วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2556

การเตรียมความพร้อมเด็กไทยสู่เวทีอาเซียน

ยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อมเด็กไทยสู่เวทีอาเซียน จัดโดยคณะกรรมาธิการการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2556 ที่ห้องประชุมกรรมาธิการ 306-308 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา 2 ศธ.จึงได้มีแนวทางการเตรียมความพร้อมของเด็กไทยสู่เวทีอาเซียน ดังนี้

● การคิดวิเคราะห์ โลก ยุคปัจจุบันเราต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีสิ่งใหม่เกิด ขึ้นอย่างไม่คาดฝัน เด็กยุคใหม่จึงควรเป็นเด็กที่มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ เพื่อปรับเปลี่ยนและเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ ได้ดีมากกว่าเด็กที่สามารถท่องจำได้ดี ดังนั้นในระบบการศึกษาใหม่จึงไม่ควรให้เด็กท่องจำในสิ่งที่ไม่จำเป็น เพราะนอกจากจะไม่เกิดประโยชน์แล้ว ปัจจุบันมีข้อมูลใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกชั่วโมง ทุกวัน ทุกปี ไม่มีใครสามารถจำได้ทั้งหมด แต่จะทำอย่างไรให้เด็กของเราใฝ่รู้ รู้วิธีการหาความรู้ และวิเคราะห์ข้อมูลตามลำดับขั้นตอนได้ ส่วนการท่องจำก็คงจะยังต้องมีบ้างในส่วนหลักๆ หรือจำเฉพาะเรื่องพื้นฐานที่ต้องใช้ประโยชน์ ขณะนี้ ศธ.กำลังพิจารณาว่า สิ่งที่เด็กต้องเรียนรู้ควรมีแค่ไหนอย่างไร

● การปฏิรูปหลักสูตร ปัจจุบันเด็กไทยใช้เวลาเรียนถึง 1,200 ชั่วโมง ซึ่งมากกว่าประเทศอื่น และมากกว่ามาตรฐานของยูเนสโก คือ 800 ชั่วโมง แต่เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ เด็กไทยยังรู้น้อยกว่า ศธ.จึงมีการปฏิรูปหลักสูตรเพื่อลดจำนวนชั่วโมงเรียน ในห้องเรียน เพราะหลายประเทศที่มีคุณภาพการศึกษาดีกว่าไทย แต่เด็กใช้เวลาเรียนน้อยกว่ามาก จึงต้องการให้เด็กไทยเรียนเท่าที่จำเป็นในแต่ละระดับชั้น แต่ก็จะสอดแทรกและกระตุ้นให้เด็กคิดวิเคราะห์ลงไปในทุกรายวิชา

● ภาษา การ เข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558 เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของประเทศในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งเครื่องมือหนึ่งที่จะทำให้ทุกคนได้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงคือ ภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษากลางของอาเซียนและเป็นภาษาที่ทั่วโลกใช้สื่อ สารกัน หากเราสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดีก็จะเป็นการเปิดโอกาสของเรากว้างขึ้นแม้ว่า จะอยู่ในประเทศไทยก็ตาม นอกจากนี้ปัจจุบันมีนักธุรกิจไทยไปลงทุนในต่างประเทศทั่วโลก เช่น โรงถลุงเหล็กในอังกฤษ ธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่เยอรมัน ธุรกิจเครื่องดื่มขนาดใหญ่ในสิงคโปร์ ฉะนั้นเมื่อมีการเปิดประชาคมอาเซียน ก็จะมีประชากรเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนกว่า 600 ล้านคน และจะมีนักธุรกิจไทยอีกจำนวนมากขยายธุรกิจออกไปยังต่างประเทศ หรือมีคนไทยออกไปทำงานในบริษัทหรือธุรกิจของไทยในต่างประเทศ ภาษาอังกฤษจึงเป็นภาษาที่มีความสำคัญต่อคนไทยอย่างมาก ทั้ง นี้ ศธ.ได้มีการพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ แต่ต้องยอมรับว่าครูไทยที่สอนภาษาอังกฤษมีไม่เพียงพอและครูไทยก็ไม่ได้เรียน ภาษาอังกฤษจากเจ้าของภาษา นอกจากนี้คนไทยส่วนใหญ่จะถนัดการใช้ภาษาอังกฤษในการเขียนและอ่านมากกว่า จึงมีปัญหาเรื่องการฟังและพูด ทั้งที่ในการใช้งานจริงจะใช้การพูดกับการฟังมากกว่าเขียนและอ่าน ดังนั้น ศธ.จึงพยายามพัฒนาทักษะการพูดและฟังภาษาอังกฤษให้ดีขึ้น โดยมีการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษในโรงเรียนหลายหลักสูตร เช่น English Program : EP โดยใช้ครูต่างประเทศที่มีความร่วมมือ ไม่ว่าจะเป็นอังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฟิลิปปินส์ ภูฏาน หรือ Mini English Program : MEP โดยให้ครูไทยใช้ภาษาอังกฤษในการสอนวิชาต่างๆ เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมี English for Integrated Study : EIS ให้ ครูไทยสอนวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และคอมพิวเตอร์เป็นภาษาอังกฤษ ทำให้ครูและเด็กสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดีขึ้น เพราะวิชาเหล่านี้ไม่ต้องใช้การอธิบายมาก ทำให้ครูพูดน้อยลง และเด็กจะมีโอกาสคิดมากขึ้น

