ปชช.นักท่องเที่ยวแห่ชมปากปล่องภูเขาไฟและศึกษาตำนานพันธุ์ไม้พื้นเมืองบนยอดภูเขาไฟกระโดงบุรีรัมย์ช่วงหยุดยาว ปชช.นักท่องเที่ยวแห่พาครอบครัวขึ้นไปเที่ยวสะพานแขวนข้ามปากปล่องภูเขาไฟ ที่มอดดับสนิทมาแล้วกว่า 9 แสนปี พร้อมชมหินลอยน้ำที่มีเพียงแห่งเดียว และศึกษาตำนาน "ต้นโยนีปีศาจ” พันธุ์ไม้พื้นเมืองหายาก ในช่วงหยุดยาววันมาฆบูชาคึกคัก วันนี้ (15 ก.พ.57) นักท่องเที่ยวทั้งในจังหวัดบุรีรัมย์และต่างจังหวัด ต่างพาครอบครัวเดินทางขึ้นไป กราบสักการะพระสุภัทรบพิตรจำลององค์ใหญ่ ที่ตั้งอยู่บนยอดภูเขาไฟกระโดง ต.เสม็ด อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ ในช่วงวันหยุดยาวคึกคัก ทั้งนี้นักท่องเที่ยวยังได้ขึ้นไปเที่ยวชมสะพานแขวนข้ามปากปล่องภูเขาไฟ ที่มอดดับสนิทมาแล้วประมาณ 9 แสนปี มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 265 เมตร โดยปากปล่องภูเขาไฟดังกล่าวจะเป็นรูปพระจันทร์ครึ่งซีก ยอดเนินเขาเป็นขอบปล่องด้านทิศใต้เรียกว่า เขาใหญ่ ส่วนยอดเนินเป็นขอบปล่องด้านทิศเหนือเรียกว่า เขาน้อย หรือเขากระโดง ส่วนบริเวณที่เป็นขอบปล่องปะทุคือ บริเวณที่เป็นหุบเขา ปัจจุบันมีสภาพเป็นสระน้ำ เป็นซากภูเขาไฟที่ยังคงสภาพดีและมีอายุน้อยที่สุดในประเทศไทย มีเส้นทางเดินชมรอบปล่อง และมีสะพานแขวนให้ยืนชมจากมุมสูงได้อย่างชัดแจน
ทั้งนี้นักท่องเที่ยวยังได้ชมหินลอยน้ำที่มีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย และศึกษาตำนาน "ต้นโยนีปีศาจ” ที่ได้รับพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองหายาก ที่ภาษาถิ่นหรือคนเขมรเรียกว่า "ต้น กะนุยขมอย” ด้านนายรณภพ ณรงค์ หัวหน้าวนอุทยานภูเขาไฟกระโดง กล่าวว่า วนอุทยานภูเขาไฟกระโดงถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัด แต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวขึ้นมาเที่ยวชมปีละไม่น้อย 150,000 – 200,000 คน โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลหรือที่มีวันหยุดยาวติดต่อกันหลายวัน จะมีนักท่องเที่ยวขึ้นมาเที่ยวชมคึกคักเป็นพิเศษ เพราะนอกจากนักท่องเที่ยวจะมากราบสักการะขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้ว ยังได้สัมผัสธรรมชาติบนยอดเขา และศึกษาตำนานประวัติความเป็นมาของภูเขาไฟกระโดงดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้นักท่องเที่ยวยังได้ชมหินลอยน้ำที่มีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย และศึกษาตำนาน "ต้นโยนีปีศาจ” ที่ได้รับพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้พื้นเมืองหายาก ที่ภาษาถิ่นหรือคนเขมรเรียกว่า "ต้น กะนุยขมอย” ด้านนายรณภพ ณรงค์ หัวหน้าวนอุทยานภูเขาไฟกระโดง กล่าวว่า วนอุทยานภูเขาไฟกระโดงถือเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัด แต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวขึ้นมาเที่ยวชมปีละไม่น้อย 150,000 – 200,000 คน โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลหรือที่มีวันหยุดยาวติดต่อกันหลายวัน จะมีนักท่องเที่ยวขึ้นมาเที่ยวชมคึกคักเป็นพิเศษ เพราะนอกจากนักท่องเที่ยวจะมากราบสักการะขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้ว ยังได้สัมผัสธรรมชาติบนยอดเขา และศึกษาตำนานประวัติความเป็นมาของภูเขาไฟกระโดงดังกล่าวด้วย
สุรชัย พิรักษา สวท. บุรีรัมย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น