( 16 กค 56 )
ที่หอประชุมสหกรณ์ออมทรัพย์ครูจังหวัดนครราชสีมา นายสมชาย ชาญณรงค์กุล
อธิบดีกรมส่งเสริม
เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ"การลดต้นทุนการ
ปลูกมันสำปะหลัง”โดยมี สมาชิกสหกรณ์ภาคการเกษตรในจังหวัดนครราชสีมา กว่า
600 คน เข้าร่วมอบรม
ด้านนายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ สหกรณ์จังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า จังหวัดนครราชสีมา ถือได้ว่าเป็นจังหวัดที่มีการปลูกมันสำปะหลังมากที่สุดในประเทศไทย โดยมีพื้นที่ปลูกประมาณ 1.9ล้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 32 อำเภอหรือคิดเป็นร้อยละ 25 ของพื้นที่เพาะปลูกในประเทศไทย ซึ่งจังหวัดนครราชสีมา ได้ให้ความสำคัญโดยได้กำหนดกลยุทธ์การส่งเสริมและพัฒนาการผลิตมันสำปะหลัง เพื่อเพิ่มผลผลิตและพัฒนาเครือข่ายเพื่อยกระดับรายได้ของเกษตรกร กำหนดไว้ในแผนพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา ประจำปีงบประมาณ 2553 – 2556 ประกอบกับ สหกรณ์ภาคการเกษตรในจังหวัดนครราชสีมา เป็นแหล่งรวบรวมมันสำปะหลังจากสมาชิก เพื่อสร้างอำนาจต่อรองกับพ่อค้าคนกลาง และปัจจุบันประเทศไทยมีความต้องการนำมันสำปะหลังไปใช้ในผลิตภัณฑ์และ ประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมที่จำเป็นหลายอย่าง เนื่องจากมันสำปะหลังเป็นพืชที่มีความหลากหลายในพฤติกรรม เป็นพืชที่ต้องใช้ปุ๋ยในดินเป็นจำนวนมาก และเกษตรกรทั่วไปยังขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้พันธุ์ที่เหมาะสม การบำรุงดิน
การเพาะปลูก และการจัดการทั่วไป จึงมีผลให้ผลผลิตมันสำปะหลังต่อไร่ลดต่ำลงเรื่อยมา และมีต้นทุนการปลูก การบำรุงรักษา สูงมากขึ้นจากการใช้ปัจจัยการผลิต ดังนั้น เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์การเกษตรที่อยู่ในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังได้รับองค์ ความรู้เพิ่มเติมจากผู้ที่มีความรู้ และประสบการณ์ ตลอดสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการปลูกมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตที่ มีคุณภาพ ช่วยลดต้นทุนการปลูกมันสำปะหลังและมีรายได้เพิ่มขึ้นจากต้นทุนการผลิตที่ลด ลง สำนักงานสหกรณ์จังหวัดนครราชสีมา จึงได้จัดการอบรมการลดต้นทุนการปลูกมันสำปะหลังขึ้น โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมาเป็นวิทยากรถ่าย ทอดความรู้
การดำเนินการตามโครงการฯ นี้ จะช่วยเพิ่มความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงดิน การเลือกใช้ปุ๋ย การจัดการเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง ให้สมาชิกสหกรณ์สามารถทำการปลูกมันสำปะหลังอย่างถูกวิธี ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและเพียงพอกับความต้องการของตลาด นอกจากนี้ยังส่งผลให้ปริมาณการทำธุรกิจกับสหกรณ์ของสมาชิกเพิ่มขึ้นและ คุณภาพชีวิตของสมาชิกสหกรณ์ก็จะดีขึ้นตามไปด้วย
สหกรณ์จังหวัดนครราชสีมากล่าวเพิ่มเติมว่า ในวันดังกล่าว ทางสำนักงานสหกรณ์จังหวัดนครราชสีมา ได้จัดให้มีพิธีมอบเงินช่วยเหลือด้านหนี้สินสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่ ประสบอุทกภัย ปี 2554 ให้แก่สหกรณ์ที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 5 แห่ง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2,357,170 บาทด้วย
