คณะทำงานบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำ จัดประชุมทำแผนการบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการจังหวัดสุรินทร์ ระยะที่ 3 เพื่อรวบรวม สังเคราะห์ข้อมูล แผนงานที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำของส่วนงานที่เกี่ยวข้องในจังหวัดสุรินทร์
วันที่ ( 13 ก.พ.57) ที่ห้องรัตนสุวรรณ โรงแรมทองธารินทร์ อำเถอเมืองสุรินทร์ คณะที่ปรึกษาโครงการจัดทำแผนบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการจังหวัดสุรินทร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดการการประชุม ร่วมกับ หัวหน้าส่วนราชการในระดับจังหวัดและอำเภอ รัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ในพื้นที่ที่จัดทำแผน/โครงการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 2 ทั้งนี้ เพื่อรับทราบปัญหาและความต้องการโครงการที่สอดคล้องกับพื้นที่และแนวทางการแก้ปัญหาที่ถูกต้องที่สุด และใช้การสังเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ ไปจัดทำแผนในการขอรับการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อที่จะนำมาแก้ปัญหาน้ำท่วมและปัญหาภัยแล้งของจังหวัด เพราะที่ผ่านมาจังหวัดได้พยายามแก้ไขปัญหา ทั้งการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก การขุดลอกฟื้นฟูลำน้ำและหนองบึงต่างๆ รวมทั้งสร้างแหล่งน้ำขนาดกลาง แต่ก็ยังไม่สามารถบรรเทาและแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในขณะนี้จังหวัดสุรินทร์ ได้มีแผนที่เกี่ยวเนื่องกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้ง 17 อำเภอ ประมาณ 630 โครงการ ที่จะทำควบคู่กับการวิจัยและพัฒนา เพื่อความมีประสิทธิภาพอย่างที่สุด
การพัฒนาทรัพยากรน้ำของประเทศที่ผ่านมายังไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์หลักของการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ ซึ่งสาเหตุหลักส่วนหนึ่งมาจากการขาดการยอมรับในแผนงาน ที่ส่วนใหญ่ถูกกำหนดโดยหน่วยงานส่วนกลาง ที่มีลักษณะโครงการแบบกำหนดแผนงาน/โครงการ และยังประสบปัญหาการซ้ำซ้อนของโครงการ เพราะมีความหลากหลายของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรน้ำที่ไม่มีการบูรณาการ ส่งผลให้เกิดความขัดแย้ง และไม่เข้าใจ ขาดการยอมรับในระดับพื้นที่ ลักษณะเช่นนี้จึงไม่สนองต่อความต้องการที่แท้จริงของประชาชน กระทบต่อการดำเนินโครงการ ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการจัดทำแผนบูรณาการจากกลุ่มพื้นที่เป้าหมาย ในการแก้ไขร่วมกัน เพื่อให้สอดคล้องต่อความจำเป็นของชุมชนนั้นๆ อาศัยจากฐานข้อมูล ทั้งแผนงานบูรณาการการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งระดับจังหวัด กับ ฐานข้อมูล พร้อมแผนที่ระบุตำแหน่งของโครงการ ภายใต้แผนงานโครงการฯ ในระบบข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ หรือ GIS เป็นการนำเสนอแผนที่ต้อง แผนงาน/โครงการ แสดงเป็นรายตำบล อำเภอ จังหวัด และ เสนอในรูปแบบการจัดการสาระข้อมูลอย่างง่าย มีลักษณะบูรณาการอย่างเป็นระบบที่เชื่อโยงอย่างยั่งยืน
วันที่ ( 13 ก.พ.57) ที่ห้องรัตนสุวรรณ โรงแรมทองธารินทร์ อำเถอเมืองสุรินทร์ คณะที่ปรึกษาโครงการจัดทำแผนบริหารจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการจังหวัดสุรินทร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้จัดการการประชุม ร่วมกับ หัวหน้าส่วนราชการในระดับจังหวัดและอำเภอ รัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ในพื้นที่ที่จัดทำแผน/โครงการที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 2 ทั้งนี้ เพื่อรับทราบปัญหาและความต้องการโครงการที่สอดคล้องกับพื้นที่และแนวทางการแก้ปัญหาที่ถูกต้องที่สุด และใช้การสังเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ ไปจัดทำแผนในการขอรับการสนับสนุนงบประมาณ เพื่อที่จะนำมาแก้ปัญหาน้ำท่วมและปัญหาภัยแล้งของจังหวัด เพราะที่ผ่านมาจังหวัดได้พยายามแก้ไขปัญหา ทั้งการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก การขุดลอกฟื้นฟูลำน้ำและหนองบึงต่างๆ รวมทั้งสร้างแหล่งน้ำขนาดกลาง แต่ก็ยังไม่สามารถบรรเทาและแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในขณะนี้จังหวัดสุรินทร์ ได้มีแผนที่เกี่ยวเนื่องกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้ง 17 อำเภอ ประมาณ 630 โครงการ ที่จะทำควบคู่กับการวิจัยและพัฒนา เพื่อความมีประสิทธิภาพอย่างที่สุด
การพัฒนาทรัพยากรน้ำของประเทศที่ผ่านมายังไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์หลักของการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ ซึ่งสาเหตุหลักส่วนหนึ่งมาจากการขาดการยอมรับในแผนงาน ที่ส่วนใหญ่ถูกกำหนดโดยหน่วยงานส่วนกลาง ที่มีลักษณะโครงการแบบกำหนดแผนงาน/โครงการ และยังประสบปัญหาการซ้ำซ้อนของโครงการ เพราะมีความหลากหลายของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทรัพยากรน้ำที่ไม่มีการบูรณาการ ส่งผลให้เกิดความขัดแย้ง และไม่เข้าใจ ขาดการยอมรับในระดับพื้นที่ ลักษณะเช่นนี้จึงไม่สนองต่อความต้องการที่แท้จริงของประชาชน กระทบต่อการดำเนินโครงการ ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการจัดทำแผนบูรณาการจากกลุ่มพื้นที่เป้าหมาย ในการแก้ไขร่วมกัน เพื่อให้สอดคล้องต่อความจำเป็นของชุมชนนั้นๆ อาศัยจากฐานข้อมูล ทั้งแผนงานบูรณาการการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งระดับจังหวัด กับ ฐานข้อมูล พร้อมแผนที่ระบุตำแหน่งของโครงการ ภายใต้แผนงานโครงการฯ ในระบบข้อมูลสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ หรือ GIS เป็นการนำเสนอแผนที่ต้อง แผนงาน/โครงการ แสดงเป็นรายตำบล อำเภอ จังหวัด และ เสนอในรูปแบบการจัดการสาระข้อมูลอย่างง่าย มีลักษณะบูรณาการอย่างเป็นระบบที่เชื่อโยงอย่างยั่งยืน
กำชัย วันสุข ส.ปชส.สุรินทร์ ภาพ / ข่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น