ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เผยมีเกษตรกรทำนาปรังกว่า แสนไร่ เกินโควตา กว่า 3 เท่าตัว วอนประชาชนที่อาศัยอยู่ต้นน้ำ เห็นใจปลายน้ำ แนะสูบขึ้นมาแค่พอใช้
วันนี้ (20 ก.พ.57) ดร.วินัย บัวประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวถึงสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ว่า ขณะนี้สถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่มีความรุนแรงมากขึ้น แม้ว่าทางจังหวัดยังไม่มีการประกาศพื้นที่ประสบภัยแล้งอย่างชัดเจน แต่ได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อช่วยเหลือในกรณีที่เกิดภัยแล้งขึ้น โดยได้มีการตั้งศูนย์ขึ้นในระดับจังหวัด อำเภอ ท้องถิ่น ทั้ง 32 อำเภอ ตรวจข้อมูล และมีการประชุมร่วมกับทางชลประทาน ให้ความสำคัญกับน้ำอุปโภค บริโภค เป็นอันดับแรก น้ำเพื่อการเกษตรรองลงมา รวมทั้งน้ำเพื่อการอุตสาหกรรมเป็นสิ่งสุดท้าย
ดร.วินัย กล่าวอีกว่า ส่วนน้ำในอ่างเก็บน้ำ 5 แห่ง ภาพรวมมีปริมาณ ร้อยละ 91 แต่เขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำสูงสุด คือ เขื่อนลำแชะ อ.ครบุรี มีปริมาณน้ำ 103 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาเป็นเขื่อนลำตะคอง อ.สีคิ้ว แต่น้ำส่วนใหญ่จะอยู่เขตพื้นที่ชลประทานเป็นหลัก พี่น้องประชาชน เกษตรกรได้ทำการสูบน้ำไปทำนาปรัง จึงอยากฝากพี่น้องประชาชน เกษตรกร ว่า ในช่วงหน้าแล้งนี้ทางจังหวัดได้มีการประกาศให้มีการงดทำนาปรังและหันไปปลูกพืชใช้น้ำน้อย ไม่เช่นนั้นประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ปลายน้ำจะมีน้ำใช้ในการอุปโภค บริโภค ไม่เพียงพอ จากน้ำที่เขื่อนได้ปล่อยลงไป ขณะนี้มีเกษตรกรที่ทำนาปรังกว่า 1 แสน ไร่ ซึ่งเกินกว่าโควตาที่ทางจังหวัดให้ทำนาปรังได้เพียง 2-3หมื่นไร่ เท่านั้น
ส่วนเรื่องงบประมาณ ขณะนี้มีส่วนของท้องถิ่นที่ต้องช่วยเหลือเป็นอันดับแรก แต่หลังจากที่ทางจังหวัดประกาศพื้นที่ประสบภัยแล้งแล้ว จะมีงบประมาณ 20 ล้านบาท เข้าไปช่วยเหลือ ในส่วนความเสียหายจากภัยแล้งจะมีการรวบรวมข้อมูลส่งให้กระทรวงเกษตรฯ ของบส่วนกลางมาช่วยเหลือประชาชนต่อไป ขณะนี้รัฐบาลให้ช่วยดูและแก้ไขปัญหาให้มีการบูรณาการกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่มีการเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือประชาชน
วันนี้ (20 ก.พ.57) ดร.วินัย บัวประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวถึงสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ว่า ขณะนี้สถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่มีความรุนแรงมากขึ้น แม้ว่าทางจังหวัดยังไม่มีการประกาศพื้นที่ประสบภัยแล้งอย่างชัดเจน แต่ได้มีการเตรียมความพร้อมเพื่อช่วยเหลือในกรณีที่เกิดภัยแล้งขึ้น โดยได้มีการตั้งศูนย์ขึ้นในระดับจังหวัด อำเภอ ท้องถิ่น ทั้ง 32 อำเภอ ตรวจข้อมูล และมีการประชุมร่วมกับทางชลประทาน ให้ความสำคัญกับน้ำอุปโภค บริโภค เป็นอันดับแรก น้ำเพื่อการเกษตรรองลงมา รวมทั้งน้ำเพื่อการอุตสาหกรรมเป็นสิ่งสุดท้าย
ดร.วินัย กล่าวอีกว่า ส่วนน้ำในอ่างเก็บน้ำ 5 แห่ง ภาพรวมมีปริมาณ ร้อยละ 91 แต่เขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำสูงสุด คือ เขื่อนลำแชะ อ.ครบุรี มีปริมาณน้ำ 103 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาเป็นเขื่อนลำตะคอง อ.สีคิ้ว แต่น้ำส่วนใหญ่จะอยู่เขตพื้นที่ชลประทานเป็นหลัก พี่น้องประชาชน เกษตรกรได้ทำการสูบน้ำไปทำนาปรัง จึงอยากฝากพี่น้องประชาชน เกษตรกร ว่า ในช่วงหน้าแล้งนี้ทางจังหวัดได้มีการประกาศให้มีการงดทำนาปรังและหันไปปลูกพืชใช้น้ำน้อย ไม่เช่นนั้นประชาชนที่อาศัยในพื้นที่ปลายน้ำจะมีน้ำใช้ในการอุปโภค บริโภค ไม่เพียงพอ จากน้ำที่เขื่อนได้ปล่อยลงไป ขณะนี้มีเกษตรกรที่ทำนาปรังกว่า 1 แสน ไร่ ซึ่งเกินกว่าโควตาที่ทางจังหวัดให้ทำนาปรังได้เพียง 2-3หมื่นไร่ เท่านั้น
ส่วนเรื่องงบประมาณ ขณะนี้มีส่วนของท้องถิ่นที่ต้องช่วยเหลือเป็นอันดับแรก แต่หลังจากที่ทางจังหวัดประกาศพื้นที่ประสบภัยแล้งแล้ว จะมีงบประมาณ 20 ล้านบาท เข้าไปช่วยเหลือ ในส่วนความเสียหายจากภัยแล้งจะมีการรวบรวมข้อมูลส่งให้กระทรวงเกษตรฯ ของบส่วนกลางมาช่วยเหลือประชาชนต่อไป ขณะนี้รัฐบาลให้ช่วยดูและแก้ไขปัญหาให้มีการบูรณาการกันระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในพื้นที่มีการเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือประชาชน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น