วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สกู๊ป “วนอุทยานพนมสวาย “ อดีตภูเขาไฟที่หลับแล้ว ถูกพัฒนาให้เป็นแห่ลงท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา

วนอุทยานพนมสวาย อดีตภูเขาไฟที่หลับแล้ว ถูกพัฒนาให้เป็นแห่ลงท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา ไม่ไกลจากตัวเมือง และในทุกปีจะมีประเพณี ขึ้นเขาสวาย เคาะระฆังพันใบ กราบไหว้สิ่งศักดิ์ ชาวสุรินทร์นับหมื่นพร้อมใจหยุดงานแห่ทำบุญคึกคัก

วันนี้ (25 ก.พ.57 จ.สุรินทร์จะมีแหล่งท่องเที่ยวหลายแห่ง อาทิ หมู่บ้านช้างเลี้ยงใหญ่ที่สุดในโลก บ.ตากลาง ต.กระโพ อ.ท่าตูม รวมถึงโบราณสถานต่างๆ เช่น ปราสาทศรีขรภูมิ อ.ศรีขรภูมิ ปราสาทตาควาย และกลุ่มปราสาทตาเมือนธม อ.พนมดงรักแล้ว ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา ที่สำคัญอีกแห่ง คือวนอุทยานพนมสวาย ตั้งอยู่ที่ตำบลนาบัว อำเภอเมือง ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 22 กิโลเมตร ใช้เส้นทางสายสุรินทร์-ปราสาท (ทางหลวงหมายเลข 214) ระยะทาง 14 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตร เป็นภูเขาเตี้ย ๆมียอดเขาอยู่3ยอดใน และอดีตกาลพนมสวายแหง่นี้เคยเป็นภูเขาไฟแต่ได้ดับลงมานานแล้ว

สำหรับยอกเขายอดที่ 1 มีชื่อว่ายอดเขาชาย (พนมเปราะ) สูง 210 เมตร เป็นที่ตั้งของวัดพนมสวาย มีบันไดก่ออิฐถือปูนขึ้นถึงวัด ระหว่างทางเรียงรายไปด้วยระฆังจำนวน 1,080 ใบให้ผู้มาเยือนเคาะเพื่อความเป็นสิริมงคล มีสระน้ำกว้างใหญ่และร่มรื่นด้วยต้นไม้ บนเขาเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธสุรินทรมงคล เป็นพระพุทธรูปสีขาว ปางประทานพร ภปร. ขนาดหน้าตักกว้าง 15 เมตร สูง 21.50 เมตร มีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุที่บริเวณพระนาภี

ยอดที่ 2 มีชื่อว่ายอดเขาหญิง (พนมสรัย) สูงระดับ 228 เมตร เป็นที่ตั้งของวัดพนมศิลาราม ทางวัดได้จัดสร้างพระพุทธรูปองค์ขนาดกลางประดิษฐานบนยอดเขา และยังมี สระน้ำโบราณ 2 สระที่เชื่อว่าเป็นที่อยู่ของเต่าศักดิ์สิทธิ์

ยอดที่ 3 มีชื่อว่าเขาคอก (พนมกรอล)พุทธสมาคมจังหวัดสุรินทร์ได้ จัดสร้างศาลาอัฏฐะมุข เป็นอนุสรณ์ฉลองครบรอบ 200 ปี แห่งการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เพื่อประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง จากยอดเขาชายมาประดิษฐานไว้ในศาลา โดยเริ่มทำการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2524 และสำเร็จบริบูรณ์ในวันที่ 15 กรกฎาคม 2525 ใกล้กันนั้นมีสถูปที่เก็บอัฐิธาตุพระราชวุฒาจารย์ หรือหลวงปู่ดูลย์ อตุโล พระเกจิสายวิปัสสนา วัดพนมศิลาราม และศาลเจ้าแม่กวนอิม ให้ประชาชนได้เคารพบูชา

ในอดีตบรรพบุรุษชาวสุรินทร์ถือว่าเขาพนมสวายเป็นสถานที่แสวงบุญ โดยการเดินทางไปขึ้นยอดเขาในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ซึ่งเป็นวันหยุดงานตามประเพณีของชาวจังหวัดสุรินทร์มาแต่โบราณกาล และจวบจนปัจจุบันชาวสุรินทร์ยังถือปฏิบัติเรื่อยมา ผู้ที่มาเยือนเขาพนมสวายจะได้สักการะ9สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเพื่อ ความเป็นสิริมงคล คือพระใหญ่หรือพระพุทธ สุรินทรมงคล รอยพระพุทธบาทจำลอง อัฐิหลวงปู่ดุล อตุโล พระพุทธรูปองค์ดำ หลวงปู่สวน ปราสาทหินพนมสวาย ศาลเจ้าแม่กวนอิม เต่าศักดิ์สิทธิ์ และสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ ในทุกปีจะมีการจัดงานประเพณี ขึ้นเขาสวาย เคาะระฆังพันใบ กราบไหว้สิ่งศักดิ์ จัดขึ้นโดยจังหวัดสุรินทร์ โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ได้ร่วมกันจัดขึ้น สำหรับประเพณีขึ้นเขาสวาย กราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ถือเป็นสิ่งที่สำคัญของชาวจังหวัดสุรินทร์มาแต่โบราณ เมื่อถึงเดือนห้าของทุกปี บรรพบุรุษชาวสุรินทร์จะถือว่าเป็นงานประเพณีหยุดงาน ซึ่งประเพณีการหยุดงานตามช่วงระยะเวลาดังกล่าว

