วันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2557

"มหกรรมแก้จน สร้างคน สร้างอาชีพ สร้างรายได้อย่างยั่งยืน”


วันที่ (24 ม.ค.57) ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ นายประทีป กีรติเรขา ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ เป็นประธาน เปิดงาน มหกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหาความยากจน จังหวัดศรีสะเกษ ตามโครงการ "มหกรรมแก้จน สร้างคน สร้างอาชีพ สร้างรายได้อย่างยั่งยืน” แบบบูรณาการ โดยมีนายสนิท ขาวสะอาด รองผู้ว่าราชการจังหวัด นายวัฒนา พุฒิชาติ ปลัดจังหวัด นายนิวัฒน์ น้อยผ่าง นายอำเภอเมืองศรีสะเกษ นายเสน่ห์ พรมโคตร พัฒนาการจังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ และครอบครัวยากจนที่ตกเกณฑ์ จปฐ. ให้การต้อนรับ โดยกระทรวงมหาดไทย มีภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาครัวเรือนยากจนที่ตรงจุดตรงประเด็น เนื่องจากปัญหาความยากจนเป็นปัญหาที่มีความสลับซับซ้อนและมีความยากในการ ดำเนินการ คัวเรือนแต่ละครัวเรือน มีเงื่อนไขหรือสาเหตุของปัญหาหลายประการในเวลาเดียวกัน ไม่สามารถแก้ไขด้วยนโยบายหรือกิจกรรมด้านในด้านหนึ่งเป็นการเฉพาะ และต้องใช้ระยะเวลาพอสมควรในการแก้ไขปัญหา ในการ ปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุงวิถีชีวิต หรือวิธีคิด และเห็นผลสำเร็จเป็นรูปธรรมช้า ที่สำคัญ การแก้ไขปัญหาความยากจนหรือครัวเรือนยากจนต้องแก้ไขกันเป็นรายครัวเรือน ดังนั้น การดำเนินงานต้องทุ่มเททรัพยากร และความเสียสละของผู้ มีส่วนร่วม โดยอาศัยความตั้งใจของครัวเรือนยากจน ความเอื้ออารีของชุมชนที่ครัวเรือนยากจนอยู่อาศัย และบูรณาการภารกิจของส่วนราชการร่วมกัน

จังหวัดศรีสะเกษ ดำเนินงานโครงการการบริหารจัดการครัวเรือนยากจนแบบบูรณาการ : ชี้เป้าชีวิต จัดทำเข็มทิศชีวิต บริหารจัดการชีวิตและดูแลชีวิต โดยการจัดกิจกรรมงานมหกรรมป้องกันและแก้ไขปัญหาความยากจนภายใต้แนวคิด "มหกรรมแก้จน สร้างคน สร้างอาชีพ สร้างรายได้อย่างยั่งยืน” ทั้งนี้ เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แนวทางการพัฒนาตนเองให้แก่ครัวเรือนยกจน เพื่อตระหนักและเรียนรู้แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาความยากจนตาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ให้ครัวเรือนยากจนสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองได้อย่างมีทิศทาง สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน และเพื่อบูรณาการการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาความยายจน ในทุกระดับ

สำหรับการจัดกิจกรรมในครั้งนี้ มีครัวเรือนยากจนที่ตกเกณฑ์ จปฐ. ปี 2556 รายได้เฉลี่ยน้อยกว่า 30,000 บาท/คน/ปี และเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้องง จำนวนทั้งสิ้น 400 คนเข้าร่วมกิจกรร โดยมีกิจกรรม ประกอบด้วย เวทีเสวนาทางกากรพัฒนาตนเองของครัวเรือนยากจนที่สามารถพัฒนาตนเองและผ่านเกณฑ์รายได้ การจัดนิทรรศการครัวเรือนต้นแบบที่พัฒนาตนเองได้และประสบผลสำเร็จสามรถยกระดับรายได้ผ่านเกณฑ์ จปฐ. การจัดนิทรรศการและสาธิตอาชีพทางเลือก สำหรับครัวเรือนยากจน การตรวจสุขภาพและการดูแลสุขภาพเบื้องต้น และการสงเคราะห์ครัวเรือนเบื้องต้น และการมอบของที่ระลึก เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ครัวเรือนยากจน ที่ผ่านการวิเคราะห์ครวเรือน มีทักษะ มีความกระตือรือร้น พร้อมที่จะพัฒนาได้ จำนวน 7 ครัวเรือน



ฉัตรชัย พรหมมาศ/ข่าว/ภาพ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น