วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ผู้ตรวจราชการแผ่นดินลงพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ สำรวจปัญหาเพื่อบูรณาการบริหารจัดการน้ำ

ผู้ตรวจราชการแผ่นดินลงพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ สำรวจปัญหาเพื่อบูรณาการบริหารจัดการน้ำ หลังหลายพื้นที่ของจังหวัดถูกน้ำท่วมหนักในรอบหลายสิบปี และจะสร้างจังหวัดสุรินทร์เป็นต้นแบบภาคอีสานในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว

วันที่ 2 ต.ค. 56 ที่ห้องประชุมโครงการชลประทานสุรินทร์ ศาสตราจารย์ ดร.ศรีราชา เจริญพานิช ผู้ตรวจราชการแผ่นดิน พร้อมด้วยนายปราโมทย์ ไม้กลัด ที่ปรึกษาผู้ตรวจการแผ่นดิน และคณะผู้ตรวจ ได้ประชุมกับหัวหน้าส่วนราชการ และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการน้ำของจังหวัดสุรินทร์ หลังจากจังหวัดสุรินทร์ ต้องเผชิญกับสภาพปัญหาอุทกภัยเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา และ บางพื้นที่ของจังหวัดยังมีน้ำท่วมขังอยู่ ซึ่งการเดินทางมาก็เพื่อที่จะรับทราบข้อมูลและสภาพปัญหาการจัดการน้ำในพื้นที่ การรุกล้ำลำรางน้ำสาธารณะ และ หาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาในอนาคต          เนื่องจากผู้ตรวจราชการแผ่นดินที่ได้รับหนังสือร้องเรียนจาก ดร.ฟาริดา สุไลมาน สาระสำคัญโดยสรุปว่า พื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ที่มีพื้นที่ปลูกข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดของโลก มีปัญหาเรื่องการจัดการน้ำ โดยเฉพาะหน้าแล้ง ที่ไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตรอย่างเพียงพอ และในช่วงฤดูน้ำก็ท่วมขังจนทำให้พืชผลทางการเกษตรเสียหาย ซึ่งจากการศึกษาปัญหาการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ พบว่าในช่วงฤดูน้ำหลากบางพื้นที่มีน้ำท่วมมาก แต่ไม่สามารถกักเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตรและการอุปโภค - บริโภคในฤดูได้ หากสามารถประสานกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อย่างกรมชลประทาน และ หน่วยงานต่างๆ ทั้ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมเจ้าท่า หน่วยงานทางทหาร เพื่อร่วมสนับกำลังพล และ เครื่องจักร ในการแก้ไข พัฒนา แหล่งน้ำในพื้นที่

จากนั้นคณะทั้งหมดได้ลงพื้นที่บริเวณท้ายเทศบาลเมืองสุรินทร์ ซึ่งเป็นจุดระบายน้ำและผันน้ำออกจากตัวเขตเทศบาล ครั้งที่เกิดน้ำท่วมในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสุรินทร์ เพื่อให้มองเห็นสภาพทางกายภาพของการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเขตเทศบาลที่ผ่านมา และ ลงพื้นที่อีกหลายจุดของจังหวัดสุรินทร์ โดยคณะผู้ตรวจราชการแผ่นดิน มีกำหนดลงพื้นที่หลายจุด อาทิ พื้นที่แก้มลิง ฝาย และอ่างเก็บน้ำของจังหวัดสุรินทร์ เพื่อติดตามปัญหาการจัดการน้ำ เพื่อศักยภาพในการบรรเทาปัญหาภัยแล้งซ้ำซากของจังหวัดสุรินทร์ในคราวเดียวกันอย่างยั่งยืนต่อไป

ศาสตราจารย์ ดร.ศรีราชา เจริญพานิช ผู้ตรวจราชการแผ่นดิน กล่าวว่าการเพิ่มพื้นที่สีเขียวเป็นปัจจัยสำคัญที่จะต้องทำ ซึ่งการมาครั้งนี้ก็เพื่อที่จะร่วมมือกับจังหวัดสุรินทร์และผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ ช่วยกันรณรงค์ให้สิ่งเหล่านี้เป็นจริงมากขึ้้น ตนคิดว่าคงไม่เหลือบ่ากว่าแรงที่จะร่วมมือกัน ซึ่งประโยชน์เหล่านี้ อย่างน้อยให้จังหวัดสุรินทร์ เป็นจังหวัดต้นแบบของภาคอีสานที่จะสำริดผล



ส.ปชส.สุรินทร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น