วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

AEC : ASEAN Economic Community และ AEC คืออะไร

AEC คืออะไร ตอบ อาเซียนให้ความสำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจร่วมกันอย่างต่อเนื่อง หลังจากการดำเนินการไปสู่การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนหรืออาฟตา (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ได้บรรลุเป้าหมายในปี 2546 ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 8 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2545 ได้เห็นชอบให้อาเซียนกำหนดทิศทางการดำเนินงานเพื่อมุ่งไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community: EEC) และให้อาเซียนปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานภายในของอาเซียนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ในการประชุมสุดยอดอาเซียนในปี 2546 ผู้นำอาเซียนได้ออกแถลงการณ์ Bali Concord II
เห็นชอบให้มีการรวมตัวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ภายในปี 2563 และให้เร่งรัด
การรวมกลุ่มเพื่อเปิดเสรีสินค้าและบริการสำคัญ 11 สาขา (priority sectors) ได้แก่ การท่องเที่ยว การบิน
ยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งทอ อิเล็กทรอนิกส์ สินค้าเกษตร ประมง เทคโนโลยีสารสนเทศและ สุขภาพ

อาเซียน (ASEAN) ประกอบด้วย 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย (2510) สิงคโปร์ (2510) อินโดนีเซีย (2510) มาเลเซีย (2510) ฟิลิปปินส์ (2510) บรูไน (2527) เวียดนาม (2538) ลาว (2540) พม่า (2540) กัมพูชา (2542)

ไทยจะได้ประโยชน์อะไร จาก AEC ถามว่าทำไมต้องสร้างประชาคมอาเซียนและเมื่อสร้างแล้วไทยจะได้ประโยชน์อะไร อาเซียนเป็นกลุ่มความร่วมมือระดับภูมิภาคกลุ่มแรกๆ ของโลกที่ถือกำเนิดมาตั้งแต่ ปี 2510 โดยที่ผ่านมา แม้ภูมิภาคนี้จะต้องเผชิญกับภัยคุกคามที่หลากหลาย ตั้งแต่ภัยคอมมิวนิสต์ สงครามอินโดจีน การแข่งขันกันระหว่างมหาอำนาจเพื่อเข้ามามีอิทธิพลในภูมิภาคในยุคสงครามเย็น แต่ความร่วมมือในกรอบอาเซียนก็ทำให้ประเทศสมาชิกในภูมิภาคนี้มีความสงบสุข มั่นคง ปราศจากการใช้อาวุธเพื่อทำสงครามมาเป็นเวลากว่า 40 ปีโดยมีผลทำให้เกิดบรรยากาศที่เอื้อต่อการพัฒนาของประเทศสมาชิกทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบัน โลกยุคโลกาภิวัตน์เป็นโลกของความร่วมมือในระดับภูมิภาคเพื่อผลประโยชน์ทางความมั่นคง เศรษฐกิจ การค้า และต่อต้านภัยคุกคามต่างๆ ประเทศในภูมิภาคอื่นๆ เช่น ยุโรป อเมริกา เอเชีย และแอฟริกาต่างก็รวมกลุ่มกันเพื่อสร้างโอกาสและอำนาจต่อรอง และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันทางการค้าและการลงทุน ทั้งสหภาพยุโรป (EU) เขตการค้าเสรีในภูมิภาคอเมริกาเหนือ (NAFTA) สหภาพแอฟริกา (AU) เป็นต้น

ในบริบทเช่นนี้ ประเทศไทยประเทศเดียวมีประชากรแค่ 60 กว่าล้านคน มี GDP 4 พันกว่าล้านบาท คงไม่สามารถแข่งขันกับกลุ่มประเทศเหล่านี้ หรือมหาอำนาจใหม่ทางเศรษฐกิจอย่างจีนหรืออินเดียได้ แต่ถ้ารวมกันเป็นประชาคมอาเซียนที่เป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวสำเร็จ เราจะมีประชากรรวมเกือบ 600 ล้านคน หรือ 1 ใน 10 ของประชากรโลก ที่มี GDP รวมเกือบ 30,000 ล้านบาท นับเป็นตลาดและแหล่งเงินทุนที่มีศักยภาพมหาศาล และยังเป็นฐานของไทยในการค้าขายกับตลาดอื่นๆ นอกภูมิภาคอีกด้วย นับตั้งแต่มีการก่อตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียนในปี 2535 เป็นต้นมา มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับอาเซียนก็เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด จนขณะนี้คิดเป็นเกือบ 20% ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย และทำให้อาเซียนได้ก้าวขึ้นมาเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทยแซงหน้าสหรัฐฯ และยุโรปไปแล้ว

การรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนยังจะช่วยกระชับความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรมเพื่อแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน เช่น ปัญหาความยากจน โรคติดต่อ ยาเสพติด สิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติทางธรรมชาติ แรงงาน ผู้ด้อยโอกาส โดยสิ่งเหล่านี้จะนำให้ประชาชนไทยและอาเซียนจะอยู่ในสังคมที่มีความแข็งแกร่ง มีจริยธรรมและธรรมาภิบาล และก่อให้เกิดความพอเพียงในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

ไทยเสียประโยชน์อย่างไร กับการก่อตั้ง AEC

1. การศึกษาในภาพใหญ่ของโลก มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ต้องไม่ให้การเปลี่ยนแปลงนี้มากระชากลากเราไปอย่างทุลักทุเล เราต้องเตรียมความพร้อมทันที ตลอดเวลา โดยเฉพาะบุคลากรต้องตามให้ทันและยืดหยุ่นปรับตัวให้รับสถานะการณ์ได้

2. ภาษาอังกฤษจะเป็นภาษากลางของ ASEAN บุคลากรและนักศึกษา ต้องเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ ให้สามารถสื่อสารได้

3. ปรับปรุงความเข้าใจทางประวัติศาสตร์ เพื่อลดข้อขัดแย้งในภูมิภาคอาเซียน (Conflict Management) จึงต้องคำนึงถึงการสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง ASEAN ให้มากขึ้น

4. สร้างบัณฑิตให้สามารถแข่งขันได้ใน ASEAN เพิ่มโอกาสในการทำงาน ไม่เช่นนั้น จะถูกแย่งงานเพราะเกิดการเคลื่อนย้ายแรงงาน/บริการอย่างเสรี คณะกรรมการวิชาชีพ สภาวิชาชีพ ต้องเตรียมการรองรับผลกระทบนี้อย่างเร่งด่วน

5. โอกาสในการเป็น Education Hub โดยอาศัยความได้เปรียบในเชิงภูมิศาสตร์ของประเทศไทย แต่ต้องเน้นในเรื่องของคุณภาพการศึกษาเป็นตัวนำ

6. เราต้องการเครื่องมือในการ Transform คน การเรียนแบบ PBL หรือ Project Based Learning น่าจะได้มีการวิจัยอย่างจริงจังและนำมาปรับใช้ ห้องเรียนไม่ใช่แค่ห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆอีกต่อไป ต้องเพิ่มการเรียนจากชีวิตจริง ลงมือทำเป็นทีม อยู่คนละประเทศก็ทำร่วมกันได้ด้วยไม่มีข้อจำกัดทางด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร ประเด็นนี้ อาจารย์จะสอนได้ยากขึ้น แต่เป็นผู้ที่ช่วยให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้ แสดงว่า อาจารย์ต้องมีความพร้อมมากกว่าเดิมและเก่งจริงๆMRAs

การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 เมื่อ 7 ตุลาคม 2546 ที่บาหลี อินโดนีเซีย ได้กำหนดจัดทำข้อตกลงร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements : MRAs)เกี่ยวกับคุณสมบัติของวิชาชีพหลัก แรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรี โดยจะเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2558 ในเบื้องต้น ได้ทำข้อตกลงร่วมกันแล้ว 7 สาขา คือ

1. วิศวกรรม (Engineering Services)

2. พยาบาล (Nursing Services)

3. สถาปัตยกรรม (Architectural Services)

4. การสำรวจ (Surveying Qualifications)

5. แพทย์ (Medical Practitioners)

6. ทันตแพทย์ (Dental Practitioners)

7. บัญชี (Accountancy Services)



ที่มา ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
http://www.gracezone.org/index.php/knowlage/307-2009-02-21-15-31-11
http://www.aseantalk.com/index.php?topic=7.0 http://www2.oae.go.th
http://variety.siam55.com/data/6/0443-1.html 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น