วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ศูนย์อนามัยที่ 5 จับมือเครือข่ายจัดอบรมพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย หวังโรงพยาบาลทั่วอีสาน มีคุณภาพน้ำทิ้งเป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด

ประชาสัมพันธ์จังหวัดนครราชสีมา รายงานว่า ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา ร่วมกับ ศูนย์อนามัยที่ 6 ขอนแก่น ศูนย์อนามัยที่ 7 อุบลราชธานี และสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 9-12 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การควบคุมดูแลระบบบำบัดน้ำเสียโรงพยาบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด เมื่อวันที่ 26-28 มิถุนายน 2556 ที่ผ่านมา ที่ โรงแรมเฮอมิเทจ รีสอร์ทแอนด์สปา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา

นายแพทย์สุเทพ เพชรมาก ผู้อำนวยการศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา เป็นประธานในพิธีเปิดและกล่าวว่า เพื่อพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลรับผิดชอบควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียของโรง พยาบาล ให้มีความรู้และทักษะด้านการดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย โดยมีกลุ่มเป้าหมาย เป็นเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบบำบัดน้ำเสียของโรงพยาบาลทั้งในและนอกกระทรวง สาธารณสุข จำนวน 140 คน ได้รับความร่วมมือจากวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบบำบัดรวม (Centralized Treatment System) และระบบบำบัดแบบติดที่ (Onsite Treatment System) จากภาคส่วนราชการและสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง
                
สำหรับน้ำเสียที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล มาจากกิจกรรมต่างๆในการรักษาผู้ป่วย การใช้ห้องส้วม กิจกรรมในโรงครัว ตลอดจนในส่วนของบ้านพัก น้ำเสียที่เกิดขึ้นโรงพยาบาล มีองค์ประกอบที่สำคัญหลายอย่าง โดยเฉพาะด้านแบคทีเรียหรือเชื้อโรคที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพหากมีการ จัดการที่ไม่เหมาะสม ดั้งนั้น เพื่อเป็นการป้องการแพร่กระจายของเชื้อโรคที่ปนเปื้อนมากับน้ำเสีย ตลอดจนป้องกันการก่อให้เกิดมลพิษสิ่งแวดล้อมต่อชุมชนข้างเคียงหากมีการปล่อย ออกสู่สิ่งแวดล้อม จึงต้องมีการจัดการน้ำเสียอย่างเป็นระบบ เพื่อรวบรวมน้ำเสียเข้าสู่ระบบบำบัด มีคุณภาพน้ำทิ้งเป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด กอปร์กับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 80 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ออกกฎกระทรวงกำหนด หลักเกณฑ์ วิธีการ และแบบการจัดเก็บสถิติและข้อมูล การจัดทำบันทึกรายละเอียดและรายงานสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย พ.ศ. 2555 ซึ่งกฎกระทรวงมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555 เป็นต้นมา
 
ศูนย์อนามัยที่ 5 นครราชสีมา ในฐานะองค์กรหลักด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ตระหนักถึงปัญหาเรื่องการจัดการน้ำเสียจากแหล่งกำเนิด คือจากโรงพยาบาล จึงได้ร่วมกับองค์กรในเครือข่ายจัดอบรมเชิงปฏิบัติการการควบคุมดูแลระบบ บำบัดน้ำเสียในโรงพยาบาลขึ้น และเป็นส่วนหนึ่งของแผนการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อมแห่ง ชาติ ฉบับที่ 2 ที่มีการลงนามบันทึกความร่วมมือ(MOU) ระหว่างอธิบดี 3 กรม คือ กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมปกครองท้องถิ่น และกรมอนามัย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2555 ที่ผ่านมา 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น