ด้านนายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ สหกรณ์จังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า จังหวัดนครราชสีมา ถือได้ว่าเป็นจังหวัดที่มีการปลูกมันสำปะหลังมากที่สุดในประเทศไทย โดยมีพื้นที่ปลูกประมาณ 1.9ล้านไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 32 อำเภอหรือคิดเป็นร้อยละ 25 ของพื้นที่เพาะปลูกในประเทศไทย ซึ่งจังหวัดนครราชสีมา ได้ให้ความสำคัญโดยได้กำหนดกลยุทธ์การส่งเสริมและพัฒนาการผลิตมันสำปะหลัง เพื่อเพิ่มผลผลิตและพัฒนาเครือข่ายเพื่อยกระดับรายได้ของเกษตรกร กำหนดไว้ในแผนพัฒนาจังหวัดนครราชสีมา ประจำปีงบประมาณ 2553 – 2556 ประกอบกับ สหกรณ์ภาคการเกษตรในจังหวัดนครราชสีมา เป็นแหล่งรวบรวมมันสำปะหลังจากสมาชิก เพื่อสร้างอำนาจต่อรองกับพ่อค้าคนกลาง และปัจจุบันประเทศไทยมีความต้องการนำมันสำปะหลังไปใช้ในผลิตภัณฑ์และ ประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมที่จำเป็นหลายอย่าง เนื่องจากมันสำปะหลังเป็นพืชที่มีความหลากหลายในพฤติกรรม เป็นพืชที่ต้องใช้ปุ๋ยในดินเป็นจำนวนมาก และเกษตรกรทั่วไปยังขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้พันธุ์ที่เหมาะสม การบำรุงดิน
การเพาะปลูก และการจัดการทั่วไป จึงมีผลให้ผลผลิตมันสำปะหลังต่อไร่ลดต่ำลงเรื่อยมา และมีต้นทุนการปลูก การบำรุงรักษา สูงมากขึ้นจากการใช้ปัจจัยการผลิต ดังนั้น เพื่อให้สมาชิกสหกรณ์การเกษตรที่อยู่ในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังได้รับองค์ ความรู้เพิ่มเติมจากผู้ที่มีความรู้ และประสบการณ์ ตลอดสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในการปลูกมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตที่ มีคุณภาพ ช่วยลดต้นทุนการปลูกมันสำปะหลังและมีรายได้เพิ่มขึ้นจากต้นทุนการผลิตที่ลด ลง สำนักงานสหกรณ์จังหวัดนครราชสีมา จึงได้จัดการอบรมการลดต้นทุนการปลูกมันสำปะหลังขึ้น โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมาเป็นวิทยากรถ่าย ทอดความรู้
การดำเนินการตามโครงการฯ นี้ จะช่วยเพิ่มความรู้เกี่ยวกับการปรับปรุงดิน การเลือกใช้ปุ๋ย การจัดการเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง ให้สมาชิกสหกรณ์สามารถทำการปลูกมันสำปะหลังอย่างถูกวิธี ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและเพียงพอกับความต้องการของตลาด นอกจากนี้ยังส่งผลให้ปริมาณการทำธุรกิจกับสหกรณ์ของสมาชิกเพิ่มขึ้นและ คุณภาพชีวิตของสมาชิกสหกรณ์ก็จะดีขึ้นตามไปด้วย
สหกรณ์จังหวัดนครราชสีมากล่าวเพิ่มเติมว่า ในวันดังกล่าว ทางสำนักงานสหกรณ์จังหวัดนครราชสีมา ได้จัดให้มีพิธีมอบเงินช่วยเหลือด้านหนี้สินสมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกรที่ ประสบอุทกภัย ปี 2554 ให้แก่สหกรณ์ที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 5 แห่ง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 2,357,170 บาทด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น