วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เก็บตัวอย่างดินที่ไฟปะทุที่บึงชวน ตรวจสอบ

สำนักงานธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม สำนักงานทรัพยากรธรณีเขต 2 ขอนแก่น ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างดินตรวจพิสูจน์ หลังสื่อมวลชนนำเสนอข่าวพบดินปะทุไฟลุกที่บึงชวน ชี้ไฟที่เกิดขึ้นเกิดจากเศษวัชพืชที่ขุดลอกจากบึงมาทับถมเกิดสันดาบ โดยมี 3 ปัจจัยสนับสนุน คือ ตัวติดไฟ ออกซิเจน และความร้อน ไฟที่เกิดมีอันตรายเล็กน้อยเนื่องจากกลิ่นกำมะถันที่เกิดจากการเผาไหม้ส่งกลิ่นขึ้นมา

นายวีรวัฒน์ ธิติสวรรรค์ ผู้อำนวยการส่วนธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม สำนักงานทรัพยากรธรณีเขต 2 ขอนแก่น ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างดินที่เกิดไฟปะทุลุกไหม้ขึ้นที่บริเวณบึงชวน หลังสื่อมวลชนเสนอข่าวเกรงสร้างความแตกตื่น โดยมีเจ้าหน้าที่ของสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดอุดรธานี และนายอำนวย อินทรธิราช นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่เจ้าของพื้นที่และชาวบ้านในละแวกดังกล่าว และสื่อมวลชนร่วมสังเกตการณ์และทำข่าว

นายสุริยัน กิติอาสา ราษฎรบ้านนาบัว ( 113 หมู่ 6 บ้านนาบัว ตำบลบ้านขาว อำเภอเมือง) ผู้พบเห็นไฟปะทุลุกไหม้ที่บริเวณริมบึงชวนคนแรก เล่าว่า ก่อนหน้านี้เมื่อประมาณเดือนมีนาคมที่ผ่านมาขณะที่ตนมาจับปลาโดยมีสุนัขตาม มาด้วย สนุขได้วิ่งจับหนูหายไปตนจึงไปตามหาเห็นสุนัขวิ่งไปมาและมีไฟลุกไหม้อยู่ มองไปรอบๆก็ไม่เห็นมีใคร ตนจึงนำน้ำมาดับแต่ไฟก็ไม่ดับ เกรงว่าจะทำให้เกิดไฟไหม้จึงไปบอกจั้ม ( หมอทรงหมอธรรมประจำหมู่บ้าน)ให้ทราบ พอชาวบ้านทราบข่าวต่างแห่พากันมาดูเป็นจำนวนมาก บางคนนำธูปเทียนมากราบไหว้ เพราะคิดว่าเป็นเรื่องศักดิ์สิทธิ์ ในขณะวันนี้บริเวณที่เกิดไฟปะทุลดน้อยลงเนื่องจากฝนที่ตกลงมาอย่างหนักเมื่อ คืนที่ผ่านมา และในการเก็บตัวอย่างดินของเจ้าหน้าที่สำนักงานทรัพยากรธรณีเขต 2 ขอนแก่น ได้ทำการเจาะดินลึกลงไปประมาณ 2.5 เมตร เพื่อนำตัวอย่างดินแต่ละชั้นไปวิเคราะห์โดยจะส่งไปตรวจที่กรุงเทพ

นายวีรวัฒน์ ธิติสวรรรค์ ผู้อำนวยการส่วนธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อม สำนักงานทรัพยากรธรณีเขต 2 ขอนแก่น กล่วว่า จากการตรวจสอบเบื้องต้น ดินดังกล่าวถือเป็นชนิดเดียวกันกับดินป่าพลุ ที่มีส่วนผสมของซากพืชซากสัตว์มานาน ส่วนสาเหตุที่เกิดไฟลุกไหม้จากใต้ดินได้นั่น น่าจะเกิดจาก3 ปัจจัย คือมีตัวติดไฟ ออกซิเจนและความร้อน พร้อมยืนยันว่าไฟที่เกิดไม่เป็นอันตราย การเผาไหม้พบว่ามีกำมะถันขึ้นมานิดหน่อย ประชาชนอย่าตื่นตระหนกตกใจเป็นการเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ

นายอำนวย อินทรธิราช นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่ เปิดเผยว่า หลังจากมีการนำเสนอข่าวออกไปตนเองได้รายงานให้นายอำเภอ กรมทรัพยากรธรณี ผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อรายงานผลทราบความคืบหน้า ส่วนพื้นที่บริเวณนี้ก็จะบ่อยไว้เพราะไม่มีอันตรายกับชาวบ้าน ในขณะที่ อบต.จะดูแลอยู่ห่างๆ ในขณะที่ประชาชนที่ทราบข่าวทยอยเดินทางมาดูว่าไหม้อย่างไร ความร้อนเป็นอย่างไร ดินทรุดเป็นอย่างไร ซึ่งปัจจุบันดินทรุดลงเยาะ และมีชาวบ้านเข้ามาดูเยาะมากเพราะถือว่าเป็นเรื่องแปลก แต่ก็ไม่อยากให้ตื่นตระหนกกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ดินบริเวณที่เกิดไฟปะทุ เป็นดินที่ขุดลอกบึงชวนเพื่อทำคูน้ำเมื่อปี 2544 ซึ่งกรมพัฒนาที่ดินมาทำการขุดลอกไว้ ผ่านมากว่า 10 ปี ไม่เคยเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ นี้เป็นครั้งแรก ซึ่งตนเองคิดว่าการทับถมของซากพืชซากสัตว์ที่ทับถมกันมาเป็นระยะเวลานานทำ ให้ร้อนระอุขึ้นมาในครั้งนี้

ในขณะที่ผู้สื่อข่าวถามว่ามีความเป็นไปได้แค่ไหนที่จะมีการพัฒนาให้บึงชวน เป็นแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดอุดรธานี นั้น นายอำนวย อินทรธิราช นายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่ เปิดเผยว่า องค์การบริหารส่วนตำบลนาพู่ ได้รับงบประมาณจากรัฐบาล 235 ล้านบาท ในปี 2557-2558 เพื่อขุดลอกบึงชวน เกือบ100 % เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวและเป็นแก้มลิงของอุดรธานีด้วย



ทีมข่าวส.ปชส.อด. ศรีภูมิ ทองใหญ่ ณ อยุธยา ข่าว/ภาพ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น