สำหรับ โรงเรียนที่สามารถจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษได้อย่างดีมาก คือ โรงเรียนนานาชาติ แต่เราก็ไม่สามารถยกระดับนักเรียนไทยจำนวนประมาณ 7-8 ล้านคนให้มีความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษเท่าโรงเรียนนานาชาติได้ แต่หลักสูตรดังกล่าวข้างต้นจะมีส่วนช่วยให้นักเรียนสามารถสื่อสารได้ ฟังรู้เรื่อง แม้ว่าสำเนียงจะไม่ไพเราะเท่าสำเนียงของชาวอังกฤษหรืออเมริกัน แต่อย่างน้อยเด็กเหล่านี้ก็จะสามารถสื่อสารกับชาวต่างชาติได้ และอาจพัฒนาสำเนียงการพูดได้ในภายหลัง นอก จากคนไทยจะต้องรู้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษแล้ว จะต้องรู้ภาษาอื่นเพิ่มอีก 1 ภาษา เพื่อให้ /..เกิดการได้เปรียบ เกิดการได้เปรียบ เพราะภาษาอังกฤษไม่ได้ทำให้เราได้เปรียบ แต่หากเราไม่รู้จะเสียเปรียบ ภาษาอื่นอีก 1 ภาษาจะเป็นจุดที่ทำให้เราได้เปรียบ ไม่ว่าจะเป็นภาษาบาฮาซ่า ซึ่งมีการใช้ในพื้นที่ที่ติดต่อกับภาคใต้ของไทยกว่า 300 ล้านคน หรือภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ฯลฯ โดย ศธ.พยายามจะส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาต่างๆ ให้มีความหลากหลายเพิ่มขึ้น

● การเตรียมคนเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การ เข้าสู่ประชาคมอาเซียนมีทั้งวิกฤตและโอกาส มีการเปลี่ยนแปลงที่หากเราตั้งตัวรับไม่ดีก็อาจจะมีผลกระทบ สิ่งที่ต้องเตรียมคนคือ ต้องรู้ว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร อะไรจะเกิดขึ้น พร้อมทั้งเปลี่ยนความเปลี่ยนแปลงนี้ให้เป็นโอกาส รวมทั้งต้องมีการเรียนรู้เพิ่มเติม อะไรที่จะเป็นช่องทาง เป็นโอกาส อะไรที่ต้องระมัดระวังเพื่อป้องกันตัวเอง อีกส่วนหนึ่งที่จะเป็นประชาคมอาเซียนได้ ต้องมีความรับรู้และจิตสำนึกในการขับเคลื่อนร่วมกัน ศธ.จึงกระตุ้นให้เด็กได้รู้ว่าจาก 1 ประเทศของเราจะกลายเป็น 10 ประเทศ เพื่อให้เกิดความกลมกลืนในการทำงานร่วมกัน และทำให้สามารถขับเคลื่อนอาเซียนซึ่งมีสมาชิก 600 ล้านคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

● การเตรียมคนเข้าสู่ตลาดแรงงาน เรา จะจัดการศึกษาเพื่อทำให้คนไทยเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานได้อย่างไร ปัจจุบัน ศธ.ผลิตคนเพื่อให้ประกอบอาชีพได้ และอีกส่วนหนึ่งเพื่อเข้าสู่ภาคการผลิต ภาคอุตสาหกรรม ภาคธุรกิจ ภาคการเกษตร และภาคการบริการ ซึ่งขณะนี้มีเสียงสะท้อนจากภาคธุรกิจเกี่ยวกับการทำงานว่า ผู้เรียนที่จบออกไปจะต้องใช้เวลาอีกกว่า 1 ปีจึงจะทำงานให้ได้ตามความต้องการ จึงมีคำถามกลับมายัง ศธ.ว่า เหตุใดจึงจะต้องใช้เวลามาฝึกเด็กที่เรียนจบอีก

สิ่งที่เห็นคือไม่มีการจัดการศึกษาใดที่จะตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ได้ดี เท่ากับผู้ใช้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ประเทศที่เป็นแม่แบบเรื่องทวิภาคีได้ดี ได้แก่ เยอรมัน สวิตเซอร์แลนด์ และออสเตรีย โดยเฉพาะในเยอรมัน ผู้ใช้จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการสร้างคนตั้งแต่กำลังศึกษา มีการคัดเลือกคนเพื่อเป็นลูกมือฝึกหัด ทุ่มเทงบประมาณในการพัฒนาคน โดยเรียนภาคทฤษฎีในสถาบันการศึกษา ไปฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการจริงโดยได้รับเงินเดือน และเมื่อจบการศึกษาแล้วจะไปทำงานที่ใดก็ได้ แต่เด็กส่วนใหญ่ก็เข้าทำงานในสถานประกอบการที่ตนเองฝึกปฏิบัติ เพราะเด็กได้เรียนในสาขาที่ต้องการ ได้รับเงินเดือนระหว่างฝึกงาน และมีงานทำแน่นอนเมื่อจบการศึกษา

