หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง
ปรับแผนตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงที่จังหวัดอุดรธานี ในวันที่ 1 กรกฏาคม
2556 นี้เป็นต้นไป เพื่อเติมน้ำลงในอ่างสำคัญๆ
กักเก็บน้ำไว้ใช้ช่วงกลางฤดูทำนา และให้บริการบินสำรวจ
คาดปีนี้อาจเกิดฝนทิ้งช่วงเหมือนปีที่ผ่านมา
เช้าวันนี้ ( 11 มิ.ย. 56 ) นายเสนีย์ จิตตเกษม
ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานีมอบหมายให้นายสุขพล อินตาพรหม
เกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุดรธานี
ร่วมบินสำรวจสภาพพื้นที่การเกษตรและปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำสำคัญๆและประชุม
พบปะผู้แทนเกษตรกรในพื้นที่ท้ายโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยหลวงอุดธานี
เพื่อรับทราบปัญหา อุปสรรคด้านน้ำเพื่อใช้ในการเกษตร
ตลอดจนรับทราบข้อเสนอแนะจากผู้แทนเกษตรกร
โดยมีหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม
ทั้งนี้สืบเนื่องจากเดือนมิถุนายนได้เข้าสู่ฤดูฝนเต็มตัวแล้ว
แต่ปีนี้จังหวัดอุดรธานีทางตอนล่างและทิศตะวันตกมีปริมาณน้ำฝนต่ำมาก
กระทงนาและไร่อ้อยยังแห้งแล้งขาดน้ำขัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
โดยสำนักงานฝนหลวงและการบินเกษตร
ได้มอบหมายให้ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น
จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง
ดูแลให้บริการปฏิบัติการฝนหลวงเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 หน่วย คือ
หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงขอนแก่น อุบลราชธานี และนครราชสีมา
แต่เนื่องจากการบินสำรวจพื้นที่จังหวัดอุดรธานี
พบว่าอ่างเก็บน้ำสำคัญๆยังขาดน้ำและต้องการให้ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ มาตั้งหน่วยปฏิบัติการในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี
นายปนิธิ เสมอวงษ์
หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออเกฉียงเหนือจังหวัดขอนแก่นจึงปรับ
แผนมาตั้งที่จังหวัดอุดรธานี ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2556เป็นต้นไป
โดยหน่วยดังกล่าวจะปฏิบัติการครอบคลุมพื้นที่อุดรธานี หนองบัวลำภู เลย
และสกลนคร
นายพิทยา กุดหอม
หัวหน้าป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า ในปี 2555
มีพื้นที่ฝนทิ้งช่วง 3 อำเภอ 313 หมู่บ้าน เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน
15,983 คน พื้นที่เกษตร 122,618 ไร่ และมีพื้นที่ภัยแล้ง 18 อำเภอ 131 ตำบล
1,277 หมู่บ้าน เกษตรกรได้รับความเสียหาย 40,715 คน
พื้นที่ได้รับความเสียหาย 254,301 ไร่ ซึ่งในปี 255มีฝนตกตลอดปี 107 วัน
ปริมาณน้ำในอ่างสำคัญ 15 แห่ง ที่ปริมาณกักเก็บรวม 275.830 ล้าบลูกบาศเมตร
ปัจจุบันมีน้ำกักเก็บเพียง 55.498 ล้านลูกบาศเมตร คิดเป็น 20.1 %
และจากรายงานสถานการณ์น้ำ
ของโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยหลวง ณ วันที่ 11 มิถุนายน 2556 พบว่า
ปริมาณน้ำฝนตกสะสมในปี 2556 ตั้งแต่ 1 มกราคม 2556- 9 มิถุนายน 2556
มีปริมาณน้ำฝนตกสะสมเท่ากับ 301.0 มิลลิเมตร
มากกว่าปริมาณน้ำฝนตกสะสมในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2555 ซึ่งปริมาณฝนตกรวม
272.5 มิลลิเมตร ในขณะที่ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556-9
มิถุนายน 2556 เท่ากับ 5.15
ล้านลูกบาศเมตรน้อยกว่าปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2555
ซึ่งมีปริมาณ เท่ากับ 23.47 ล้านลูกบาศเมตร
ส่วนสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำห้วยหลวง ณ วันที่ 11 มิถุนายน 2556
มีปริมาณทั้งสิ้น 16.68 ล้าบลูกบาศเมตร
ทีมข่าว ส.ปชส.อด. ศรีภูมิ ทองใหญ่ ณ อยุธยา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น