้ส่งเสริมต้นกล้าปาล์มน้ำมันพันธุ์ดีและปุ๋ย ไปแล้วในพื้นที่กว่าหนึ่งหมื่นไร่
ในการนี้ สศก. ได้ลงพื้นที่เมื่อต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา เพื่อติดตามความก้าวหน้าและสำรวจความคิดเห็นของเกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริมต้นกล้าปาล์มน้ำมันจากโครงการฯ พบว่า เกษตรกรทุกรายได้นำต้นกล้าปาล์มน้ำมันที่ได้รับจากโครงการไปปลูกในสวนของตนเองเรียบร้อยแล้ว ซึ่งขณะนี้ต้นปาล์มดังกล่าวมีอายุประมาณ 1 ปี ถึง 1 ปี 3 เดือน นับจากวันที่เกษตรกรนำต้นกล้าปลูกในแปลงส่งเสริม โดยมีเกษตรกรที่ทำการโค่นหรือทำลายต้นปาล์มเก่าแล้วทั้งหมด ร้อยละ 39 ของจำนวนแปลงส่งเสริมทั้งหมด และมีการทำลายต้นปาล์มเก่าเกินกว่าครึ่ง ร้อยละ 19 และที่เหลือ ร้อยละ 42 ยังไม่ทำลายต้นปาล์มหรือทำลายจำนวนน้อย
ด้านการเติบโตและความสมบูรณ์ของต้นปาล์มที่ได้นำไปปลูก พบว่า ร้อยละ 91 มีการเจริญเติบโตปกติ ส่วนปัญหาด้านความเสียหายต่อต้นปาล์มที่เกิดจากการทำลายของศัตรูพืช พบว่า เกษตรกรร้อยละ 21 ประสบปัญหาด้วงแรดที่เป็นแมลงศัตรูพืชเข้าทำลายต้นปาล์มบางส่วน โดยเฉพาะในแปลงที่มีการโค่นต้นปาล์มเก่าแต่ยังกองซากทิ้งไว้ ดังนั้น เกษตรกรควรรีบทำลายหรือหาวิธีการจัดการซากต้นเก่าไม่ให้กองไว้ไม่ให้เป็นแหล่งขยายพันธุ์ของด้วงแรดได้ และสำหรับความพึงพอใจของเกษตรกรต่อภาพรวมของโครงการเกษตรกรนั้น พบว่า เกษตรกรมีความพึงพอใจอยู่ในระดับที่ดี และอยากเข้ารับการส่งเสริมต่อเนื่องหากมีพื้นที่สวนปาล์มเก่าที่ตรงกับเงื่อนไขของโครงการ
ทั้งนี้ ในปี 2557 จะจัดอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรที่ผ่านการตรวจสอบแปลงที่จะรับการส่งเสริมตามเงื่อนไขโครงการฯ และคาดว่าจะเริ่มส่งมอบต้นกล้าปาล์มน้ำมันให้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการระยะที่ 2 ได้ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2557 เป็นต้นไป ส่วนเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมโครงการในระยะที่ 3 จะได้รับการส่งเสริมต้นกล้าปาล์มน้ำมันประมาณกลางปี 2558 โดยสามารถสอบถามรายละเอียด ณ สำนักงานเกษตรจังหวัดและสำนักงานเกษตรอำเภอในพื้นที่ดำเนินงานโครงการฯ เพื่อขอเข้ารับการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตปาล์มน้ำมันต่อไปได้
ข่าว : ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ข้อมูล : ศูนย์ประเมินผล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น