ในทุกปีชาวจังหวัดสุรินทร์จะร่วมมือร่วมใจจัดงานบุญประเพณีขึ้นเขาสวาย ประกอบกับวันดังกล่าว ถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ ดังนั้นชาวสุรินทร์จะหยุดงานและพากันเดินทางไปขึ้นเขาสวายเพื่อกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์เสริมสิริมงคลชีวิตต่อตนเองและครอบครัว โดยจะพากันประกอบกิจกรรมกราบไหว้สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์บนเขาสวายหลัก ทั้ง 9 คือ พระใหญ่หรือพระพุทธสุรินทรมงคล รอยพระพุทธบาทจำลอง อัฐิหลวงปู่ดูลย์ อตุโล พระพุทธรูปองค์ดำ หลวงปู่สวน ปราสาทหินพนมสวาย ศาลเจ้าแม่กวนอิม เต่าหินศักดิ์สิทธิ์ สระน้ำศักดิ์สิทธิ์ และร่วมเคาะระฆัง 1,080 ใบ เพื่อเป็นสิริมงคลด้วย ซึ่งเมื่อถึงเดือนห้าของทุกปีบรรพบุรุษชาวสุรินทร์จะถือว่าเป็นงานประเพณีหยุดงาน ซึ่งการหยุดงานจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 ตอมตู๊จ ซึ่งหมายถึงวันหยุดงานเล็ก จะมีการหยุดงาน ทำงานเพียง 3 วัน นับตั้งแต่วันขึ้น 1ค่ำ ถึงวันขึ้น 3 ค่ำ เดือนห้า ช่วงที่ 2 ช่วงตอมธม หมายถึง วันหยุดใหญ่ จะมีการหยุดทำงานทั้งหมด 7 วัน นับแต่วันแรม 1 ค่ำ ถึงวันแรม 7 ค่ำ เดือนห้า ซึ่งประเพณีการหยุดงานตามช่วงระยะเวลาดังกล่าว ชาวสุรินทร์มีความเชื่อว่า ต้องหยุดการทำงานทั้งหมด หากใครไม่หยุดทำงานก็จะมีอันเป็นไปและในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ของทุกปี ชาวจังหวัดสุรินทร์จะร่วมมือร่วมใจจัดงานบุญประเพณีขึ้นเขาสวายขึ้น ประกอบกับวันดังกล่าวถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ

ต่อมาเมื่อปี 2551 จังหวัดสุรินทร์ ได้จัดทำโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงพุทธเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษามหาราช โดยได้ดำเนินการจัดหาระฆัง จำนวน 1,080 ใบ จากวัดทุกวัดในจังหวัดสุรินทร์ และวัดสำคัญอีก 10 วัด นำไปติดตั้งบริเวณทางขึ้นบันไดไปนมัสการพระพุทธสุรินทรมงคล และบริเวณรอบ ๆ สถูปบรรจุอัฐิหลวงปู่ดุล อตุโล ซึ่งมีความยิ่งใหญ่ สวยงาม ปรากฏต่อสื่อสาธาณะอย่างกว้างขวาง และคาดว่าน่าจะเป็นจำนวนมากที่สุดในโลกอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อให้นักท่องเที่ยวที่มาสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ได้เคาะระฆังเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว นอกจากนั้นในวันขึ้นเขาสวาย จะมีกิจกรรมการประกวดขบวนแห่ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ขบวนรถบุปผาชาติ ขบวนธงชาติธงเฉลิมฉลองฯ ตวง (ตุง) ขบวนรถแห่นางงาม และการประกวดขบวนแห่ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น หมู่บ้าน จาก 4 องค์การบริหารส่วนตำบล และในทุกปีจะได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเข้าร่วมงานและเที่ยวชมงานนับหมื่นคน

นางถวิล ทรงงาม อายุ 47 ปี เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยววนอุทยานพนมสวาย กล่าวว่า ที่เขาสวายแห่งนี้ นอกจากมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้นักท่องงเที่ยวได้กราบไหว้หลายจุดแล้ว ยังมีสถูปบรรจุอัฐิหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ที่นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มักต้องเข้าไปกราบไหว้ขอพรกัน ซึ่งในอดีต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมราชนินาถ เคยเสด็จ มาพระราชทานเพลิงศพหลวงปู่ดูลย์ อตุโล เมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2558 จากนั้นจึงได้สร้างเป็นสถานที่บรรจุอัฐิหลวงปู่ดูลย์ให้ประชาชนได้กราบไหว้ขอพรจนถึงปัจจุบัน จึงขอเชิญชวนนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเที่ยวชมแหล่งท่องเที่ยงเชิงพุทธศาสนาแห่งนี้นอกจากจะได้ความสุขแล้วยังได้บุญอีกด้วย พร้อมกับชมป่าไม้ธรรมชาติไปพร้อมๆกัน ซึ่งในแต่ละวันจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวจำนวนมาก นอกจากนี้ อบจ.สุรินทร์กำลังพัฒนาสร้างทางเดินคอนกรีตขึ้นเขาสวาย อีกเส้นทาง โดยจะมีระฆังให้ประชาชนได้เคาะอักนับพันใบซึ่งกำลังก่อสร้างอยู่ในขณะนี้อีกด้วย



อุทัย  มานาดี / รายงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น