จังหวัดมหาสารคาม พร้อมที่จะขับเคลื่อนการพัฒนาตลาดข้าวหอมมะลิ ด้วยการบริหารจัดการที่ยั่งยืน แข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน รักษาสภาพแวดล้อม สร้างความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ. 2558
ในการอบรม"การพัฒนาตลาดข้าวหอมมะลิ” ตามโครงการพัฒนาผู้ประกอบการตลาดข้าวหอมมะลิจังหวัดมหาสารคาม ที่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งสำนักงานพาณิชย์จังหวัด สำนักงานเกษตรจังหวัด และสำนักงานสหกรณ์จังหวัด ร่วมกันดำเนินการ นำเกษตรกร สมาชิกสหกรณ์การเกษตร ผู้ประกอบการค้าข้าว โรงสี ท่าข้าว และผู้เกี่ยวข้องกว่า 100 คน มาเข้ารับการอบรม เพื่อให้เป็นไปตาม นโยบาย การบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับสินค้าเกษตรที่สำคัญ หรือ โซนนิ่งของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ให้ประกาศเขตเหมาะสมภายใต้หลักวิชาการกำหนดพื้นที่สำหรับการผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญ 20 ชนิด และ ข้าว เป็นสินค้าเกษตรที่เกษตรกรสามารถปลูกได้ จังหวัดมหาสารคาม จึงได้สนองนโยบายดังกล่าว ด้วยการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านเกษตรกรรมของจังหวัด สำรวจพื้นที่ที่เหมาะสมและไม่เหมาะสมในการเพาะปลูกสินค้าเกษตรสำคัญ เช่น ข้าว อ้อย ยางพารา พร้อมจัดการอบรมเพื่อพัฒนาผลผลิตการเกษตรสินค้าข้าว ให้สามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน รักษาสภาพแวดล้อม สร้างความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ. 2558
นายนพวัชร สิงห์ศักดา ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ในฐานะประธานคณะทำงานขับเคลื่อนการบริหารจัดการสินค้าข้าวของจังหวัดอย่างยั่งยืน กล่าวว่า ในการที่จะพัฒนาตลาดข้าวหอมมะลิของจังหวัดมหาสารคามให้ประสบความสำเร็จ นอกจากจะมีปัจจัยในเรื่องของพื้นที่ที่เหมาะสมแล้ว ด้านคุณภาพต้องสามารถแข่งขันได้ โดยไม่เน้นปริมาณ อีกทั้งยังต้องมีการส่งเสริมการตลาดทั้งในและต่างประเทศเพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้ ซึ่งจากการสำรวจพื้นที่ที่เหมาะสมในปลูกข้าวหอมมะลิของจังหวัดมหาสารคาม พบว่ามีประมาณ 1ล้าน 7 แสนไร่ และจังหวัดมหาสารคามได้กำหนดยุทธศาสตร์ไว้ว่า ภายใน 5 ปี จังหวัดมหาสารคามจะเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ได้
ในการอบรม"การพัฒนาตลาดข้าวหอมมะลิ” ตามโครงการพัฒนาผู้ประกอบการตลาดข้าวหอมมะลิจังหวัดมหาสารคาม ที่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งสำนักงานพาณิชย์จังหวัด สำนักงานเกษตรจังหวัด และสำนักงานสหกรณ์จังหวัด ร่วมกันดำเนินการ นำเกษตรกร สมาชิกสหกรณ์การเกษตร ผู้ประกอบการค้าข้าว โรงสี ท่าข้าว และผู้เกี่ยวข้องกว่า 100 คน มาเข้ารับการอบรม เพื่อให้เป็นไปตาม นโยบาย การบริหารจัดการเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับสินค้าเกษตรที่สำคัญ หรือ โซนนิ่งของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ให้ประกาศเขตเหมาะสมภายใต้หลักวิชาการกำหนดพื้นที่สำหรับการผลิตสินค้าเกษตรที่สำคัญ 20 ชนิด และ ข้าว เป็นสินค้าเกษตรที่เกษตรกรสามารถปลูกได้ จังหวัดมหาสารคาม จึงได้สนองนโยบายดังกล่าว ด้วยการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ที่ดินด้านเกษตรกรรมของจังหวัด สำรวจพื้นที่ที่เหมาะสมและไม่เหมาะสมในการเพาะปลูกสินค้าเกษตรสำคัญ เช่น ข้าว อ้อย ยางพารา พร้อมจัดการอบรมเพื่อพัฒนาผลผลิตการเกษตรสินค้าข้าว ให้สามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้าน รักษาสภาพแวดล้อม สร้างความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ. 2558
นายนพวัชร สิงห์ศักดา ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม ในฐานะประธานคณะทำงานขับเคลื่อนการบริหารจัดการสินค้าข้าวของจังหวัดอย่างยั่งยืน กล่าวว่า ในการที่จะพัฒนาตลาดข้าวหอมมะลิของจังหวัดมหาสารคามให้ประสบความสำเร็จ นอกจากจะมีปัจจัยในเรื่องของพื้นที่ที่เหมาะสมแล้ว ด้านคุณภาพต้องสามารถแข่งขันได้ โดยไม่เน้นปริมาณ อีกทั้งยังต้องมีการส่งเสริมการตลาดทั้งในและต่างประเทศเพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้ ซึ่งจากการสำรวจพื้นที่ที่เหมาะสมในปลูกข้าวหอมมะลิของจังหวัดมหาสารคาม พบว่ามีประมาณ 1ล้าน 7 แสนไร่ และจังหวัดมหาสารคามได้กำหนดยุทธศาสตร์ไว้ว่า ภายใน 5 ปี จังหวัดมหาสารคามจะเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ได้
ส.ปชส.มหาสารคาม/ข่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น