ในส่วนของสถานประกอบการ ก็จะได้คนที่ตรงตามความต้องการ และทำให้สถาบันการศึกษาเกิดการแลกเปลี่ยนครูและความรู้ระหว่างผู้สอนกับผู้ ประกอบการ ทำให้การศึกษามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีความร่วมมือด้านต่างๆ ที่สถาบันการศึกษาจะให้แก่ภาคธุรกิจ เช่น งานวิจัย นอกจากนี้ที่ประเทศอังกฤษได้มีการพัฒนาเครื่องยนต์ของเครื่องบิน แอร์บัส A350 ระหว่างบริษัท Rolls-Royce กับ สถาบันการศึกษา ส่วน /... ประเทศจีน ประเทศจีนก็มีความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับภาคธุรกิจ เช่น โรงแรมส่งกุ๊กมาสอนในโรงเรียน และ รับเด็กจากโรงเรียนไปฝึกงานในโรงแรม ส่วนครูจีนจะสอนในโรงเรียนประมาณ 5 ปี จากนั้นให้ออกไปทำงานข้างนอกเป็นเวลา 6 เดือน เพื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ใหม่ๆ แล้วจึงกลับมาสอน อย่างไรก็ตาม ศธ.ก็มีการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี โดยร่วมมือกับภาคธุรกิจ การโรงแรม ธุรกิจอาหาร และเบเกอรี่ เช่น ร่วมกับ S&P บริษัท ซีเมนส์ ประเทศไทย ซึ่งเชี่ยวชาญเรื่องรถไฟฟ้ามีความต้องการคนจำนวนมากในการวางระบบราง หรือบริษัทจากเยอรมัน 3 บริษัท ได้แก่ บริษัท B.Grimm บริษัทBosch และบริษัท BMW ซึ่งภาคธุรกิจเหล่านี้ต้องการคนทั้งสิ้น และเมื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนเด็กของเราจะต้องมีความพร้อมในการทำงานมากขึ้น

● การเทียบคุณวุฒิวิชาชีพ มี คนจำนวนมากประกอบอาชีพโดยที่ไม่ได้มีความรู้มากมาย แต่สามารถดำเนินธุรกิจ จนบางรายขยายธุรกิจจนเติบโต คนเหล่านี้มีประสบการณ์จากการทำงานจริง เมื่อเทียบความรู้สามารถไปสอนคนที่เรียนระดับปริญญาเอกได้เลย เพราะมีความเก่งกว่าผู้ที่จบปริญญาเอกมาก และก็มีผู้ที่จบปริญญาเอกมาจ้างผู้มีประสบการณ์ไปทำงานให้ด้วย ศธ.จึงมีระบบเพื่อใช้วัดเทียบโอนประสบการณ์ต่างๆ กับการศึกษาในระบบทางการ ซึ่งเรียกว่า กรอบคุณวุฒิแห่งชาติ ที่เป็นตัวกำหนดเชื่อมต่อระหว่างคุณวุฒิทางการศึกษากับคุณวุฒิทางการทำ งาน โดยได้ดำเนินการปีนี้เป็นปีแรก และขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำกรอบรายละเอียดการวัดในแต่ละอาชีพ เมื่อเสร็จเรียบร้อยกรอบนี้ก็จะเชื่อมโยงไปยังอาเซียนด้วย เพราะการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนจะมีการเคลื่อนย้ายกลุ่มผู้ใช้ฝีมือแรงงานภาย ในอาเซียน กรอบนี้จะเป็นตัวกำหนด เช่น นักบัญชีชั้น 5 จะต้องมีมาตรฐานเดียวกันในอาเซียน คนในอาเซียนก็ต้องรู้ว่าตนเองอยู่ชั้นใด เข้าเงื่อนไขการรับสมัครหรือไม่ ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาร่วมกันระหว่างกลุ่มประเทศต่างๆ ในอาเซียน

● คุณธรรมจริยธรรม ศีลธรรม และจิตสำนึกประชาธิปไตย การสอนคนไม่ใช่สอนเพื่อให้มีความรู้ สามารถคิดวิเคราะห์ หรือมีความคิดสร้างสรรค์เท่านั้น แต่ต้องสอนความมีคุณธรรมจริยธรรม ศีลธรรม จิตสำนึกประชาธิปไตยด้วย ขณะนี้ ศธ.มีครูพระสอนศีลธรรม มีการนำเด็กและครูไปฝึกอบรมบ่มนิสัยด้านศาสนาอย่างต่อเนื่อง แต่อีกส่วนหนึ่งที่มีความจำเป็น คือ การปลูกฝังเรื่องเหล่านี้ให้กับเด็ก ไม่ใช่การสอนเฉพาะในห้องเรียน แต่ต้องปลูกฝังด้วยวิธีการปฏิบัติในทุกๆ วัน ตั้งแต่เป็นเด็กเล็กจนเติบโต ให้เกิดการซึมซับจนกลายเป็นนิสัย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น