อาจารย์ ครูนักเรียน นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์ นับร้อยคน แห่ร่วมบริจาคโลหิต ให้กับเหล่ากาชาดจังหวัดสุรินทร์ ได้โลหิต 40,000 ซีซี
วันนี้ ( 13 ธ.ค. 56 ) ที่หอประชุมวิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์ อ.เมือง จ.สุรินทร์ นายวโรภาส ศรีพันธุ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์ ได้นำคณาจารย์ ครู นักเรียนนักศึกษา นับร้อยคนเข้าร่วมบริจาคโลหิตให้กับเหล่ากาชาดจังหวัดสุรินทร์ คาดว่าจะได้โลหิตไม่น้อยกว่า 40,000 ซีซี ซึ่งการออกหน่วยรับบริจาคโลหิต ในครั้งนี้เป็นการบูรณาการร่วมกันหลายหน่วยงาน อาทิ สถานีเหล่ากาชาดที่ 1 ,โรงพยาบาลสุรินทร์ ,โรงพยาบาลรวมแพทย์สุรินทร์ และเหล่ากาชาดจังหวัดสุรินทร์
การบริจาคโลหิต คือการสละโลหิตส่วนเกินที่ร่างกายยังไม่จำเป็นต้องใช้ เพื่อให้กับ ผู้ป่วย ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริจาค เพราะร่างกายแต่ละคนจะมีปริมาณโลหิตประมาณ 17 - 18 แก้วน้ำ ร่างกายใช้เพียง 15 - 16 แก้วเท่านั้น ส่วนที่เหลือนั้นสามารถบริจาคให้ผู้อื่นได้ โลหิต สามารถบริจาคได้ทุก 3 เดือน เพราะเมื่อบริจาคโลหิตออกไปไขกระดูกจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดโลหิตขึ้น มาทดแทนให้มีปริมาณโลหิตในร่างกายเท่าเดิม ถ้าไม่ได้บริจาค ร่างกายจะขับเม็ดโลหิตที่สลายตัว เพราะหมดอายุออกมาทางปัสสาวะ อุจจาระ กระบวน การบริจาคโลหิตตั้งแต่เริ่มลงทะเบียน จนกระทั่งบริจาคโลหิตเสร็จสิ้น ใช้เวลาประมาณ 20 นาที ซึ่งเจ้าหน้าที่จะเลือกเจาะโลหิตที่เส้นโลหิตดำ บริเวณแขน แล้วเก็บโลหิตบรรจุในถุงพลาสติก ( BLOOD BAG ) ตั้งแต่ 350 - 450 มิลลิลิตร ( ซี.ซี. ) ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของผู้บริจาคโลหิต
วันนี้ ( 13 ธ.ค. 56 ) ที่หอประชุมวิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์ อ.เมือง จ.สุรินทร์ นายวโรภาส ศรีพันธุ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์ ได้นำคณาจารย์ ครู นักเรียนนักศึกษา นับร้อยคนเข้าร่วมบริจาคโลหิตให้กับเหล่ากาชาดจังหวัดสุรินทร์ คาดว่าจะได้โลหิตไม่น้อยกว่า 40,000 ซีซี ซึ่งการออกหน่วยรับบริจาคโลหิต ในครั้งนี้เป็นการบูรณาการร่วมกันหลายหน่วยงาน อาทิ สถานีเหล่ากาชาดที่ 1 ,โรงพยาบาลสุรินทร์ ,โรงพยาบาลรวมแพทย์สุรินทร์ และเหล่ากาชาดจังหวัดสุรินทร์
การบริจาคโลหิต คือการสละโลหิตส่วนเกินที่ร่างกายยังไม่จำเป็นต้องใช้ เพื่อให้กับ ผู้ป่วย ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริจาค เพราะร่างกายแต่ละคนจะมีปริมาณโลหิตประมาณ 17 - 18 แก้วน้ำ ร่างกายใช้เพียง 15 - 16 แก้วเท่านั้น ส่วนที่เหลือนั้นสามารถบริจาคให้ผู้อื่นได้ โลหิต สามารถบริจาคได้ทุก 3 เดือน เพราะเมื่อบริจาคโลหิตออกไปไขกระดูกจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดโลหิตขึ้น มาทดแทนให้มีปริมาณโลหิตในร่างกายเท่าเดิม ถ้าไม่ได้บริจาค ร่างกายจะขับเม็ดโลหิตที่สลายตัว เพราะหมดอายุออกมาทางปัสสาวะ อุจจาระ กระบวน การบริจาคโลหิตตั้งแต่เริ่มลงทะเบียน จนกระทั่งบริจาคโลหิตเสร็จสิ้น ใช้เวลาประมาณ 20 นาที ซึ่งเจ้าหน้าที่จะเลือกเจาะโลหิตที่เส้นโลหิตดำ บริเวณแขน แล้วเก็บโลหิตบรรจุในถุงพลาสติก ( BLOOD BAG ) ตั้งแต่ 350 - 450 มิลลิลิตร ( ซี.ซี. ) ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของผู้บริจาคโลหิต
อุทัย มานาดี / รายงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น