นายทวีศักดิ์ สิงห์ดง พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดศรีสะเกษ ได้เปิดเผยกับทีมข่าว สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดศรีสะเกษ ว่า กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดศรีสะเกษ ได้จัดประชุมอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(อพม.) ระดับอำเภอ ขึ้น ในวันพุธที่ 21 พฤษภาคม 2557 ณ ห้องประชุมโรงแรมเกศสิริ อำเภอเมืองศรีสะเกษ มีอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(อพม.) จำนวนทั้งสิ้น 206 คน เข้าร่วมการประชุม เพื่อทบทวนการปฏิบัติงานและรับนโยบายการปฏิบัติงานตามโครงการ "เสริมพลังทางสังคมและการมีส่วนร่วม จังหวัดศรีสะเกษ ประจำปี 2557 และแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปฏิบัติงานตามแผนประจำปี
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดศรีสะเกษ ได้กล่าวอีกว่า ในภาวะกาการณ์ปัจจุบัน สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรมและเทคโนโลยี ฯลฯ คนไทยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญของวัตถุนิยมเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง มีความจำเป็นต้องเดินทางไปประกอบอาชีพ ดิ้นรนไขว่คว้าหารายได้เลี้ยงครอบครัวในสถานที่ไกลจากภูมิลำเนา หรือไม่ไกลจากภูมิลำเนาแต่ไม่มีเวลาให้ครอบครัว สมัยก่อนสภาพครอบครัวมีความเป็นอยู่ตามวิถีชีวิตชนบทมีความเมตตาโอบอ้อมอารีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันได้ลดลงไปมากสังคมเริ่มดำเนินชีวิตแบบตัวใครตัวมัน จึงทำให้ครอบครัวที่มีความอ่อนแออยู่แล้ว เช่น ครอบครัวยากจน คนพิการดูแลตนเองไม่ได้ เด็กถูกทอดทิ้ง ผู้สูงอายุอยู่ตามลำพัง ครอบครัวแตกแยก ปัญหายาเสพติติดคุกคามคนในครอบครัว ปัญหาการถูกกระทำด้วยความรุนแรง ครอบครัวที่มีผู้ป่วยเรื้อรังที่ไม่มีคนดูแล และผู้ป่วยเอดส์ ต้องเผชิญปัญหา โดยลำพัง ซึ่งปัญหานับวันจะมีความรุนแรงมากขึ้น จากสภาพปัญหาเหล่านี้ทำให้สังคมไทยได้ก่อเกิดพลังจิตอาสา มีการเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งบุคคลที่มีจิตอาสาส่วนหนึ่งมาจากกกลุ่มคนที่เป็นอาสาสมัคร และกระทรงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้สร้างกลุ่มจิตอาสาขึ้นที่เรียกชื่อว่า อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(อพม.) ขึ้นมาเพ่อทำหน้าที่ เป็นกลไกหลักในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยการเฝ้าระวังปัญหา การประสานของความช่วยเหลือ สงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส ประสานส่งต่อให้ ผู้ประสบปัญหาให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามอัตภาพ และมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และสามารถทำงานในรูปขององค์กร เชื่อมโยงกับเครือข่ายอื่นๆได้
ดังนั้น สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดศรีสะเกษ จึงให้ความสำคัญมาก โดยเฉพาะการพัฒนาคน ให้มีความรู้ มีทักษะ พร้อมจะออกไปปฏิบัติงาน เพื่อดูแลกลุ่มที่ประสบปัญหาทางสังคมให้มีประสิทธิภาพ จากเหตุผลดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดศรีสะเกษ ประจำปี 2557 ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการบูรณาการการพัฒนาของหน่วยงานทั้งในระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเครือข่ายภาคประชาสังคม ในการดำเนินงานส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(อพม.) ให้มีความเป็นเอกภาพและมีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นกลไกเครือข่ายในการกประสานงานกับทุกภาคส่วนเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือประชาชน และเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มีกระบวนการเสริมสร้างความรู้ ความสามารถและทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้มีความรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเสริมบทบาทและภาพลักษณ์ที่ดีของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดศรีสะเกษ ได้กล่าวอีกว่า ในภาวะกาการณ์ปัจจุบัน สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรมและเทคโนโลยี ฯลฯ คนไทยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญของวัตถุนิยมเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง มีความจำเป็นต้องเดินทางไปประกอบอาชีพ ดิ้นรนไขว่คว้าหารายได้เลี้ยงครอบครัวในสถานที่ไกลจากภูมิลำเนา หรือไม่ไกลจากภูมิลำเนาแต่ไม่มีเวลาให้ครอบครัว สมัยก่อนสภาพครอบครัวมีความเป็นอยู่ตามวิถีชีวิตชนบทมีความเมตตาโอบอ้อมอารีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันได้ลดลงไปมากสังคมเริ่มดำเนินชีวิตแบบตัวใครตัวมัน จึงทำให้ครอบครัวที่มีความอ่อนแออยู่แล้ว เช่น ครอบครัวยากจน คนพิการดูแลตนเองไม่ได้ เด็กถูกทอดทิ้ง ผู้สูงอายุอยู่ตามลำพัง ครอบครัวแตกแยก ปัญหายาเสพติติดคุกคามคนในครอบครัว ปัญหาการถูกกระทำด้วยความรุนแรง ครอบครัวที่มีผู้ป่วยเรื้อรังที่ไม่มีคนดูแล และผู้ป่วยเอดส์ ต้องเผชิญปัญหา โดยลำพัง ซึ่งปัญหานับวันจะมีความรุนแรงมากขึ้น จากสภาพปัญหาเหล่านี้ทำให้สังคมไทยได้ก่อเกิดพลังจิตอาสา มีการเอื้อเฟื้อ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันที่ชัดเจนมากขึ้น ซึ่งบุคคลที่มีจิตอาสาส่วนหนึ่งมาจากกกลุ่มคนที่เป็นอาสาสมัคร และกระทรงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้สร้างกลุ่มจิตอาสาขึ้นที่เรียกชื่อว่า อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(อพม.) ขึ้นมาเพ่อทำหน้าที่ เป็นกลไกหลักในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยการเฝ้าระวังปัญหา การประสานของความช่วยเหลือ สงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส ประสานส่งต่อให้ ผู้ประสบปัญหาให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามอัตภาพ และมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และสามารถทำงานในรูปขององค์กร เชื่อมโยงกับเครือข่ายอื่นๆได้
ดังนั้น สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดศรีสะเกษ จึงให้ความสำคัญมาก โดยเฉพาะการพัฒนาคน ให้มีความรู้ มีทักษะ พร้อมจะออกไปปฏิบัติงาน เพื่อดูแลกลุ่มที่ประสบปัญหาทางสังคมให้มีประสิทธิภาพ จากเหตุผลดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดศรีสะเกษ ประจำปี 2557 ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการบูรณาการการพัฒนาของหน่วยงานทั้งในระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเครือข่ายภาคประชาสังคม ในการดำเนินงานส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(อพม.) ให้มีความเป็นเอกภาพและมีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นกลไกเครือข่ายในการกประสานงานกับทุกภาคส่วนเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือประชาชน และเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มีกระบวนการเสริมสร้างความรู้ ความสามารถและทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้มีความรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเสริมบทบาทและภาพลักษณ์ที่ดีของอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดศรีสะเกษ
สุรศักดิ์ สร้อยเพชร / ข่าว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น