วันอังคารที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2556

จังหวัดบึงกาฬเตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่เพื่อป้องกันภัยจากการค้ามนุษย์

วันนี้ (4 มิถุนายน 2556) ณ โรงแรมเดอะวัน อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ นายเทวัญ สรรค์นิกร รองผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ เดินทางมาเป็นประธานในพิธีเปิดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติป้องกัน และปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 จัดโดยสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดบึงกาฬ ร่วมกับกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดบึงกาฬ โดยผู้เข้ารับการอบรมประกอบด้วยข้าราชการตำรวจจากทุกสถานี ทีมสหวิชาชีพรวมทั้งหน่วยงานซึ่งลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยแนวทางการปฏิบัติ ร่วมกันเพื่อการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิและป้องกันแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็ก และความรุนแรงในครอบครัวจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2556 รวม 170 คน โดยได้รับเกียรติจาก พลตำรวจเอก ชัชวาล สุขสมจิตร ที่ปรึกษา (สบ 10) (ด้านการสืบสวน) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นวิทยากรบรรยายเรื่องนโยบายและแผนระดับชาติในการป้องกันและปราบปรามการ ค้ามนุษย์และ พรบ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 รวมทั้งกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องและนางวาสนา เก้านพรัตน์ ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก บรรยายเรือง การคัดแยกเพื่อช่วยเหลือคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และบทบาททีมสห วิชาชีพในการช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และการดำเนินคดีผู้กระทำผิด รวมถึงการฝึกปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์และการ ดำเนินคดีผู้กระทำผิด


นางพัชรี จิตบุณยโชติ นักพัฒนาสังคมชำนาญการพิเศษ รักษาการ พมจ.บึงกาฬ ได้กล่าวถึงการอบรมในวันนี้ว่า พรบ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551 ประกาศใช้ วันที่ 5 มิถุนายน 2551 ดังนั้นคณะรัฐมนตรีกำหนดให้วันที่ 5 มิถุนายน ของทุกปี เป็นวันรณรงค์ต่อต้านการค้ามนุษย์ ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศต้นทาง ปลายทางและทางผ่านของการค้ามนุษย์เพื่อบังคับใช้แรงงาน การแสวงหาประโยชน์ บังคับใช้แรงงาน หรือในธุรกิจทางเพศหรือค้าประเวณีและสถานการณ์การค้ามนุษย์มีแนวโน้มเพิ่ม สูงขึ้นทุกปีแม้จะไม่มากเมื่อเทียบกับคดีอาญาประเภทอื่นแต่มีความรุนแรง เนื่องจากเป็นคดีอาญาที่มีความซับซ้อน เป็นอาชญากรรมข้ามชาติ ผู้กระทำความผิดทำงานเป็นเครือข่าย มีความเกี่ยวข้องกับผู้มีอิทธิพล ผู้เสียหายไม่ให้ความร่วมมือทำให้การดำเนินคดีมีความยุ่งยาก จังหวัดบึงกาฬมีความเสี่ยงต่อสถานการณ์การค้ามนุษย์ เพราะพื้นที่ 4 อำเภอ คือปากคาด เมืองบึงกาฬ บุ่งคล้าและบึงโขงหลงติดแม่น้ำโขงยาวกว่า 120 กิโลเมตร ซึ่งเป็นเส้นกั้นเขตแดนระหว่างประเทศไทยกับสปป.ลาว อาจทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายและอพยพของหญิงและเด็กชาวลาวเข้ามาในประเทศไทย เพื่อการเข้ามาหางานทำหรือถูกนายหน้าหลอกลวง การฝึกอบรมในครั้งนี้เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ พรบ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2556 และวิธีปฏิบัติต่างๆเกี่ยวกับการคัดแยกเพื่อช่วยเหลือคุ้มครองผู้เสียหายจาก การค้ามนุษย์และวิธีดำเนินคดีผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการค้ามนุษย์ ให้กับเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องเพื่อจะได้ปฏิบัติงานได้อย่างทันท่วงที ถูกต้อง รวดเร็วและแม่นยำในการทำงาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น